“When you
lie down, you won’t be afraid; when you lie down, you will sleep in peace” Proverbs
3:24
อดีตนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) แห่งประเทศสิงคโปร์ถึงแก่อสัญกรรม
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558 ด้วยอายุ 91 ปี
ที่โรงพยาบาล Singapore General Hospital เป็นการสูญเสียผู้นำประเทศที่ยิ่งใหญ่ของประเทศสิงคโปร์ เพราะถ้าไม่มีคนชื่อ
ลี กวน ยู คนนี้ก็ไม่มีประเทศสิงคโปร์ในวันนี้
ลี กวน ยู เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 1959 ถึงปี 1990
เป็นนายกรัฐมนตรีที่ปกครองประเทศยาวนานถึง 31 ปี
ลี กวน ยู สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย จาก Fitzwilliam
College, Cambridge ประเทศอังกฤษ
ใช้ชีวิตทำงานเป็นนักกฏหมายในอังกฤษได้ระยะหนึ่งแล้วเลือกที่จะกลับสิงคโปร์ซึ่งในเวลานั้นเป็นพึยงเกาะเล็กๆ
เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรที่ใช้เกาะนี้เป็นฐานทัพเรือในตะวันออกไกล
ลี กวน ยู เข้าร่วมกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ
และตั้งพรรคการเมือง People’s Action Party ในปี 1954 โดย ลี กวน ยู ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
และเขาสามารถนำพรรคชนะการเลือกตั้งและได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 1959
ในปี 1963 นายกรัฐมนตรี
ลี กวน ยู นำประเทศสิงคโปร์เข้ารวมกับประเทศมาเลเซียตามข้อเสนอของ ตวนกู อับดุล
รามาน นายกรัฐมนตรีของประเทศมาลายา (Malaya
เป็นชื่อประเทศมาเลเซียในเวลานั้น) ที่เสนอให้รวม
มาลายา สิงคโปร์ ซาบา (Sabah) และ ซาราวัค (Sarawak) เข้าเป็นสหพันธรัฐ เพื่อให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรองขอเป็นอิสระจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
แต่การอยู่ร่วมกันกลับทำให้ประเทศสิงคโปร์เกิดปัญหาความไม่สงบจากความแตกต่างกันเรื่องชนชาติ
ระหว่างชาวมาลายู ที่เป็นมุสลิม กับชาวจีนสิงคโปร์ที่นับถือศาสนาอื่น จนในปี 1965 นายกรัฐมนตรี
ลี กวน ยู ก็ตัดสินใจนำประเทศสิงคโปร์แยกออกมาเป็นอิสระ
นายกรัฐมนตรี
ลี กวน ยู บริหารประเทศท่ามกลางปัญหาความยุ่งยากมากมาย เพราะประเทศสิงคโปร์เป็นเพียงเกาะเล็กๆที่ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอะไรเลย
แม้กระทั่งน้ำจืดยังมีไม่เพียงพอต่อการบริโภคต้องซื้อจากประเทศมาเลเซีย และประเทศเพิ่งแยกตัวออกมาเป็นอิสระจากการปกครองของอังกฤษ
ยังไม่มีหลัก ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ประชาชนในประเทศประกอบด้วยคนจีน คนมาลายู
และคนอินเดีย ที่มีความแตกต่างกันทางความเชื่อศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่
จะทำอย่างไรให้คนหลายเชื้อชาติในประเทศเกิดความเข้าใจกันอยู่ร่วมกันอย่างมีความเป็นเอกภาพ
และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสันติในความแตกต่างกัน มีภาษาเดียวกัน (Common language) มีวัฒนธรรมร่วมกัน (Common culture) มีเป้าหมายร่วมกัน (Common
destination) เพื่อสามารถพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้
นายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู ต้องรณรงค์การพัฒนาประเทศใหม่ เพื่อสร้างวัฒนธรรมและวิถีความเป็นอยู่ของคนในประเทศสิงคโปร์ใหม่ (National self-improvement campaigns) เช่น ให้คนสิงคโปร์มีการยิ้มและทักทายกัน ให้ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกันในที่สาธารณะ
ให้ล้างส้วมหลังการใช้ ไม่ให้บ้วนน้ำลาย เสมหะตามถนนหนทาง ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ
แม้แต่หมากฝรั่งเคี้ยวแล้วห้ามคายทิ้งตามถนน ถูกจับได้มีโทษปรับ และอาจถูกโบยตี
หรือจำคุกได้
นายกรัฐมนตรี ลี กวย ยู
บริหารประเทศสิงคโปร์ด้วยการเป็นผู้นำแบบใช้อำนาจเข้มข้น เพราะคนในประเทศสิงคโปร์เวลานั้นเคยชินกับการอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
คนยังมีการศึกษาไม่มาก มีเรื่องของผลประโยชน์ การโกงกินคอรัปชั่น ผู้มีอิทธิพล คนไม่มีระเบียบวินัย
และมีการแตกแยกกันทางความคิด ฯลฯ
นายกรัฐมนตรี ลี กวย ยู ใช้การบริหารประเทศแบบสิงคโปร์ (Singapore model) ที่มีลักษณะเฉพาะ คือการรวบอำนาจ
(Centralized power) การสร้างรัฐบาลสะอาด (Clean government) การมีอิสระภาพทางเศรษฐกิจ (Economic liberalism) ห้ามวิพากษ์วิจารณ์
จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Strict limits on free speech) ห้ามชุมนุมในที่สาธารณะ (Public assembly) และอีกหลายๆมาตรการที่ถูกประเทศทางตะวันตกวิพากษ์วิจารณ์
แต่นายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู ได้ตอบโต้อย่างแข็งกร้าวว่าคนเอเซียมีคุณค่าของตนเอง (Asian values) ที่ชาวตะวันตกไม่เข้าใจ ในทัศนะของนายกรัฐมนตรี
ลี กวย ยู การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมีความสำคัญเหนือกว่าสิทธิส่วนบุคคล ( The good of society takes
precedence over the rights of the individual.)
นายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู เป็นนักสู้ที่ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ โดยเฉพาะกับสื่อชาวตะวันตกที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์การเป็นผู้นำของเขา
เคยท้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งว่า ถ้าคุณคิดว่าคุณสามารถทำร้ายผมได้มากกว่าผมทำร้ายคุณ
ก็ลองดู (If you can hurt me more
than I can hurt you. Try.)
การปกครองด้วยกฏเหล็กของนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู
ด้วยความเป็นผู้นำที่ทำงานอย่างทุ่มเท ต่อสู้กับทุกปัญหา และมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล
ทำให้สามารถนำประเทศสิงคโปร์ เกาะเล็กๆที่ไม่มีทรัพยากรอะไรเมื่อ 40 ปี ก่อน ให้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
ประชาชนสิงคโปร์มีรายได้เฉลี่ยปีละ 54,776 เหรียญสหรัฐ
เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงอยู่ในระดับต้นของโลก ขอดูตัวเลขของประเทศสิงคโปร์ว่าได้ตำแหน่งที่
1 ที่ 2 ของโลกในด้านต่างๆ ไปกี่ตำแหน่ง แล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผลจาก วิสัยทัศน์
และ ความตั้งใจในการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ของนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู ที่ใช้ความเด็ดขาดในการปกครองประเทศ เพื่อวางพึ้นฐานสร้างโครงสร้างสังคมใหม่
และสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างวัฒนธรรม และค่านิยมใหม่ ให้คนรุ่นใหม่ของสิงคโปร์
ประเด็น
|
Thailand
|
Malaysia
|
Indonesia
|
Singapore
|
Rank
(out of 144)
|
Rank
(out of 144)
|
Rank
(out of 144)
|
Rank
(out of 144)
|
|
GCI 2014–2015
|
31
|
20
|
34
|
2
|
GCI 2013–2014 (out of 148)
|
37
|
24
|
38
|
2
|
GCI 2012–2013 (out of 144)
|
38
|
25
|
50
|
2
|
GCI 2011–2012 (out of 142)
|
39
|
21
|
46
|
2
|
Basic requirements (40.0%)
|
40
|
23
|
46
|
1
|
Institutions
|
84
|
20
|
53
|
3
|
Infrastructure
|
48
|
25
|
56
|
2
|
Macroeconomic environment
|
19
|
44
|
34
|
15
|
Health and primary education
|
66
|
33
|
74
|
3
|
Efficiency enhancers (50.0%)
|
39
|
24
|
46
|
2
|
Higher education and training
|
59
|
46
|
61
|
2
|
Goods market efficiency
|
30
|
7
|
48
|
1
|
Labor market efficiency
|
66
|
19
|
110
|
2
|
Financial market development
|
34
|
4
|
42
|
2
|
Technological readiness
|
65
|
60
|
77
|
7
|
Market size
|
22
|
26
|
15
|
31
|
Innovation and sophistication
factors (10.0%)
|
54
|
17
|
30
|
11
|
Business sophistication
|
41
|
15
|
34
|
19
|
Innovation
|
67
|
21
|
31
|
9
|
Population (millions)
|
68.2
|
29.6
|
248.0
|
5.4
|
GDP (US$ billions)
|
387.2
|
312.4
|
870.3
|
295.7
|
GDP per capita (US$)
|
5,674
|
10,548
|
3,510
|
54,776
|
GDP (PPP) as share (%) of world
total
|
0.77
|
0.60
|
1.49
|
0.40
|
นายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู รู้ตัวดีว่าการเป็นผู้นำแบบเขา ไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบของคนทั้งประเทศ
ท่านบอกว่า ผมไม่ได้พูดว่าทุกอย่างที่ผมทำเป็นสิ่งถูกต้อง แต่ทุกอย่างที่ผมทำ
มีจุดประสงค์ที่สัตย์ซื่อ (I’m not saying that everything
I did was right, but everything I did was for an honorable purpose)
นายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู ลาออกจากตำแหน่งในปี 1990 เมื่อเห็นว่าถึงเวลาที่ต้องให้ประเทศสิงคโปร์มีเสรีภาพและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
และได้เตรียมผู้นำรุ่นใหม่ไว้พร้อมแล้ว คือ นาย Goh Chok Tong เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากเขา และนาย Lee Hsien Loong
ลูกชายคนโตซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ขอทิ้งท้ายด้วยคำพูดบางประโยคของนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของประเทศสิงคโปร์
และเป็นผู้นำที่น่ายกย่องคนหนึ่งของโลก ว่าเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นเพียงใด
“Even from my sick bed, even if you are going to lower me into the grave
and I feel something is going wrong, I will get up”
“แม้ว่าผมกำลังนอนบนเตียงคนป่วย แม้ว่าคุณกำลังจะหย่อนผมลงหลุมฝังศพ
ถ้าผมรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง ผมจะลุกขึ้นมา”
หลับให้สบายเถิดครับ ท่านได้ทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของท่านแล้ว
ขอองค์พระผู้เป็นเจ้ารับท่านไปอยู่ในสรวงสวรรค์ เมืองบรมสุขเกษม เถิด
My Way, Lee Kuan Yew
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเป็นเพื่อนทางความคิด
และ
ขอบคุณที่ช่วยแนะนำให้เพื่อนรู้จัก
สมชัย
ศิริสุจินต์
ข้อมูลบางส่วนมาจาก
Thomas Fuller, The New York Times
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น