วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ


The Global Competitiveness Index 2016-2017

“He who walks with intregrity walks securely, but he who perverts his ways will become known.”               Proverbs 10:9

เคยเขียนเรื่อง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยติดต่อกันหลายตอน เมื่อเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2014 เพื่อความเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ผมขอแนะนำ ให้ท่านเข้าไปอ่านบทความเรื่องนี้ย้อนหลัง โดยไปที่คลังบทความของบล๊อคนี้ ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือของบทความนี้ แล้วท่านเลือกคลิ๊กปี และเลือกคลิ๊กเดือน ตามลำดับครับ

วันนี้ตั้งใจจะเสนอเรื่องดัชนีความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆในโลกประจำปี 2016-2017 ที่  World Economic Forum ได้เผยแพร่รายงานนี้ เพื่อประโยชน์ที่ คนไทยจะได้รู้ว่าตำแหน่งความสามารถในการแข่งขันของประทศไทยอยู่ในอันดับใดใน จำนวน 138 ประเทศทั่วโลก

ขอรายงาน 10 ประเทศ ที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ดีที่สุด

อันดับ
ประเทศ
คะแนน
คะแนนครั้ง
ที่แล้ว
อันดับครั้ง
ที่แล้ว
1
Switzerland
5.81
5.76
1
2
Singapore
5.72
5.68
2
3
United States
5.70
5.61
3
4
Netherlands
5.57
5.56
5
5
Germany
5.57
5.53
4
6
Sweden
5.53
5.43
9
7
United Kingdom
5.49
5.43
10
8
Japan
5.48
5.47
6
9
Hong Kong
5.48
5.46
7
10
Finland
5.44
5.45
8


อันดับ 1 ถึง 10 ยังคงเป็นประเทศเดิม เพียงแต่มีการสลับตำแหน่งขึ้นลงบ้างเล็กน้อย

ทีนี้มาดูอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน


อันดับ
ประเทศ
คะแนน
คะแนนครั้ง
ที่แล้ว
อันดับครั้ง
ที่แล้ว
2
สิงคโปร์
5.72
5.68
1
25
มาเลย์เซีย
5.16
5.23
18
34
ไทย
4.64
4.64
32
41
อินโดนีเซีย
4.52
4.52
37
57
ฟิลิปปินส์
4.36
4.39
47
58
บูรไนดารุสซาลาม
4.35
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
60
เวียตนาม
4.31
4.30
56
89
กัมพูชา
3.98
3.94
90
93
ลาว
3.93
4.0
83


หมายเหตุ ไม่มีประเทศเมียร์มาในรายงานนี้

ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ไปอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ส่วนประเทศเพื่อนบ้านที่เหลือในกลุ่มกระจายกันไปตามความสามารถ ในการแข่งขันของแต่ละประเทศที่ยังอยู่ค่อนข้างจะห่างไกลกัน มีประเทศมาเลเซีย ที่นำหน้าประเทศไทย อยู่ไม่ห่างไกลนัก และ ประเทศอินโดนีเซียที่ตามหลัง ประเทศไทยไม่ไกลนักเช่นกัน

การวัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผู้ทำการศึกษาใช้คะแนนจากปัจจัย ที่ผู้ทำการศึกษาเห็นว่าสำคัญและเป็นเรื่องที่ทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันถึง 12 ปัจจัย โดยแบ่งปัจจัยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มปัจจัยความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Requirement) ซึ่งมีอยู่ 4 ปัจจัยคือ
  1. Institutions ความเป็นประเทศ ความเป็นสถาบัน ที่มั่นคง ขององค์กร หน่วยงาน
  2. Infrastructure โครงสร้างปัจจัยพื้นฐาน การคมนาคม ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
  3. Macroeconomic Environment สิ่งแวดล้อมของเศรษฐกิจระดับมหาภาค
  4. Health and Primary Education บริการสาธารณสุขและการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรียกกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มขับเคลื่อนด้วยปัจจัย (Factor - driven)

  • กลุ่มปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency Enhencers) มีอยู่ 6 ปัจจัยคือ
   5. Higher Education and Training การศึกษาในระดับอุดมศึกษาและการฝึกอบรม
   6. Goods Market Efficiency ความมีประสิทธิภาพของตลาดสินค้า
   7. Labor Market Efficiency ความมีประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน
   8. Financial Market Development การพัฒนาของตลาดการเงิน
   9. Technological Readiness ความพร้อมและมีให้ใช้ของเทคโนโลยี
 10. Market Size ขนาดตลาดสินค้าในประเทศ
เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มขับเคลื่อนด้วยความมีประสิทธิภาพ (Efficiency - driven)

  • กลุ่มปัจจัยนวัตกรรมและความซับซ้อน มีอยู่ 2 ปัจจัย คือ
  11. Business Sophistication ความซับซ้อนก้าวหน้าทางธุรกิจ
  12. Innovation การมีและใช้นวัตกรรม
เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation - driven)

ซึ่งทั้ง 12 ปัจจัยนี้ ในแต่ละปัจจัยจะมีหัวข้อย่อยอีกหลายเรื่องที่นำมาให้คะแนน

ประเทศไทยมีคะแนน 4.64 จัดอยู่ในกลุ่มประเทศคะแนนต่ำกว่า 5 หน้าที่ของ ประเทศไทย คือต้องเร่งปรับปรุงพัฒนาเรื่องต่างๆที่เป็นปัจจัยของความสามารถ ในแข่งขันทั้ง 12 ปัจจัย เพื่อทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพมากขึ้น จึงจะทำให้ มีคะแนนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถขยับขึ้นไปอยู่ในกลุ่มประเทศ ที่มีคะแนนมากกว่า 5 คะแนน ที่ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศมาเลเซีย สามารถ ทำได้แล้ว

เรื่องการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทุกคนต้องช่วยกัน เพราะทุกปัจจัยสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศจะเกี่ยวโยงกันหมด ตั้งแต่เรื่องความมั่นคงของประเทศ ความมีเสถียรภาพ ทางการเมือง ความสงบสุขของบ้านเมือง คุณภาพการศึกษา คุณภาพชีวิต ของประชาชน โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม ไฟฟ้า น้ำประปา อินเตอร์เน็ต ระบบการลงทุน การเงินการคลัง ตลาดการเงิน คุณภาพแรงงาน ขนาดตลาด สินค้าอุปโภคบริโภค ความพร้อมและมีให้ใช้ทางเทคโนโลยี โครงสร้างธุรกิจและ อุตสาหกรรม ที่มีตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ มีอุตสาหกรรมที่มีความ ไม่ซับซ้อนไปถึงอุตสาหกรรมขั้นสูงที่มีความซับซ้อน และการมีและใช้นวัตกรรมใหม่ๆ

ทุกเรื่องทุกปัจจัยประชาชนมีหน้าที่ในฐานะพลเมืองที่ต้องช่วยกันใส่ใจดูแล และพัฒนา ให้ปัจจัยทุกตัวมีคุณภาพและมีศักยภาพมากขึ้น

Julia Gillard กล่าวว่า
“Our future growth relies on competitiveness and innovation, skills and productivity... and these in turn rely on the education of our people.” การเติบโตในอนาคตของประเทศเราขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรมทักษะ และความมีผลิตผล และทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการศึกษาของคนในประเทศของเรา