วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประเทศไทยจะต้องทำอะไรต่อไป



“Whenever you possibly can do, do good to those need it. Never tell your neighbour to wait until tomorrow if you can help him now.”

 Proverbs 3: 27-28

        เขียนเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้ท่านได้อ่านจนหลายท่านรู้สึกเบื่อแล้วถึง 15 ตอน ความตั้งใจคือเพื่อเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 12 รากฐาน ซึ่งแต่ละรากฐานมีปัจจัยประกอบอีกหลายๆปัจจัยที่เสริมให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน     ในแต่ละตอนได้นำเสนอให้เห็นถึงอันดับคะแนนความสามารถของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ยกเว้นประเทศบรูไน ประเทศเดียวที่ไม่มีข้อมูล ซึ่งทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความสามารถในปัจจัยต่างๆอยู่ในระดับใดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกัน
ประเด็นที่นำเสนอเป็นข้อมูลในรายละเอียดปัจจัยความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศในอาเซียนที่ได้นำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าประเทศไทยได้อันดับที่เท่าไหร่ ในด้านใดบ้าง ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าประเทศไทยมีความสามารถด้านใดบ้างที่พอจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ และด้านในบ้างที่ประเทศไทยยังตามหลังประเทศอื่นอยู่
ข้อมูลที่นำเสนอมาจากรายงานดรรชนีความสามารถในการแข่งขันของโลก   (Global Competitiveness Index ) ปี 2013 ซึ่งจากการที่ได้เขียนนำเสนอไปทั้ง 15 ตอน พอสรุปได้โดยรวมว่า ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในกลุ่มอาเซียน (และเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันอันดับที่ 2 ของโลกมาหลายปีแล้ว) โดยมีประเทศมาเลเซีย เป็นอันดับที่ 2 และประเทศไทยเป็นอันดับ 3 ตามด้วยประเทศอินโดนีเซีย 4 ส่วนประเทศที่เหลือในอาเซียน อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศยังอยู่ห่างไกล วันนี้จึงขอนำข้อมูลของทั้ง 4 ประเทศนำในอาเซียน หรืออาจจะเรียกว่า The Big 4 of ASEAN มาเปรียบเทียบอีกครั้งเพื่อการศึกษาพัฒนาตนเองครับ
ตารางที่นำเสนอต่อไปนี้จัดทำขึ้น โดยเอาอันดับความสามารถในการแข่งขันโลก GCI (Global  Competitive Index) ของปี 2012 ถึงปี 2015 มาเปรียบเทียบว่าทั้ง 4 ประเทศได้อันดับดีขึ้นอย่างไร และนำประเด็นหลักที่เป็นรากฐานสำคัญของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  มาเปรียบเทียบว่าแต่ละประเทศมีอันดับแตกต่างกันอย่างไร


ประเด็น
Thailand
Malaysia
Indonesia
Singapore
 
Rank
(out of 144)
Rank
(out of 144)
Rank
(out of 144)
Rank
(out of 144)
GCI 2014–2015
31
20
34
2
GCI 2013–2014 (out of 148)
37
24
38
2
GCI 2012–2013 (out of 144)
38
25
50
2
GCI 2011–2012 (out of 142)
39
21
46
2
Basic requirements (40.0%)
40
23
46
1
Institutions
84
20
53
3
Infrastructure
48
25
56
2
Macroeconomic environment
19
44
34
15
Health and primary education
66
33
74
3
Efficiency enhancers (50.0%)
39
24
46
2
Higher education and training
59
46
61
2
Goods market efficiency
30
7
48
1
Labor market efficiency
66
19
110
2
Financial market development
34
4
42
2
Technological readiness
65
60
77
7
Market size
22
26
15
31
Innovation and sophistication factors (10.0%)
54
17
30
11
Business sophistication 
41
15
34
19
Innovation
67
21
31
9
Population (millions)
68.2
29.6
248.0
5.4
GDP (US$ billions)
387.2
312.4
870.3
295.7
GDP per capita (US$)
5,674
10,548
3,510
54,776
GDP (PPP) as share (%) of world total
0.77
0.60
1.49
0.40


          ถ้าท่านดูตารางที่นำเสนอข้างต้นแล้วไม่เข้าใจ ขอแนะนำให้ท่านคลิ๊กเข้าไปอ่านในคลังบทความปี 2014 ของ Blog แล้วเลือก เดือน ตุลาคม เลือกบทความความสามารถในการแข่งขันของไทย ซึ่งเป็นบทความแรก และบทความเรื่อง ความสามารถในการแข่งขันของไทย (2) ซึ่งเป็นบทความที่ 2 ซึ่งทั้งสองบทความได้เขียนอธิบายรากฐานความสามารถในการแข่งขันทุกรากฐานไว้แล้ว และถ้ามีเวลาก็เลือกอ่านบทความตอนต่อๆมาด้วย จะได้เข้าใจมากขึ้นครับ
          ประเด็นที่อยากนำเสนอวันนี้ คือ เรื่องคุณภาพของคน เพราะใน 4 ประเทศกลุ่มนำนี้ ประเทศสิงคโปร์มีประชากรน้อยที่สุดคือ 5.4 ล้านคนเท่านั้น แต่ขนาดของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) คนสิงคโปร์ทำได้ถึง 295.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศมาเลย์เซียมีประชากร 29.6 ล้านคน ขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเท่ากับ 312.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศไทย มีประชากร 68.2 ล้านคน ขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศเท่ากับ 387.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศอินโดนิเซีย มีประชากรมากถึง 248 ล้านคน และมีขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมเท่ากับ 870.3 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุดในกลุ่มอาเซียน แต่ถ้านำเอาจำนวนประชากรของประเทศไปหาร จะได้ค่าเฉลี่ยผลิตภัณฑ์รวมของประชากรหนึ่งคน (GDP per capita) หรือประชากรหนึ่งคนสร้างรายได้เฉลี่ยได้เท่าไหร่ต่อปี ปรากฏว่าประเทศอินโดนิเซียประชากรหนึ่งคนสร้างผลผลิตหรือมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 3,510 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปี ประเทศไทย ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละประมาณ 5,674 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปี ประเทศมาเลย์เซีย  ประชากรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ คนละ 10,548 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปี และประเทศสิงคโปร์ ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 54,776 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปี จะเห็นได้ว่าประชาชนสิงคโปร์มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าประชาชนอินโดนิเซีย ถึง 15.6  เท่า มากกว่าคนไทย 9.6 เท่า และมากกว่าคนมาเลย์เซีย  5.1  เท่า
เห็นตัวเลขอย่างนี้แล้วหลายท่านคงอยากอพยพไปอยู่ประเทศสิงคโปร์ แต่ในความเป็นจริง ต้องยอมรับความจริงว่า โดยเฉลี่ยแล้วคุณภาพของคนสิงคโปร์และคนมาเลย์เซียดีกว่าคนไทย เพราะโดยเฉลี่ยแล้วคนของทั้งสองประเทศเขาทำผลิตผลเป็นมูลค่าได้มากกว่าเรา ที่น่าเสียใจคือประเทศมาเลย์เซีย เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ประชาชนมาเลย์เซียก็มีรายได้ต่อคนใกล้เคียงกับประชาชนชาวไทย แต่บัดนี้ประเทศมาเลย์เซียได้พัฒนาคุณภาพประชาชนของเขาให้มีคุณภาพมากขึ้น จนมีรายได้มากกว่าเราถึง 1.85 เท่า และคนมาเลย์เซียมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก
ทำไมประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลย์เซียถึงได้พัฒนาไปไกลกว่าเรา ขอให้คนไทยช่วยกันคิด และประเทศไทยจะต้องทำอย่างไรให้ดีขึ้น ขอให้คนไทยช่วยกันทำ
สิ่งที่ขอทิ้งท้ายให้ช่วยกันคิดและช่วยกันทำคือ จะช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศไทยได้อย่างไร ที่จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำองค์กร สถาบัน นักธุรกิจชั้นนำ ทั่วโลก เขามีความเห็นว่าประเทศไทยมีปัจจัยปัญหาเหล่านี้ในการเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เรียงอันดับปัญหาตั้งแต่มากไปหาน้อย
       

The most problematic factors for doing business


ลำดับ
ปัญหา
คะแนน
1.
คอรัปชั่น
Corruption
21.4
2.
ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล /รัฐประหารGovernment instability/coups
21.0
3.
รัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน
Inefficient government bureaucracy
12.7
4.
นโยบายที่ไม่แน่นอน
Policy instability
11.8
5.
ขาดศักยภาพเรื่องนวัตกรรม
Insufficient capacity to innovate
6.3
6.
โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ
Inadequate supply of infrastructure
6.3
7.
ขาดแรงงานที่มีความรู้
Inadequately educated workforce
6.2
8.
คนงานไม่มีจริยธรรมในการทำงาน
Poor work ethic in national labor force
3.7
9.
การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
Access to financing
3.4
10.
อัตราภาษี
Tax rates
2.6
11.
กฏระเบียบเรื่องภาษี
Tax regulations
2.4
12.
อาชญากรรม และโจรขโมย
Crime and theft
1.0
13.
กฏหมายแรงงานที่มีข้อจำกัด
Restrictive labor regulations
0.5
14.
เงินเฟ้อ
Inflation
0.3
15.
ระบบสาธารณสุขที่ยังไม่ดี
Poor public health
0.3
16.
กฏระเบียบควบคุมเงินตราต่างประเทศ
Foreign currency regulations
0.1


                ปัญหาทั้ง 16 ข้อนี้ ถ้าคนไทยช่วยกันแก้ไขข้อแรกสุดคือ เรื่องคอรัปชั่นได้ ปัญหาที่เหลืออีก 15 ข้อ จะหมดไปในที่สุด รากเหง้าของปัญหาทั้งหมดคือ เรื่องการคอรัปชั่น และจะแก้ไขปัญหาเรื่องการคอรัปชันได้ ต้องมีผู้นำที่มีคุณภาพ
           Dwight D. Eisenhower กล่าวว่า “The supreme quality for leadership is unquestionably integrity. Without it, no real success is possible, no matter whether it is on a section gang, a football field, in an army, or in an office.” คุณภาพสูงสุดของการเป็นผู้นำคือ ความสัตย์ซื่อ ปราศจากความสัตย์ซื่อ ความสำเร็จที่แท้จริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำแก็งค์ในซอย หรือผู้นำทีมฟุตบอล หรือผู้นำในกองทัพ หรือผู้นำในสำนักงาน

          ประเทศไทยจะต้องทำอะไรต่อไปครับ

 

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเป็นเพื่อนทางความคิด และ

ขอบคุณที่ช่วยแนะนำให้เพื่อนรู้จัก


สมชัย ศิริสุจินต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น