วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (13)



“Those who become wise are happy; wisdom will give them life.”                                                      Proverbs 3: 18


อากาศเมืองเชียงใหม่เริ่มร้อนพร้อมกับท้องฟ้าที่ขุ่นมัว จนเกือบมองไม่เห็นดอยสุเทพเพราะม่านหมอกควันที่ปกคลุมเมือง ปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน จากการที่ชาวบ้านทั้งบนดอยและพื้นราบเผาป่าเผาหญ้าเตรียมพื้นที่เพาะปลูกกระจายทั่วภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวภูเขาเชื่อมต่อกัน บางวัน ทัศนวิสัยการมองเห็นไม่ค่อยดีเพราะมีม่านฝุ่นควันครอบคลุมเมือง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้วแต่ยังแก้ไขไม่ได้ ถ้ายังมีช่องว่างความแตกต่างทางความรู้ความเข้าใจในสังคม และความแตกต่างกันทางฐานะเศรษฐกิจ ต้องขอให้พระเจ้าเมตตาประทานฝนให้มาตกในเขตภาคเหนือเร็วๆ เพื่อทำให้ป่ามีความชุ่มชื้นและดับไฟป่าที่ชาวบ้านเผาเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก
เรื่องเศรษฐกิจเป็นประเด็นใหญ่ของสังคมเพราะความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบันซับซ้อนมากขึ้นเกินปัจจัย 4 ขั้นพื้นฐานชีวิตไปมากแล้ว ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ต้องมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายด้าน ซึ่งมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ดังที่ได้นำเสนอข้อมูลเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาโดยตลอด เพื่อย้ำเตือนถึงความสำคัญของรากฐานความพร้อมด้านต่างๆของประเทศที่มีส่วนเสริมสร้างให้มีการลงทุน มีการค้าขาย เพื่อสร้างผลผลิตและสร้างรายได้
วันนี้ขอนำเสนออีก 2 รากฐาน ซึ่งอยู่ในหมวดปัจจัยด้าน นวัตกรรม และความซับซ้อนของธุรกิจ (Innovation and Sophistication Factors) ซึ่งเป็นสองรากฐานสุดท้าย
  

 
รากฐาน PILLAR
 
นวัตกรรม และปัจจัยความซับซ้อนINNOVATION  AND SOPHISTICATION FACTORS
ความซับซ้อนทางธุรกิจ
11. Business sophistication
นวัตกรรม
12. Innovation
ประเทศ/เศรษฐกิจCountry/Economy
ตำแหน่ง
Rank
คะแนน
Score
ตำแหน่ง
Rank
คะแนน
Score
ตำแหน่งRank
คะแนน
Score
Cambodia
116
3.15
111
3.52
116
2.79
Indonesia
30
4.20
34
4.47
31
3.93
Lao PDR
80
3.51
79
3.87
84
3.14
Malaysia
17
4.95
15
5.24
21
4.67
Myanmar
139
2.62
140
2.90
138
2.34
Philippines
48
3.90
46
4.33
52
3.48
Singapore
11
5.13
19
5.07
9
5.18
Thailand
54
3.84
41
4.40
67
3.28
Vietnam
98
3.35
106
3.58
87
3.12


            โดยภาพรวมของปัจจัยทางด้านนวัตกรรมและความซับซ้อนของธุรกิจ (Innovation and Sophistication Factors) นี้ มีประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 11 ติดตามด้วยประเทศมาเลเซียอันดับที่ 17 ประเทศอินโดนิเซียอันดับที่ 30  ประเทศฟิลิปปินส์อันดับที่ 48 ตามด้วยประเทศไทยอยู่อันดับที่ 54 ประเทศลาวอันดับที่ 80 ประเทศเวียตนามอันดับที่  98 ประเทศกัมพูชาอันดับที่116 และประเทศเมียร์มาร์อันดับที่ 139
          ดูจากอันดับแล้วค่อนข้างจะผิดหวังกับอันดับของประเทศไทย เรายอมรับความจริงว่าประเทศไทยตามหลังประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่ปัจจัยหมวดนี้ประเทศไทยหล่นมาตามหลังประเทศฟิลิปปินส์ รู้สึกว่าผิดคาด จึงต้องเข้าไปดูว่าในสองรากฐานสุดท้ายนี้ เราอ่อนด้วยเรื่องอะไรบ้าง
ในรากฐานที่ 11 เรื่องความซับซ้อนทางธุรกิจ (Business sophistication) นี้ ประเทศมาเลเซียสามารถแซงหน้าไปอยู่อันดับที่ 15 นำหน้าประเทศสิงคโปร์ที่อยู่อันดับที่ 19 ได้ โดยมีประเทศอินโดนิเซียอยู่อันดับที่ 34 แล้วถึงมาประเทศไทยอยู่อันดับที่ 41 ต่อด้วยประเทศฟิลิปปินส์อันดับที่ 46 ประเทศลาวอันดับที่ 79 ประเทศเวียตนามอันดับที่ 106 ประเทศกัมพูชาอันดับที่111 และประเทศเมียร์มาร์อันดับที่ 140
ปัจจัยเรื่องความซับซ้อนทางธุรกิจที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่  41 เป็นเพราะเหตุใดก็ต้องดูปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจดังนี้

รากฐานที่ 11 ความซับซ้อนทางธุรกิจ (Business sophistication)


เรื่อง
คะแนน
Value
อันดับของประเทศไทย
Rank
จำนวนผู้ค้าส่งในท้องถิ่น
Local supplier quantity
5.0
25
คุณภาพของผู้ค้าส่งในท้องถิ่น
Local supplier quality
4.5
62
สถานะของการพัฒนากลุ่มธุรกิจ
State of cluster development
4.2
40
ลักษณะของความได้เปรียบในการแข่งขัน
Nature of competitive advantage
4.2
33
ความกว้างของห่วงโซ่คุณค่า
Value chain breadth
4.3
38
การควบคุมการกระจายสินค้านานาชาติ
Control of international distribution
4.4
41
ความซับซ้อนในกระบวนการผลิต
Production process sophistication
4.2
51
ความเชื่อมต่อของตลาด
Extent of marketing
4.6
43
ความมุ่งมั่นในการกระจายอำนาจ
Willingness to delegate authority
4.2
36


อันดับที่ดีที่สุดในปัจจัยประกอบเรื่องความซับซ้อนของธุรกิจ คือ จำนวนผู้ค้าส่งในท้องถิ่น ที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 25 เพราะประเทศไทย มีระบบการค้าส่งมานานแล้ว คือระบบ ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ตั้งแต่ในสมัยอากงโน่น ปัจจุบันในรุ่นหลานมีการพัฒนาให้ทันสมัย มีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้ามาเสริม จึงทำให้ประเทศไทยได้อันดับค่อนข้างดี
อันดับถัดมาคือเรื่อง ลักษณะของความได้เปรียบในการแข่งขัน ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 33 ไม่ค่อยจะดีนัก และมีอาการน่าเป็นห่วงมากขึ้นเพราะประเทศไทยเคยได้เปรียบการแข่งขันสินค้าหลายชนิดเช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เสื้อผ้า ร้องเท้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เวลานี้ถูกประเทศอื่นทะยอยแซงหน้าไปแล้ว ที่ยังมีความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่ในปัจจุบัน คือเรื่องการจับปลาในทะเลมาทำปลากระป๋องขายที่ประเทศไทยยังอยู่อันดับต้นๆของโลก
อันดับถัดมาคือเรื่องความมุ่งมั่นในการกระจายอำนาจที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 36 เรื่องนี้คงต้องยอมรับว่าในเวลานี้ ธุรกิจยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ และอยู่ในเมืองใหญ่เพียงไม่กี่เมือง เรื่องนี้หวังว่าจะค่อยๆดีขึ้น 
อันดับถัดมาคือเรื่องความกว้างของห่วงโซ่คุณค่าที่อยู่อันดับที่ 38 เรื่องนี้ SME ไทยต้องพัฒนาระบบ Value Chain กันอีกมาก เพราะมีความสัมพันธ์กับระบบกลุ่มธุรกิจ (Cluster) ด้วย ทำให้การสร้างมูลค่าสินค้าตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ ธุรกิจกลางน้ำ และธุรกิจปลายน้ำ ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
ต่อเนื่องกันก็คือเรื่องสถานะของการพัฒนากลุ่มธุรกิจที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 40 ระบบการทำธุรกิจที่ช่วยกันเป็นกลุ่มของประเทศไทยยังไม่แข็งแรง SME ไทย ไม่ไว้วางใจกัน และยังแข่งขันกันเองอีกต่างหาก การเข้ากลุ่มธุรกิจก็หวังเฉพาะประโยชน์ของตนก่อน เรื่องจะลงแรงลงขันเสียสละกันเพื่อให้เติบโตพร้อมๆกันทั้งกลุ่มธุรกิจ คงต้องใช้เวลาเรียนรู้กันต่อไป
เรื่องการควบคุมการกระจายสินค้านานาชาติ ประเทศไทยได้อันดับที่ 41เรื่องนี้ประเทศไทยคงต้องใช้เวลาพัฒนากันต่อไป แต่เวลานี้เท่าที่เห็นก็ถือว่าเปิดตลาดกว้างอ้าซ่าอยู่แล้ว สินค้าต่างชาติมีอยู่เต็มบ้านท่วมเมืองกันอยู่แล้วครับ
ส่วนเรื่องความเชื่อมต่อของตลาด ประเทศไทยได้อันดับที่ 43 ประเทศไทยมีตลาดหลายรูปแบบมากขึ้นในระยะหลังนี้ คิดว่าอันดับจะดีขึ้นในอนาคต
สำหรับเรื่องความซับซ้อนในกระบวนการผลิต ประเทศไทยได้อันดับที่ 51 เรื่องนี้ก็ต้องใส่ใจพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตกันต่อไป
เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง คุณภาพของผู้ค้าส่งในท้องถิ่น ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 62 คงเกี่ยวกับความเป็นมืออาชีพของผู้ค้าส่งที่ต้องดูแลควบคุมเรื่องมาตรฐานสินค้า การขนส่งสินค้า การรับประกันสินค้าและเวลา ความรับผิดชอบต่อความเสียหาย ที่ผู้ค้าส่งต้องพัฒนากันต่อไปในกลุ่ม
ขอฝากให้คิดตอนปิดท้ายด้วยคำพูดของ Henry Ford ที่กล่าวว่า Quality means doing it right when no one is looking.” คุณภาพหมายถึงการทำให้ถูกต้องแม้เมื่อไม่มีใครกำลังจ้องมองการกระทำของคุณ และ
 Steve Jobs ตำนานของบริษัท Apple กล่าวไว้ก่อนอำลาโลกว่า “Be a yardstick of quality. Some people aren't used to an environment where excellence is expected.” จงเป็นไม้บรรทัดวัดคุณภาพ เพราะมีคนบางคนไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมที่คาดหวังเรื่องความเป็นเลิศ

สรุปสุดท้าย สำคัญที่สุดคือ เรื่องคุณภาพคนครับ

 

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเป็นเพื่อนทางความคิด และ

ขอบคุณที่ช่วยแนะนำให้เพื่อนรู้จัก


สมชัย ศิริสุจินต์

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น