วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (14)



“Son, hold on to your wisdom and insight. Never let them get away from you. They will provide you with life - a pleasant and happy life.”                                                                                    Proverbs 3:21-22

          นับวันเทคโนโลยียิ่งทวีบทบาทสำคัญมากขึ้นในชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ และเข้ามาแทรกแซงครอบงำวิถีชีวิตของมนุษย์แทบทุกเรื่อง เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกรรมต่างๆผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และสื่อดิจิทัลที่นิยมกันเช่น Website และ Social media ต่างๆ ในการซื้อขายสินค้า online การจองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ รถโดยสาร จองโรงแรม ซื้อบัตรดูการแสดง ดนตรี ภาพยนต์ หรือแม้การเรียกรถ Taxi ก็สามารถทำได้ ไม่นับรวมการทำธุรกรรมทางการเงินของธนาคารผ่าน Smart phone ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดทุกปี และคาดการณ์ว่าเมื่อประเทศไทยมีระบบ 4G ใช้กันครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว จะมีจำนวนผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทำธุรกรรมต่างๆมากยิ่งขึ้น จากนี้ไปคงจะมีนวัตกรรมใหม่ๆออกมาให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้อีกมากมาย และจะมีผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นอน ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมคือระบบธนาคาร ที่ปัจจุบันรูปแบบการทำธุรกิจเปลี่ยนไป เพราะใช้พื้นที่ทำการน้อยลง และใช้เจ้าหน้าที่ทำงานน้อยลง เนื่องจากใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย งานส่วนหนึ่งที่เคยให้พนักงานทำถูกโอนไปให้ลูกค้าทำแทน โดยอาศัยความสะดวกทางเทคโนโลยี ทำให้ธนาคารสามารถลดคนลดพื้นที่ทำการลงได้
          เรื่องนวัตกรรม (Innovation) เป็นเรื่องใหญ่และเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นรากฐานสุดท้ายที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคต และต้องให้ความสนใจอย่างมาก เพราะเรื่องเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนแปงอย่างรวดเร็วมากด้วย

รากฐานที่ 12 เรื่องนวัตกรรม (Innovation)


 
รากฐาน PILLAR
 
นวัตกรรม และปัจจัยความช่ำชองยากง่ายINNOVATION  AND SOPHISTICATION FACTORS
ความช่ำชองยากง่ายทางธุรกิจ
11. Business   & Sophistication
นวัตกรรม
12. Innovation
ประเทศ/เศรษฐกิจCountry/Economy
ตำแหน่ง
Rank
คะแนน
Score
ตำแหน่ง
Rank
คะแนน
Score
ตำแหน่งRank
คะแนน
Score
Cambodia
116
3.15
111
3.52
116
2.79
Indonesia
30
4.20
34
4.47
31
3.93
Lao PDR
80
3.51
79
3.87
84
3.14
Malaysia
17
4.95
15
5.24
21
4.67
Myanmar
139
2.62
140
2.90
138
2.34
Philippines
48
3.90
46
4.33
52
3.48
Singapore
11
5.13
19
5.07
9
5.18
Thailand
54
3.84
41
4.40
67
3.28
Vietnam
98
3.35
106
3.58
87
3.12

 
ในเรื่องนวัตกรรม ประเทศสิงคโปร์ ยังคงนำหน้าประเทศในกลุ่ม ASEANอยู่อันดับที่ 9 โดยมีประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่  21 ตามด้วย ประเทศอินโดนีเซียอันดับที่ 31 และ ประเทศฟิลิปปินส์ 52 แล้วถึงมาเป็นประเทศไทยอยู่อันดับที่ 67  ประเทศลาว อันดับ 84  ประเทศเวียตนามอันดับที่ 87 ประเทศกัมพูชาอันดับที่ 116 และประเทศเมียร์มาอยู่รั้งท้ายอันดับที่ 138
ต้องยอมรับว่าในเรื่องนวัตกรรม ประเทศไทยยังไม่ตื่นตัวกัน เพราะเราถนัดในการ Copy ลอกแบบสินค้าและนวัตกรรมของคนอื่น จนถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ฝรั่งหมายหัว เพราะสินค้าราคาแพง ยี่ห้อดังๆพวก นาฬิกา กระเป๋า ปากกา เราทำเลียนแบบจนทำให้ของแท้ดูเหมือนของปลอมได้ สินค้าอย่างอื่นไม่ต้องพูดถึงสามารถทำเลียนแบบได้ และดูเหมือนมีนวัตกรรมในการเลียนแบบได้ดีอีกต่างหาก
แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องในการทำธุรกิจ สิ่งประเทศไทยต้องทำคือการส่งเสริมให้คนไทยรู้จักเรียนรู้วิจัยพัฒนา และสร้างนวัตกรรมของตนเอง ซึ่งประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยรุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย สถาบันและหน่วยงานต่างๆ เพียงแต่ยังไม่ได้รับความสนใจและส่งเสริมการทำงาน ไม่มีเงินสนับสนุนการทำงานวิจัย ทดลองค้นคว้าสร้างนวัตกรรมอย่างจริงจัง งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีความเจริญทางด้านนวัตกรรม รวมทั้งในภาคเอกชนด้วยเช่นกัน บริษัทในประเทศไทยส่วนใหญ่แทบจะไม่มีการลงทุนเรื่องการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมของบริษัทเลย
มาดูว่าความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในเรื่องที่เกี่ยวกับนวัตกรรมทำไมประเทศไทยถึงได้อันดับที่ไม่ค่อยประทับใจ


รากฐานที่ 12 นวัตกรรม (Innovation)


เรื่อง
คะแนน
Value
อันดับของประเทศไทย
Rank
ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
Capacity for innovation
3.7
70
คุณภาพของสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์
Quality of scientific research institutions
3.9
61
จำนวนงบประมาณของบริษัทที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา
Company spending on R&D
3.2
56
ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรมในการวิจัยและพัฒนา
University-industry collaboration in R&D
4.0
46
การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของรัฐบาล
Gov’t procurement of advanced tech products
2.9
114
จำนวนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร
Availability of scientists and engineers
4.3
54
จำนวนสิทธิบัตรตามสัญญาความร่วมมือทางสิทธิบัตรต่อประชากร (Patent Cooperation Treaty -PCT)
PCT patents, applications/million pop.*
1.2
67


อันดับที่ดีที่สุดของประเทศไทยเรื่องความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมคือ ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรมในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งได้อันดับที่ 46 เรื่องความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชนเกี่ยวกับงานวิจัยพัฒนาและสร้างนวัตกรรมยังต้องพัฒนาอีกมาก อย่างที่เราทราบกันว่ามีงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยอีกมากมายที่วางอยู่บนชั้นหิ้ง หรือเก็บไว้เป็นผลงานส่วนตัว ทำอย่างไรถึงจะเอาผลงานวิจัยในมหาวิทยาลัยมาพัฒนาสร้างนวัตกรรมแล้วนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเป็นสินค้าวางขายบนชั้นในห้างสรรพสินค้า (Shelf to shelf) เรื่องนี้ มหาวิทยาลัย กับเอกชนต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทำงานร่วมกันในการวางแผนการวิจัยพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ และจัดการแบ่งผลประโยชน์เรื่องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาให้ลงตัว ระหว่างผลประโยชน์ของนักวิจัย ผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย และผลประโยชน์ของเอกชนผู้ลงทุน จึงจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
อันดับถัดมาคือเรื่องจำนวนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 54 แสดงว่าเรายังมีจำนวนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจำนวนไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงระบบการศึกษา และทัศนคติต่อวิชาชีพ ที่ทำให้การผลิตคนไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
อันดับต่อมาคือ จำนวนงบประมาณของบริษัทที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา ที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 56 ต้องยอมรับว่ามีเฉพาะบริษัทใหญ่ไม่กี่บริษัทในประเทศไทย ที่ลงทุนสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง แต่ก็ยังมีงบประมาณให้ไม่มากนัก บริษัทส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องการวิจัยและพัฒนาด้วยตนเอง เพราะมีความเข้าใจว่างานวิจัยและพัฒนาเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย หรือเป็นงานของสถาบันวิจัยต่างๆของราชการที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ จึงต้องปรับกระบวนทัศน์กันใหม่ ในเรื่องความร่วมมือกันทำงานวิจัยพัฒนา เพราะบริษัทส่วนใหญ่ของไทยเป็น SME ไม่มีกำลังทางการเงิน และไม่มีศักยภาพทางบุคลากร จึงต้องอาศัยการลงทุนของรัฐบาลสนับสนุน เช่นโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) หรืออุทยานซอฟแวร์ (Software Park) ที่มีศักยภาพเรื่องห้องปฏิบัติการ มีนักวิจัย นักวิชาการ และมีเงินทุนวิจัยที่จะให้ความช่วยเหลือบริษัทเอกชนในระยะแรกก่อน เพราะเอกชนลงทุนเองไม่ไหว
เรื่อง คุณภาพของสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยอยู่อันดับ 61โน่น นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยยังมีไม่มาก และขาดการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ จึงมีพื้นที่ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานวิจัยพัฒนากันอีกมากเพื่อทำให้คุณภาพงานของสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ดีขึ้น
เรื่อง จำนวนสิทธิบัตรตามสนธิสัญญาความร่วมมือทางสิทธิบัตรต่อประชากร ประเทศอยู่อันดับที่ 67 เรื่องนี้น่าจะเป็นผลจากความอ่อนแอด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ประเทศไทยไม่มีงานนวัตกรรมมากนัก การจดทะเบียนสิทธิบัตรของงานนวัตกรรมจึงมีจำนวนไม่มากนักตามไปด้วย
เรื่องความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 70 ทำให้รู้สึกกังวลถึงอนาคตของประเทศไทย ที่จะต้องเป็นผู้ซื้อนวัตกรรม มากกว่าเป็นผู้ขายนวัตกรรม อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่า นวัตกรรมมีมูลค่าสูง สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ถ้าประเทศไทยเอาแต่ซื้อนวัตกรรมใหม่ของผู้อื่นอยู่เรื่อยๆ ประเทศไทยจะมีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยคงจะอยู่กันลำบากมากขึ้น เพราะเราปลูกข้าวใช้เวลา 3 เดือน เมื่อเกี่ยวเก็บข้าว 1 ไร่ เอาไปขายจะได้เงินมาซื้อได้แค่โทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว
เรื่องการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของรัฐบาล ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 114 รายการนี้แสดงให้เห็นความคิดของข้าราชการ และ ความมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไรในการลงทุนของรัฐบาลเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ คงไม่ต้องแสดงความเห็นเพราะอันดับมันฟ้องความมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว
ได้นำเสนอรากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ครบทั้ง 12 รากฐานแล้ว ซึ่งแต่ละรากฐานมีปัจจัยประกอบหลายเรื่อง ท่านต้องช่วยกันพิจารณาว่าประเทศไทยมีรากฐานใดที่อ่อนแอ และควรต้องพัฒนาปัจจัยเรื่องต่างๆในรากฐานใดบ้างเพื่อทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยดีขึ้น
Julia Gillard กล่าวว่า Our future growth relies on competitiveness and innovation, skills and productivity... and these in turn rely on the education of our people.” การเติบโตในอนาคตขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขัน และนวัตกรรม ทักษะและผลผลิต...และทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการให้การศึกษาแก่ประชาชน

ขึ้นต้นพูดเรื่องนวัตกรรม แต่สรุปลงท้ายที่เรื่องคุณภาพคน

ระบบการศึกษาของไทยทำให้คนไทยมีคุณภาพในการแข่งขันได้หรือเปล่า

 

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเป็นเพื่อนทางความคิด และ

ขอบคุณที่ช่วยแนะนำให้เพื่อนรู้จัก


สมชัย ศิริสุจินต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น