วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดรรชนีวัดการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทย

“ผู้ที่ให้แก่คนยากจนจะไม่ขัดสน แต่ผู้ที่เพิกเฉยจะถูกแช่งสาปมาก”
สุภาษิต. 28:27
ดรรชนีวัดการพัฒนามนุษย์ เป็นเครื่องมือที่นักเศรษฐศาสตร์ ชาวปากีสถาน Mahbub ul Haq และนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย Amartya Sen ร่วมกันคิดและเริ่มใช้ในปี 1990 เพื่อเปรียบเทียบระดับการพัฒนาชีวิตของประชากรในประเทศต่างๆ โดยวัดเรื่องหลัก 3 เรื่อง คือ
·      สุขภาพ และการมีอายุยืนของประชากร จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตนับตั้งแต่แรกเกิด
·      การศึกษา จำนวนปีเฉลี่ยที่เรียนในโรงเรียน และจำนวนปีที่คาดว่าจะได้เรียนหนังสือ
·      มาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อประชากร
ดรรชนีจากการคิดคำนวณ นำมาใช้จัดอันดับระดับการพัฒนามนุษย์ของประเทศทั่วโลก และแบ่งกลุ่มประเทศเป็น 4 กลุ่ม
1.           กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมาก
2.           กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูง
3.           กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ปานกลาง
4.           กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ต่ำ
รายงานของสหประชาชาติ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2011 ได้เอาดรรชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศสมาชิก 185 ประเทศ มาจัดอันดับ และเพิ่ม ฮ่องกง และเขตปกครองปาเลสไตส์ เข้ามาด้วย โดยแบ่งเป็น
ดรรชนีอันดับที่ 1ถึง 47 อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมาก
ดรรชนีอันดับที่ 48 ถึง 94 อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูง
ดรรชนีอันดับที่ 95 ถึง 141 อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ปางกลาง
ดรรชนีอันดับที่ 142 ถึง 187 อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ต่ำ
เมื่อดูภาพรวมจำนวนประชากรของโลกแล้ว ประมาณ 51%ของประชากรโลก อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ปานกลาง ประชากรโลก อีกประมาณ 30% อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูง และสูงมาก และมีประชากรโลกอีกประมาณ 18% อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ต่ำ
ตารางข้างล่างนี้เป็นอันดับดรรชนีการพัฒนามนุษย์ของบางประเทศที่ผมอยากนำมาเปรียบเทียบเพื่อทำให้เราเห็นภาพการพัฒนามนุษย์ชัดเจนมากขึ้น

1  Norway
124  Indonesia
128  Vietnam
33  Brunei
134  India
138  Laos
6   Canada
139  Cambodia
101  China
141  Bhutan
12  Japan
103  Thailand
149  Myanmar

จากตารางที่แสดงข้างบนนี้ ประเทศนอรเวย์ เป็นประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์เป็นอันดับสูงสุด  ติดตามด้วยประเทศออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ และบางประเทศที่เรารู้จัก ขอให้พิจารณาประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งหมด ประเทศสิงค์โปร์ และ ประเทศบูรไน เป็นเพียงสองประเทศของกลุ่มอาเซียนที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศเดียวของกลุ่มอาเซียนที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่การพัฒนามนุษย์สูง ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่เหลืออยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ปานกลาง ยกเว้นประเทศพม่า ที่เป็นเพียงประเทศเดียวของกลุ่มอาเซียนที่หลุดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ต่ำ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เช่นประเทศจีน อยู่ในอันดับที่ 101 และประเทศอินเดีย อยู่ในอันดับที่ 138 ซึ่งต่ำกว่าประเทศศรีลังกา ที่อยู่ในอันดับที่ 97 อาจจะกล่าวได้ว่าแม้ประเทศจีน และประเทศอินเดียจะร่ำรวยมากขึ้นในด้านเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีปัญหาในด้านการสาธารณสุข การศึกษาและการกระจายความมั่งคั่งอยู่ ส่วนประเทศภูฐาน ที่เป็นที่รู้จักว่าใช้ดรรชนีวัดความสุขนั้น อยู่ในอันดับ 141
จุดประสงค์ที่ผมทำตารางจัดอันดับนี้เพื่อเปรียบเทียบสถานะของการพัฒนามนุษย์ของประเทศกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ เพื่อชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งใดของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เนื่องจากเป้าหมายของการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประการหนึ่งคือการสร้างความเท่าเทียมกันของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน และลดช่องว่างความแตกต่างห่างกันในกลุ่มอาเซียน
ดูจากดรรชนีการพัฒนามนุษย์ ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังคงมีช่องว่างกว้างในการพัฒนามนุษย์ของกลุ่มประเทศสมาชิก และเราต้องยอมรับความจริงว่า  ประเทศไทยคงไม่สามารถไล่ตามประเทศสิงค์โปร์ บูรไน และมาเลเซีย ทันแน่ ใน 10 ปีข้างหน้า ดังนั้นประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรไทยซึ่งเป็นเรื่องท้าทายประชาชนชาวไทยทุกคนให้ต้องมุ่งสู่การพัฒนามนุษย์เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย ในด้าน
·      สุขภาพ ประชาชนชาวไทยต้องปรับปรุงสุขภาวะให้ดีกว่านี้ เพื่อที่จะมีอายุที่ยืนยาวขึ้น ประชาชนชาวไทยต้องรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรค รู้จักการดูแลรักษาตนเองทั้งกายและใจ รู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีวิถีชีวิตโดยรวมที่มีสุขภาพดียิ่งขึ้น
·      การศึกษา ประชาชนชาวไทยต้องมีการศึกษาที่ดีกว่านี้ เด็กไทยต้องได้เรียนหนังสือในโรงเรียน และไม่ออกจากโรงเรียนกลางคันก่อนจบหลักสูตร พลเมืองไทยต้องอ่านเขียนหนังสือได้ทุกคน และคุณภาพการศึกษาของไทยจะต้องดียิ่งขึ้น
·      เศรษฐกิจ ประชาชนชาวไทยต้องมีความสามารถในการทำงานที่มีคุณภาพมากขึ้น มีทักษะในวิชาชีพ สูงขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิต และทำให้ผลผลิตมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เมื่อนั้นรายได้เฉลี่ยต่อประชากรจึงจะสูงขึ้น
คำถามชวนคิดที่จะถามท่านคือ
Uคริสตจักรไทย ตอบสนองอย่างไรเมื่อเห็นความแตกต่างกันในการพัฒนามนุษย์?
Uอะไรคือความรับผิดชอบของคริสตจักรไทย ในการช่วยเหลือการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย?
Uคริสตจักรชั้นนำของไทยในเมืองใหญ่ จะช่วยลดช่องว่างความแตกต่างในการพัฒนามนุษย์ระหว่างคริสตจักรใหญ่ในเมืองกับคริสตจักรเล็กในชนบทได้อย่างไร?
Uอะไรคือบทบาทที่เหมาะสมของโรงเรียน สถาบันการศึกษา และโรงพยาบาลคริสเตียน ในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนชาวไทย?
แม่ชี Teresa กล่าวว่า “บางครั้งเราคิดว่าความยากจนคือความหิวโหย ไม่มีเสื้อผ้า และที่อยู่อาศัยเท่านั้น ความยากจนของการเป็นที่ไม่ต้องการ ไม่มีใครรักและใส่ใจคือความยากจนที่ยิ่งใหญ่สุด เราจะต้องเริ่มต้นที่ครอบครัวของเรา ในการเยียวยาความยากจนประเภทนี้”
 ครับL อาเมน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น