วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (5)



“You will become wise, and your knowledge will give you pleasure. Your insight and understanding will protect you.”                   Proverbs 2:10-11

ได้เสนอข้อมูลเรื่องรากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ในรากฐานความสามารถที่ 1 เรื่องสถาบัน (Institutions) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 รากฐาน ในหมวดปัจจัยต้องการพื้นฐาน และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญเบื้องต้น ที่นักลงทุนต้องศึกษาถึงสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน และแนวโน้มในการพัฒนาของรากฐานแต่ละรากฐานของประเทศที่จะเข้าไปลงทุน ว่าจะเป็นข้อดี ข้อเสีย เป็นโอกาส หรือ เป็นอุปสรรค ในการเข้ามาลงทุนทำธุรกิจของเขาในประเทศนั้นอย่างไรบ้าง ซึ่งในแต่ละรากฐานจะมีองค์ประกอบอีกหลายเรื่อง ที่ผู้ลงทุนต้องทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆที่มีความน่าสนใจในการเข้าไปลงทุนเหมือนกัน ก่อนการตัดสินใจ
           รากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศในหมวด ปัจจัยต้องการพื้นฐาน ประกอบด้วย รากฐานสำคัญ 4 รากฐานคือ (1) สถาบัน (2) โครงสร้างพื้นฐาน (3) สภาพเศรษฐกิจมหภาค และ (4) สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งประเทศไทยมีคะแนนและอันดับที่แตกต่างกันในแต่ละรากฐานเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
 

 
รากฐาน Pillar
 
ปัจจัยต้องการพื้นฐาน
BASIC REQUIREMENTS
สถาบัน
1.Institutions
โครงสร้างพื้นฐาน2.Infrastructure
เศรษฐกิจมหภาค3.Macroeconomic environment
สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น
4.Health and primary education
ประเทศ/เศรษฐกิจCountry
/Economy
ตำแหน่ง
Rank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
 
Cambodia  
103
4.09
119
3.25
107
3.05
80
4.60
91
5.44
Indonesia  
46
4.91
53
4.11
56
4.37
34
5.48
74
5.67
Lao PDR    
98
4.13
63
3.92
94
3.38
124
3.78
90
5.44
Malaysia     
23
5.53
20
5.11
25
5.46
44
5.26
33
6.28
Myanmar   
132
3.36
136
2.80
137
2.05
116
4.00
117
4.59
Philippines   
66
4.63
67
3.86
91
3.49
26
5.76
92
5.41
Singapore   
1
6.34
3
5.98
2
6.54
15
6.13
3
6.73
Thailand  
40
5.01
84
3.66
48
4.58
19
6.01
66
5.80
Vietnam    
79
4.44
92
3.51
81
3.74
75
4.66
61
5.86

ในหมวด ปัจจัยต้องการพื้นฐานนี้ ประเทศไทย ได้คะแนนรวมที่ 5.01 อยู่ในอันดับที่ 40 แพ้ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่อันดับที่ 1 มีคะแนน 6.34 และ ประเทศมาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับที่ 23  มีคะแนน 5.53 ประเทศในกลุ่ม AEC ที่เหลืออยู่ในอันดับตามหลังประเทศไทย และอันดับหลังสุดในกลุ่ม คือประเทศพม่า ที่อยู่ในอันดับที่ 132 ได้คะแนน 3.36
สำหรับรากฐานที่ 2 ในหมวดปัจจัยต้องการพื้นฐานคือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 48 ได้คะแนน 4.58 รากฐานเรื่องโครงสร้างพื้นฐานนี้ ประเทศไทยยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานสู้ ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับที่ 2 และ ประเทศมาเลเซียที่อยู่ในอันดับที่ 25 ไม่ได้ แต่ยังดีกว่า ประเทศอินโดนีเซียที่อยู่อันดับที่ 56 เวียตนามอันดับที่ 81 ประเทศฟิลิปปินส์ อันดับที่ 91 ประเทศ ประเทศลาว อันดับที่ 94 ประเทศกัมพูชา อันดับที่ 107 และ ประเทศพม่าอันดับที่ 137
การที่ประเทศไทยได้คะแนนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) 4.58 คะแนน และอยู่ในอันดับที่ 48 นั้น เขาได้ศึกษาเจาะลึกลงไปในระบบต่างๆอีก 9 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการมีให้ใช้ ความทั่วถึงเพียงพอ และความสะดวกในการใช้โครงสร้างพื้นฐานในแต่ละระบบในประเทศ ซึ่งประเทศไทย ได้คะแนนในแต่ละเรื่อง และมีอันดับดังนี้


รากฐานที่ 2  โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

เรื่อง
คะแนน
Value
ตำแหน่งของประเทศไทย
Rank
คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานโดยรวม
Quality of overall infrastructure
4.1
76
คุณภาพของถนน
Quality of roads
4.5
50
คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานรถไฟ
Quality of railroad infrastructure
2.4
74
คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานสนามบิน
Quality of port infrastructure
4.5
54
คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางอากาศ
Quality of air transport infrastructure
5.3
37
จำนวนที่นั่งโดยสารเครื่องบินต่อกิโลเมตรต่อสัปดาห์ต่อประชากรล้านคน
Available airline seat km/week, millions*
2,575.3
15
คุณภาพของพลังงานไฟฟ้า
Quality of electricity supply
5.1
58
จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต่อประชากรร้อยคน
Mobile telephone subscriptions/100 pop.*
138.0
34
จำนวนสายโทรศัพท์ต่อประชากรร้อย
Fixed telephone lines/100 pop.*
9.0
91

 
อันดับที่ดีที่สุดของประเทศไทยในองค์ประกอบที่เป็นรากฐานระบบโครงสร้างพื้นฐานคือ ระบบการคมนาคมทางอากาศ ที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 15 เนื่องจากประเทศไทยมีสนามบินที่ได้มาตรฐานทั้งในกรุงเทพมหานครและตามจังหวัดท่องเที่ยวทั่วประเทศ ทำให้มีสายการบินหลายบริษัทเปิดให้บริการหลายเส้นทางบินทั้งในประเทศและเชื่อมต่อกับต่างประเทศได้ทั่วโลก รวมทั้งมีสายการบินราคาประหยัด (Low cost) หลายบริษัทให้บริการหลากหลายเส้นทางการบิน และมีจำนวนเที่ยวบินให้บริการอย่างเพียงพอ จึงทำให้มีจำนวนที่นั่งโดยสารเครื่องบินต่อกิโลเมตรต่อสัปดาห์ต่อประชากรล้านคนของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี
อันดับที่ดีถัดมาคือจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต่อประชากรร้อยคน ที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 34 สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมที่ค่อนข้างดี เนื่องจากคนไทยมีและใช้โทรศัพท์มือถือกันมาก ใช้กันอย่างทั่วถึง ใช้กันทุกระดับ ตั้งแต่รากหญ้าถึงปลายใบหญ้า บ้านบนดอยสูงก็มีโทรศัพท์ 3G ไว้ใช้ FB และ line กันสนั่นเมือง จนทำให้ตัวเลขสายโทรศัพท์บ้านของคนไทยหล่นไปอยู่อันดับที่ 91 อนาคตโทรศัพท์บ้านมีโอกาสกลายเป็นวัตถุโบราณประจำบ้าน
ระบบการขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 37 เพราะได้รับประโยชน์จากการมีระบบโครงสร้างสนามบินที่มีมาตรฐาน ที่อยู่ในอันดับที่ 54 และมีระบบขนส่งทางถนนเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งทางอากาศ และทางเรือ
คุณภาพของระบบโครงสร้างถนนในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 50 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้ แต่คุณภาพระบบโครงสร้างรถไฟ ของประเทศไทยโดยภาพรวม ยังไม่ดี อยู่อันดับที่ 76 รัฐบาลไทยทุกรัฐบาลรู้จุดอ่อนเรื่องระบบโครงสร้างรถไฟไทยมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเปลี่ยนรัฐบาลกันบ่อย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของนักลงทุน ที่ต้องพิจารณาความพร้อมและต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบในการผลิต และขนส่งสินค้าเมื่อผลิตเสร็จแล้ว ซึ่งต้นทุนการขนส่ง (Logistic cost) ของประเทศไทยค่อนข้างสูง ถ้ารัฐบาลไม่รีบเร่งลงมือดำเนินการปฏิรูประบบโครงสร้างรถไฟอย่างจริงจัง ประเทศไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว เขมร พม่า เวียตนาม (โดยการสนับสนุนของประเทศจีน) กำลังลงทุนปรับปรุงระบบโครงสร้างรถไฟให้เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศจีน ถ้ารางรถไฟไทยซึ่งใช้มานานมากมากแล้ว ยังคงเป็นแบบเดิม คือมีความกว้าง 1 เมตร วิ่งแบบถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านใช้รางรถไฟที่มีความกว้าง 1.4 เมตร รางรถไฟไทยไม่สามารถเชื่อมต่อกับรางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้านได้ รวมทั้งปริมาณในการขนส่ง และความเร็วในการขนส่งทางรถไฟของไทยจะสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ เพราะเขาใช้รางรถไฟที่มีขนาดความกว้างมากกว่า ทำให้บรรทุกสินค้าได้มากกว่า และวิ่งได้เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
เรื่องพลังงานไฟฟ้า เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ประเทศไทยยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน คุณภาพพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 58 แม้ปัจจุบันนี้จะมีปริมาณไฟฟ้าให้ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างพอเพียง และมีไฟฟ้าใช้กันค่อนข้างทั่วถึงทั้งประเทศ แต่กำลังผลิตไฟฟ้าในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อนาคตอันใกล้เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่แน่ ถ้าไม่รีบแก้ไข เพราะความต้องการพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศสูงขึ้นทุกปี รัฐบาลจะมีนโยบายการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีใดยังไม่แน่ชัด จะสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่ม หรือ สร้างโรงผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือใช้ถ่านหิน หรือใช้พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม ในการผลิตไฟฟ้า ยังเป็นเรื่องที่นักลงทุนมีความกังวลใจอยู่ เพราะพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานหลักในการผลิต ดังนั้นการลงทุนจึงต้องพิจารณาถึงคุณภาพความมีพร้อมใช้ ความเพียงพอ และความปลอดภัยในการใช้พลังงานไฟฟ้า
คุณภาพโดยรวมของระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 76 สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังต้องแก้ไขปรับปรุงเรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอีกมาก เพราะเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพของการผลิตและบริการ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า การบริการ และ การท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการลงทุนในประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
Andrew Carnegie กล่าวว่า And while the law of competition may be sometimes hard for the individual, it is best for the race, because it ensures the survival of the fittest in every department.” แม้กฏของการแข่งขัน บางครั้งอาจจะยากลำบากสำหรับบุคคล แต่มันเป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับการแข่งขัน เพราะมันทำให้เรามั่นใจได้ว่า ในทุกแผนกมีผู้อยู่รอดที่แข็งแกร่งที่สุด

การแข่งขันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากในโลกปัจจุบัน คนไทยทั้งประเทศต้องรู้และเข้าใจว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีความสามารถในการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด แต่วิธีการแข่งขันเราสามารถใช้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือกันได้

ขอคนไทยร่วมมือกันสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยครับ

 

ขอบคุณที่ช่วยแนะนำให้เพื่อนอ่านต่อที่


สมชัย ศิริสุจินต์