วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (12)




 “Wisdom offers you long life, as well as wealth and honor. Wisdom can make your life pleasant and lead you safely through it.”                                                                                                            Proverbs 3:16-17

ผ่านตรุษจีน ไปอีกปีแล้ว ตามประเพณีชาวจีนต้องอวยพรกันให้มีความสุข มีโชคดี มีเงินทองร่ำรวยกัน ขอให้ท่านผู้อ่านมีความสุขตลอดทั้งปีนะครับ
เศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้ยังต้องลุ้นกันอยู่พอสมควร เพราะสภาพการณ์ของเศรษฐกิจโลกยังคงไม่สู้จะเอื้ออำนวยต่อการทำมาค้าขายเท่าไหร่นัก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งการส่งออก และการท่องเที่ยว เป็นหลัก ซึ่งเป็นการเอาเงินจากกระเป๋าคนต่างชาติมาใช้ แต่กระเป๋าเงินของชาวยุโรปในปีนี้ยังไม่ค่อยจะดีนัก เพราะมีปัญหาการเงินของประเทศกรีซที่ทำให้ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเครียดกันอยู่ จึงทำให้เศรษฐกิจของยุโรปยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทางด้านประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ทำนองเดียวกัน เศรษฐกิจอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว พอข้ามมาทางฝั่งเอเซีย เศรษฐกิจของประเทศจีนปีนี้คงขยายตัวไม่มากนัก ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีสัญญานส่อว่าจะเริ่มถดถอยลงอีก แบบนี้การส่งออกของประเทศไทยปีนี้คงขยายตัวได้เล็กน้อย ส่วนการท่องเที่ยวของประเทศไทยปีนี้น่าจะไปได้ดีถ้าไม่มีเหตุการณ์ทางการเมืองทำให้คนตกใจจนไม่กล้าเดินทางมาเที่ยว เพราะถ้าคนไทยร่วมใจกันรักษาชื่อเสียงและดูแลแหล่งท่องเที่ยวกันอย่างจริงจัง ให้มีความสวยงาม มีความปลอดภัย และไม่โกงไม่หลอกลวงนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีก ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เราหวังจะให้ถึงปีละ 30 ล้านคน เป็นไปได้ไม่ยากเพราะเรามีสิ่งที่นักท่องเที่ยวอยากมาสัมผัสอีกมาก  สำหรับปีนี้รัฐบาลคงต้องหาโครงการลงทุนภายในประเทศให้มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เงินตกเข้ามาอยู่ในมือของประชาชนมากขึ้นเพื่อหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น
          มาว่าเรื่องรากฐานความสามารถในการแข่งขันรากฐานต่อไป คือรากฐานที่ 10 ขนาดตลาด (Market  size) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญอีกรากฐานหนึ่งในการแข่งขัน เพราะถ้าขนาดตลาดของประเทศเล็กเกินไป ก็ไม่จูงใจให้คนมาลงทุนทำการค้าขายในประเทศเพราะไม่คุ้มค่าการลงทุน มาดูว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันแล้ว ประเทศไทยมีขนาดตลาดที่สามารถแข่งขันได้ในระดับใด

 
รากฐาน PILLAR
 
ตัวเพิ่มประสิทธิภาพ
EFFICIENCY ENHANCERS
การศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม
5. Higher education and training
ประสิทธิภาพตลาดสินค้า
6. Goods market efficiency
 
ประสิทธิภาพตลาดแรงงาน
7. Labor market efficiency
 
การพัฒนาตลาดการเงิน
8. Financial market development
ความพร้อมของเทคโนโลยี
9.Technological readiness
ขนาด
ตลาด
10. Market
size
ประเทศ/เศรษฐกิจ
Country/
Economy
 
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
Cambodia  
100
3.65
123
2.92
90
4.17
29
4.63
84
3.80
102
3.02
87
3.31
Indonesia
46
4.38
61
4.53
48
4.54
110
3.81
42
4.45
77
3.58
15
5.34
Lao PDR   
107
3.58
110
3.28
59
4.41
34
4.59
101
3.69
115
2.83
121
2.67
Malaysia    
24
4.95
46
4.80
7
5.42
19
4.80
4
5.60
60
4.18
26
4.90
Myanmar 
134
3.11
135
2.44
130
3.68
72
4.21
139
2.58
144
2.07
70
3.70
Philippines  
58
4.27
64
4.45
70
4.32
91
4.03
49
4.37
69
3.78
35
4.68
Singapore  
2
5.68
2
6.09
1
5.64
2
5.69
2
5.84
7
6.09
31
4.71
Thailand  
39
4.53
59
4.58
30
4.74
66
4.24
34
4.61
65
3.94
22
5.09
Vietnam   
74
3.99
96
3.74
78
4.24
49
4.37
90
3.77
99
3.12
34
4.69

          เรื่องขนาดตลาดของกลุ่มอาเซียนที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้ประเทศ อินโดนิเซีย เพราะเป็นประเทศใหญ่ มีพลเมืองมากที่สุดในกลุ่มอาเซียน เป็นตลาดใหญ่อันดับที่ 15 ของโลก มีศักยภาพสูงในการลงทุนเพราะมีประชากรถึง 250 ล้านคน มีกำลังซื้อจำนวนมาก ตามด้วยประเทศไทยที่มีขนาดตลาดใหญ่เป็นที่ 2 ในกลุ่มอาเซียน แต่ในระดับนานาชาติประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 22 ตามด้วยประเทศมาเลเชียที่มีขนาดตลาดอยู่อันดับที่ 26 ประเทศสิงคโปร์แม้จะมีพลเมืองน้อยแต่คนมีรายได้สูงมีอำนาจในการซื้อสูง ขนาดตลาดอยู่ในอันดับที่ 31 ดีกว่าประเทศเวียตนามที่มีพลเมืองมากกว่าแต่อำนาจการซื้อยังต่ำจึงได้อันดับที่ 34 โดยมี ประเทศฟิลิปปินส์อยู่อันดับที่ 35 ประเทศเมียนมาร์อยู่อันดับที่ 70 เป็นตลาดที่ใหญ่กว่า ประเทศกัมพูชาที่อยู่อันดับที่87 และ ประเทศลาวอยู่อันดับที่ 121เพราะเป็นประเทศเล็ก มีพลเมืองน้อยกว่าเพื่อน
          การวัดความสามารถในการแข่งขันรากฐานที่ 10 เรื่องขนาดตลาดนี้ เขาต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องอื่นๆประกอบด้วยดังนี้

รากฐานที่ 10 ขนาดตลาด (Market size)
 

เรื่อง
คะแนน
Value
อันดับของประเทศไทย
Rank
ดัชนีวัดขนาดตลาดภายในประเทศ
Domestic market size index, 17 (best)*
4.8
23
ดัชนีวัดขนาดตลาดต่างประเทศ
Foreign market size index, 17 (best)*
5.9
16
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
GDP (PPP$ billions)*
673.7
24
การส่งออกเป็นอัตราร้อยละของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
Exports as a percentage of GDP*
74.2
22


ในเรื่องขนาดตลาดนี้โดยภาพรวมประเทศไทยอยู่ในอันดับค่อนข้างดี โดยมีปัจจัยที่ใช้วัดเปรียบเทียบ เพียง 4 เรื่องคือ
เรื่องดัชนีวัดขนาดต่างต่างประเทศที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 16 เพราะประเทศไทยมีตลาดต่างประเทศที่ค่อนข้างกว้าง คือทำการค้าขายทั่วโลก ทั้งยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเซีย ขนาดของตลาดต่างประเทศของประเทศไทยจึงค่อนข้างใหญ่ ทำให้ฐานเศรษฐกิจของไทยอยู่ที่การส่งออกค่อนข้างมาก เพราะประเทศไทยสามารถส่งออกได้ทั้งสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เสื้อผ้า รองเท้า อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงรถยนต์
เรื่องการส่งออกเป็นอัตราร้อยละของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 22 เป็นผลจากการที่ประเทศไทยค้าขายไปทั่วโลก ทำให้มูลค่าการค้าขายโดยการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยสูงประมาณ ครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศ ปีใดที่การส่งออกสินค้าของไทยเติบโตน้อย ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศก็พลอยไม่ดีไปด้วยเพราะเราต้องพึ่งการส่งออกค่อนข้างมาก
เรื่องดัชนีชี้วัดขนาดตลาดภายในประเทศ เราอยู่ที่อันดับ 23 นับว่าประเทศไทยมีขนาดตลาดที่ใหญ่พอสมควร แม้จะมีประชากรไม่ถึง 70 ล้านคน แต่ก็มีกำลังซื้อภายในประเทศแรงพอสมควร ก็คนไทยซื้อสินค้ากันจนมีหนี้สินครัวเรือนกันมาก เพราะนิสัยซื้อก่อนแล้วผ่อนใช้ที่หลังของคนไทย เราจึงเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบกันมากมาย
 และเรื่องสุดท้าย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของไทยอยู่อันดับที่ 24 ก็ยังแพ้ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย เพราะ GDP ของทั้งสองประเทศดีกว่าประเทศไทย เราต้องยอมรับความจริงเรื่องคุณภาพของคน และคนไทยยังต้องพัฒนาคุณภาพตัวเองอีกมาก รวมทั้งต้องพัฒนาเรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน การทำมาหากิน ให้มากกว่านี้ประเทศไทยถึงจะมี GDP ที่ดีขึ้น
ขอปิดท้ายวันนี้จากคำพูดของ นายพล Colin Powell ที่ให้ข้อคิดว่า There are no secrets to success. It is the result of preparation, hard work, and learning from failure.” ไม่มีความลับอะไรในการไปสู่ความสำเร็จ มันเป็นผลของการเตรียมการ การทำงานหนัก และการเรียนรู้จากความล้มเหลว
และจากคำพูดของผู้ประสบความสำเร็จในการค้าขายระดับโลก Sam Walton เจ้าของห้างใหญ่ Walmart ในสหรัฐอเมริกา ที่สั่งสอนลูกน้องในบริษัทของเขาว่า  There is only one boss. The customer. And he can fire everybody in the company from the chairman on down, simply by spending his money somewhere else.” เรามีเจ้านายเพียงคนเดียวคือลูกค้า และลูกค้าสามารถไล่ทุกคนในบริษัทให้ออกจากงานได้ตั้งแต่ประธานบริษัทลงมา เพียงแค่ลูกค้าไปใช้จ่ายเงินของเขาในที่แห่งอื่นเท่านั้น

ครับลูกค้าสำคัญเสมอเมื่อเงินอยู่ในกระเป๋าของเขา


ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเป็นเพื่อนทางความคิด และ

ขอบคุณที่ช่วยแนะนำให้เพื่อนอ่านต่อที่


สมชัย ศิริสุจินต์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น