วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระบบประกันสุขภาพ


 A good person's words are a fountain of life, but a wicked person's words hide a violent nature.                                                               Proverbs 10:11


ประเทศไต้หวัน เป็นประเทศที่ใช้ระบบประกันสุขภาพทั่วถึงครอบคลุมประชากรทั่วทั้งประเทศ โดยรัฐบาลไต้หวันเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการใช้ชื่อเรียกว่าระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ National Health Insurance (NHI) ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของไต้หวันปัจจุบันสามารถคุ้มครองประชากรได้ถึง 99% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ 23.2 ล้านคน

ระบบการประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศไต้หวัน มีพัฒนาการมาตั้งแต่ปี

1950   ประกันสุขภาพแรงงาน Labor Insurance

1958   ประกันสุขภาพข้าราชการ Government Employee Insurance

1985   ประกันสุขภาพเกษตรกร Farmer Insurance

1990   ประกันสุขภาพครอบครัวผู้มีรายได้น้อย Low –income Household Insurance

1995   รวมประกันสุขภาพทุกประเภทเข้าเป็นระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ National Health Insurance

ภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ประชาชนชาวไต้หวัน รวมทั้งชาวต่างชาติที่ไปทำงานในประเทศไต้หวันสามารถเลือกใช้บริการทางการแพทย์ได้ทุกโรงพยาบาล โดยระบบประกันสุขภาพแห่งชาติจะคุ้มครองการรักษาพยาบาลเกือบทั้งหมดรวมทั้ง การบริการส่งเสริมสุขภาพ (Preventive medical services) การบริการทันตกรรม (Dental service) การเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home nurse visit) และ การบริการแพทย์แผนจีน (Chinese medicine) โดยประชาชนสามารถซื้อประกันเพิ่มเพื่อจ่ายค่าบริการ (Co-payment) บางส่วนได้

ประชาชนชาวไต้หวันทุกคนมีบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นบัตรอัจฉริยะ (Smart card) เมื่อไปใช้บริการที่โรงพยาบาลแห่งใดก็เพียงใช้บัตรประกันสุขภาพอัจฉริยะนี้เสียบเข้าไปในเครื่องเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาลที่ผ่านมาของเจ้าของบัตรจะปรากฏขึ้นมาบนจอคอมพิวเตอร์ทำให้แพทย์มีข้อมูลการรักษาครบถ้วนและสามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลเพราะสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติของรัฐบาลจะจ่ายเงินค่ารักษาเป็นจำนวนเงินที่ตายตัว (Premium) ให้แก่โรงพยาบาลแทน สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติจะทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการรักษาของโรงพยาบาล สำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลทุกแห่ง ผลการใช้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ทำให้ประชาชนชาวไต้หวันเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบายและอย่างทั่วถึง เป็นผลทำให้ชาวไต้หวันมีอายุยืนยาวมากขึ้นโดย อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy)ของผู้ชาย 76 ปี และผู้หญิง 83 ปี และมีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากกว่า 10% แล้ว

ปัญหาที่ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของไต้หวันกำลังประสบอยู่ในเวลานี้คือ ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปีเนื่องจากโรงพยาบาลต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้ในระบบการรักษาพยาบาลมากขึ้น รวมทั้งการใช้ยาใหม่ๆที่มีราคาแพง ในขณะที่เงินค่าประกันสุขภาพที่เก็บจากประชาชนก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากนักเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศไต้หวันในช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันไม่ค่อยจะดีนักมีอัตราการเติบโตมวลรวมประชาชาติ GDP ในปี 2011 เพียง 4.03 % ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติที่คุ้มครองการรักษาพยาบาลอย่างกว้างขวางและประชาชนสามารถไปใช้บริการได้ทุกโรงพยาบาลในทุกพื้นที่ทำให้ประชาชนไปใช้บริการที่โรงพยาบาลกันเป็นจำนวนมาก เป็นผลทำให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรต้องทำงานหนักมากและโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในขณะที่โรงพยาบาลไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนให้แพทย์และบุคลากรได้อย่างเต็มที่เพราะถูกควบคุมด้วยระบบการจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายตายตัวในระบบประกัน ถ้าโรงพยาบาลสามารถบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ดีโรงพยาบาลก็จะมีกำไรแต่ถ้าการบริหารต้นทุนในการรักษาพยาบาลไม่มีประสิทธิภาพโรงพยาบาลก็จะขาดทุน จึงเป็นเหตุให้โรงพยาบาลต้องบีบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตลอดเวลา ซึ่งแพทย์และบุคลากรไม่ค่อยจะพอใจเท่าไหร่นัก

ที่นำเรื่องการประกันสุขภาพมาเสนอ เนื่องจากเห็นว่าระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบประกันสุขภาพเช่นกัน โดยที่ขณะนี้ประเทศไทยมีกองทุนค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาพยาบาลอยู่ 3 กองทุนคือ กองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) และกองทุนรักษาพยาบาลของข้าราชการ และมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิตด้วยตนเองเพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของตน แนวโน้มในอนาคตรัฐบาลไทยคงหนีไม่พ้นการรวมกองทุนทั้งหมดให้เป็นกองทุนเดียวและจัดการระบบให้บริการสุขภาพประชาชนเป็นระบบเดียว เหมือนอย่างประเทศไต้หวันและอีกหลายๆประเทศทำกัน

การบริหารจัดการเรื่องสุขภาพประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในแต่ละปีสูงมากและมีแนวโน้มจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี ในปี 2555 รัฐบาลไทยตั้งงบประมาณรายจ่ายด้านสาธารณสุข 220,411.3 ล้านบาท เท่ากับ 9.3% ของรายจ่ายงบประมาณทั้งหมด 2,380,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2556 งบประมาณด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้นเป็น 254,947.3 ล้านบาท เท่ากับ 10.6% ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด 2,400,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 15.7%

โดยภาพรวมประเทศไทยมีระบบให้บริการสุขภาพที่ดีพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทั่วโลกซึ่ง World Health Organization ได้จัดอันดับการให้บริการสุขภาพของประเทศต่างๆทั่วโลกไว้ ในที่นี้ขอนำมาแสดงเพียงบางตำแหน่งเพื่อให้เห็นภาพรวมของการให้บริการสุขภาพของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ดังนี้

Rank
Country
Expenditure per capita
1
France
4
2
Italy
11
3
San Marino
21
4
Andorra
23
5
Malta
37
6
Singapore
37
7
Spain
24
8
Oman
62
9
Austria
6
10
Japan
13
17
Netherland
9
18
United Kingdom
26
20
Switzerland
2
25
Germany
3
30
Canada
10
32
Australia
17
37
United States
1


จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า สหรัฐอเมริกา แม้จะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์เป็นอย่างมาก และเป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายเงินในการรักษาพยาบาลต่อประชากรสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ระบบการให้บริการการแพทย์ของอเมริกัน กลับอยู่ในอันดับที่ 37 โดยประเทศฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีระบบให้บริการการแพทย์แก่ประชาชนดีเป็นอันดับที่ 1 ของโลกและมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลต่อประชากรเป็นอันดับ 4 ติดตามด้วย ประเทศอิตาลี และประเทศเล็กๆอีกหลายประเทศที่มีการบริการทางการแพทย์ที่ดีติดอันดับต้นๆของโลก ในเอเชียประเทศเพื่อนอาเซียนสิงคโปร์ อยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก และประเทศญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่10

สำหรับอันดับการให้บริการทางการแพทย์ของประเทศในกลุ่ม ASEAN มีดังนี้

Rank
Country
Expenditure per capita
6
Singapore
37
40
Brunei
32
47
Thailand
64
49
Malaysia
93
60
Philippines
124
92
Indonesia
154
160
Vietnam
NA
165
Laos
NA
174
Cambodia
NA
190
Burma
NA


การให้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยอยู่ตามหลัง ประเทศสิงคโปร์ ที่อยู่ในอันดับ 6 มีค่าใช้จ่ายต่อหัวของประชากรในด้านสุขภาพอยู่ในอันดับที่ 37 และประเทศบรูไนอยู่ในอันดับที่ 40 มีค่าใช้จ่ายทางด้านการแพทย์ต่อประชากรอยู่ในอันดับที่ 32 แสดงว่าประเทศสิงคโปร์มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้ดีกว่าเพราะมีการให้บริการทางการแพทย์อยู่ในอันดับสูงกว่าประเทศบรูไนมาก แต่ค่าใช้จ่ายในด้านการแพทย์ต่อประชากรกลับอยู่ในอันดับต่ำกว่าประเทศบรูไน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 47 ของโลกในการให้บริการการแพทย์แก่ประชาชน โดยมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อหัวของประชากรอยู่ในอันดับที่ 64 โดยมีประเทศมาเลเซีย ตามมาติดๆอยู่หลังประเทศไทยเพียงสองอันดับคืออันดับที่ 49 แต่เรื่องค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อประชากรของประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 93 แสดงว่าค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของประชากรมาเลเซียต่ำกว่าประเทศไทยมาก ซึ่งหมายความว่าประเทศมาเลเซียมีระบบการบริหารจัดการเรื่องการบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีกว่าประเทศไทย

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ด้วยกันแล้วประเทศไทยมีระบบการให้บริการการแพทย์ที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศจึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์ (Medical Hub) ในภูมิภาคนี้ได้ถ้ามีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

Hippocrates กล่าวว่า “Healing is a matter of time, but it is sometimes also a matter of opportunity.” การรักษาให้หายเป็นเรื่องของระยะเวลา แต่ในบางครั้งก็เป็นเรื่องของโอกาสเหมือนกันJ

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Carbon Nanotubes

 
“You are the one who will profit if you have wisdom, and if you reject it, you are the one who will suffer.”                                       Proverbs 9:12
นักวิจัยของบริษัท IBM ได้เปิดเผยการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ที่มีโอกาสนำมาใช้ทดแทนตัวSilicon ในComputer chips ที่ใช้กันในปัจจุบันได้ โดยทีมนักวิจัยของ IBMได้พัฒนาเทคนิคใหม่ที่สามารถนำไปผลิตเส้นใยขนาดเล็กมากๆที่เรียกว่า Carbon nanotubes จำนวนมากเพื่อนำไปใช้ในการประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆในอุตสาหกรรมต่างๆได้ เนื่องจากเส้นใย Carbon nanotubes นี้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าการใช้ตัวSilicon ในComputer chip ปัจจุบันมาก เพราะเส้นใยคาร์บอนนาโนมีขนาดเล็กกว่ามาก และที่สำคัญมันทำงานได้รวดเร็วกว่า Computer chip ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

          นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยของบริษัทIBMสามารถผลิตตัว Carbon chip ที่มีตัวTransistors นับหมื่นตัวที่ทำงานโดยฝังตัวอยู่ในเส้นใยCarbon ขนาดนาโนได้ โดยสามารถกำหนดตำแหน่งจุดที่ต้องการให้ Transistor แต่ละตัวฝังอยู่ในเส้นใยนาโนที่อยู่ในCarbon chip ตัวเดียว
เส้นใย Carbon nanotubes มีลักษณะเป็น แผ่นอะตอมเดี่ยวของคาร์บอน (Single atomic sheet of carbon) ที่ถูกม้วนตัวให้เป็นรูปท่อทำให้มันสามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกับตัว Silicon transistors ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่เส้นใย Carbon nanotubes มีพลังในการทำงานได้เหนือชั้นกว่า Computer chips ที่ใช้ Silicon ในปัจจุบันมาก การค้นพบเทคนิคใหม่นี้จึงเป็นการก้าวเข้าไปสู่การเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม microelectronics ครั้งใหม่ เพราะจะทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีขนาดเล็กลงมากๆแต่สามารถทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่า

แม้ว่าเราจะมีการพัฒนาทางนวัตกรรมอย่างรวดเร็วและอย่างต่อเนื่องกันมาตลอดเวลา 40 ปีที่ผ่านมาจนทำให้เทคโนโลยี silicon microprocessor มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆและมีความสามารถในการทำงานสูงขึ้นเรื่อยๆจนการพัฒนาทางเทคโนโลยีได้มาถึงระดับขนาดนาโนซึ่งมีขีดจำกัดในเรื่องคุณสมบัติทางธรรมชาติของ silicon และคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ทำให้เราถึงทางตันที่จะก้าวต่อไปด้วยเทคโนโลยีเดิม
นักวิจัยและพัฒนาเชื่อว่า เส้นใย carbon nanotubes ที่มีขนาดเล็กมากจนเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้เพราะมันมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของเราประมาณหนึ่งหมื่นเท่าจะสามารถทำให้การส่งข้อมูลในtransistor ระดับอะตอม มีความรวดเร็วมากเพราะแผ่นเส้นใยcarbon nanotubes เมื่อนำมาม้วนเป็นเป็นชั้นๆสามารถทำเป็นTransistors ใน chip ตัวหนึ่งได้ และเมื่อใส่ตัว transistors จำนวนมากมายในลักษณะเหมือนกับการถักทอเส้นใยลงไปในหนึ่งตัว computer chip ทำให้ตัว chip มีขนาดเล็กลงมากและวงจรการทำงานของมันรวดเร็วขึ้น

นักวิจัยของ IBM มั่นใจว่าความสำเร็จในการใช้เทคนิคที่ค้นพบ จะทำให้อุตสาหกรรมหลายชนิดสามารถนำเส้นใยคาร์บอนนาโนไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรมในอนาคตอันใกล้
ปัจจุบันมีนักวิจัยทั่วโลกศึกษาค้นหาความเป็นไปได้ในการใช้เส้นใย carbon nanotubes ไปสร้างนวัตกรรมใหม่ๆในอุตสาหกรรม มีรายงานการศึกษาวิจัยจากห้องปฏิบัติการทั่วโลก ที่รายงานความคืบหน้าของการวิจัยพัฒนาที่จะเป็นไปได้ในเชิงอุตสาหกรรมในอนาคตอันใกล้ เช่น
X-Ray
การนำเอาแผ่นเส้นใยนาโนมาใช้ในระบบ X-ray จะทำให้ได้ภาพจากการทำ X-ray ที่คมชัดและรวดเร็วมากขึ้น นักวิจัยจาก University of North Carolina รายงานว่าการใช้ระบบแผ่นเส้นใยนาโนมาใช้ในระบบ X-ray จะทำให้เราสามารถถ่ายภาพอวัยวะภายในที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเช่น หัวใจ และปอดได้ดีขึ้นเนื่องจาก ระบบแผ่นเส้นใยคาร์บอนนาโนสามารถปล่อยตัว อิเล็กตรอนนับร้อยๆตัวออกมาอย่างต่อเนื่องทำให้สามารถจับภาพได้รอบทิศทางอย่างรวดเร็วจึงทำให้เห็นภาพได้คมชัดขึ้น
รถยนต์ Hydrogen
เป็นความหวังของอุตสาหกรรมรถยนต์มานานแล้วที่จะผลิตรถยนต์ไฮโดรเจนออกมาวิ่งในท้องถนนเพราะไฮโดรเจนเป็นพลังงานที่สะอาด สาเหตุที่ยังไม่สามารถผลิตออกมาขายได้เพราะต้นทุนในการทำพลังงานในระบบเครื่องยนต์ยังแพงมาก จากวิจัยของUniversity of Dayton, Ohio เมื่อไม่นานนี้พบว่าต้นทุนของการทำรถยนต์ไฮโดรเจนจะลดลงถึง 100 เท่า เมื่อเอาระบบเส้นใยคาร์บอนนาโนมาใช้ร่วมในกระบวนการให้พลังงานในระบบเครื่องยนต์ ความหวังที่จะเห็นรถยนต์ไฮโดรเจนวิ่งตามถนนคงไม่นานนัก
ระบบเสียงนาโน
นักวิจัยชาวจีนค้นพบการใช้แผ่นเส้นใยคาร์บอนนาโนมาทำเป็นลำโพงนาโน(Nanospeaker) ได้ ซึ่งจะเป็นลำโพงที่มีขนาดบางเท่ากับแผ่นกระดาษและสามารถบิดงอไปมาได้เหมือนผ้า โดยใช้ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า thermoacoustic ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านแผ่นเส้นใยคาร์บอนนาโนทำให้เกิดความร้อนในอากาศรอบตัวมัน แล้วทำให้เกิดคลื่นเสียงได้ ในอนาคตไม่นานเราจะมีเสื้อผ้าที่มีเสียงเพลงดังออกมา หรือมีนิตยสารที่มีเสียงเพลงดังออกมาจากหน้ากระดาษที่อ่าน แม้กระทั่งธงชาติที่พัดโบกปลิวไสวก็สามารถส่งเสียงเพลงชาติได้
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หักงอได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว กำลังสร้างจอคอมพิวเตอร์ที่พับงอได้โดยใช้ระบบแผ่นเส้นใยคาร์บอนนาโนเข้ามาใช้ร่วมกับระบบกำเนิดภาพ Organic Light Emitting Diodes ซึ่งปล่อยแสงออกมาเมื่อกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่าน ทำให้เกิดภาพได้ เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่นได้อีกหลายอย่างเช่นอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร การทำผิวหนังเทียม หรือแม้กระทั่งเอาไปฉาบหุ้มลำตัวเครื่องบินได้
รักษามะเร็ง
นักวิจัยได้ทดลองใช้เส้นใยคาร์บอนนาโนเสียบเข้าไปในไตของหนูทดลองที่มีก้อนเนื้อมะเร็งอยู่ และเมื่อยิงลำแสงเลเซอร์ไปที่ก้อนเนื้อมะเร็ง เส้นใยคาร์บอนนาโนจะเกิดปฏิกิริยาสั่นสะเทือนทำให้เกิดคลื่นความร้อนออกมาฆ่าเซลมะเร็งที่อยู่รอบๆตายได้ ในการทดลองที่เพิ่มปริมาณเส้นใยคาร์บอนนาโนมากขึ้นโดยการยิงลำแสงเลเซอร์เพียง 30 วินาที ปรากฏว่าก้อนเนื้อมะเร็งฝ่อลง และจำนวน 80 % ของหนูทดลองก้อนเนื้อมะเร็งหายไปในที่สุด การทดลองใช้เทคนิคนี้ไม่พบอันตรายเกิดขึ้นต่ออวัยวะภายในของหนูทดลอง มีเพียงแต่รอยไหม้เล็กน้อยที่ผิวหนังภายนอกของหนูทดลองเท่านั้น การค้นพบนี้ได้สร้างความหวังใหม่ให้กับวงการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในอนาคต
ยังมีงานวิจัยอันน่าทึ่งอีกมากมายในการใช้เส้นใยคาร์บอนนาโนให้เกิดประโยชน์ ที่นักวิจัยกำลังทดลองในระดับห้องปฏิบัติการที่จะนำเทคโนโลยีเส้นใยคาร์บอนนาโน สร้างสิ่งผลิตใหม่ๆอีกมากมายซึ่งคงมีรายงานทะยอยออกมา
          ที่นำเอางานวิจัยบางเรื่องของเส้นใยคาร์บอนนาโน มาเสนอนี้เพื่อต้องการกระตุ้นให้ผู้อ่านได้เกิดความตระหนักว่า เรื่องการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเป็นเรื่องสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ เมื่อดูอันดับการใช้จ่ายในด้านการวิจัยพัฒนาของประเทศไทย เราอยู่ในอันดับที่ 40 โดยมี สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 26 และ มาเลเซีย อันดับที่ 37 เวียดนาม อันดับที่ 53 และ ฟิลิปปินส์ อันดับที่ 60
Research and Development Spending 2010
สหรัฐอเมริกา
10. รัสเซีย
จีน
13. ไต้หวัน
ญี่ปุ่น
15. ออสเตรเลีย
เยอรมัน
26. สิงคโปร์
เกาหลีใต้
37. มาเลเซีย
ฝรั่งเศส
40. ไทย
อังกฤษ
53. เวียดนาม
อินเดีย
60. ฟิลิปปินส์
แคนนาดา


การที่ประเทศไทยอ่อนด้อยในด้านการวิจัยพัฒนาค่อนข้างมากจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมของประเทศไทยไม่สามารถสู้กับประเทศที่มีการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆจากการวิจัยพัฒนาในห้องปฏิบัติการมาสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่เชิงอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่เชิงพาณิชย์ได้
George Washington Carver กล่าวว่า “Since new developments are the products of creative mind, we must therefore stimulate and encourage that type of mind in every way possible.” เนื่องจากการพัฒนาคือผลผลิตของความคิดที่สร้างสรรค์ ดังนั้นเราจึงต้องกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดความคิดแบบนี้ในทุกทางที่เป็นไปได้J