วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (11)



“Wisdom is more valuable than jewels; nothing you could want can compare with it.”                         Proverbs 3:15

       เทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปเรียบร้อยแล้ว และคนไทยก็เหมือนคนชาติอื่นๆได้ตกเป็นทาสของเทคโนโลยีไปโดยไม่รู้ตัว เพราะต้องพึ่งเทคโนโลยีตั้งแต่เวลาลืมตาตื่นจนถึงเวลาปิดตานอน แม้ในขณะนอนหลับก็ยังต้องพึ่งเทคโนโลยี จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่เรื่องการมีพร้อมใช้ของเทคโนโลยีของประเทศได้กลายเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
          ระบบเทคโนโลยีทางการสื่อสารของประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ยุค 4G กันแล้ว ภายในสิ้นปีนี้การใช้ 4G คงจะกระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขึดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทยมากขึ้น เพราะการทำธุรกิจการค้าทุกอย่างต้องอาศัยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพดี มีคุณภาพสูง และมีราคาที่สามารถแข่งขันได้ด้วย

 
รากฐาน PILLAR
 
ตัวเพิ่มประสิทธิภาพ
EFFICIENCY ENHANCERS
การศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม
5. Higher education and training
ประสิทธิภาพตลาดสินค้า
6. Goods market efficiency
 
ประสิทธิภาพตลาดแรงงาน
7. Labor market efficiency
 
การพัฒนาตลาดการเงิน
8. Financial market development
ความพร้อมของเทคโนโลยี
9.Technological readiness
ขนาด
ตลาด
10. Market
size
ประเทศ/เศรษฐกิจ
Country/
Economy
 
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
Cambodia  
100
3.65
123
2.92
90
4.17
29
4.63
84
3.80
102
3.02
87
3.31
Indonesia
46
4.38
61
4.53
48
4.54
110
3.81
42
4.45
77
3.58
15
5.34
Lao PDR   
107
3.58
110
3.28
59
4.41
34
4.59
101
3.69
115
2.83
121
2.67
Malaysia    
24
4.95
46
4.80
7
5.42
19
4.80
4
5.60
60
4.18
26
4.90
Myanmar 
134
3.11
135
2.44
130
3.68
72
4.21
139
2.58
144
2.07
70
3.70
Philippines  
58
4.27
64
4.45
70
4.32
91
4.03
49
4.37
69
3.78
35
4.68
Singapore  
2
5.68
2
6.09
1
5.64
2
5.69
2
5.84
7
6.09
31
4.71
Thailand  
39
4.53
59
4.58
30
4.74
66
4.24
34
4.61
65
3.94
22
5.09
Vietnam   
74
3.99
96
3.74
78
4.24
49
4.37
90
3.77
99
3.12
34
4.69

มาพิจารณารากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยรากฐานต่อไป คือรากฐานที่ 9 เรื่องความพร้อมของเทคโนโลยี (Technological readiness) ซึ่งเป็นอีกรากฐานหนึ่งที่สำคัญมากในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ สำคัญมากจนรัฐบาลปัจจุบันชูนโยบายเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital economy) เป็นตัวหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งต้องพึ่งความพร้อมของระบบเทคโนโลยีเป็นหลัก เพราะถ้าประเทศยังไม่มีเทคโนโลยีที่สูงและทันสมัยมากพอ หรือมีเทคโนโลยีเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ หรือมีเทคโนโลยีไม่เพียงต่อความต้องการใช้ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ประเทศก็จะยังไม่พร้อมที่จะก้าวไปเป็นประเทศเศรษฐกิจดิจิตอลได้
ในรากฐานที่ 9 เรื่องความพร้อมทางเทคโนโลยีที่จะทำให้ประเทศสามารถแข่งขันได้นี้ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 65 ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 7 โดยมีประเทศมาเลเซีย นำหน้าประเทศไทยอยู่เล็กน้อยคืออยู่ในอันดับที่ 60 ห่างกันเพียง 5 อันดับ ซึ่งประเทศไทยยังพอที่จะไล่ตามทัน และมีประเทศฟิลิปปินส์ไล่ตามหลังประเทศไทยอยู่อันดับที่ 69 ส่วนประเทศอินโดนีเซียอยู่อันดับที่ 77 ในขณะที่ประเทศเวียตนามอยู่อันดับที่ 99 ส่วนประเทศที่เหลือในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียอยู่ในอันดับเกิน100 ได้แก่ประเทศกัมพูชา อันดับที่ 102 ประเทศลาวอันดับที่115 และประเทศพม่าอยู่รั้งท้ายอันดับที่144
สงสัยว่าทำไมประเทศไทยถึงได้อันดับที่ 65 ก็ต้องมาดูปัจจัยด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเทคโนโลยีที่ผู้ศึกษาได้ทำการสำรวจให้คะแนน และจัดอันดับเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆตามคะแนนที่ได้รับจากการสำรวจ ประเทศไทยได้คะแนนและอันดับในปัจจัยต่างๆทางเทคโนโลยีอย่างไรบ้าง


รากฐานที่ 9 ความพร้อมของเทคโนโลยี (Technological readiness)


เรื่อง
คะแนน
Value
อันดับของประเทศไทย
Rank
การมีให้บริการของเทคโนโลยีล่าสุด
Availability of latest technologies
4.7
74
ระดับการนำเทคโนโลยีไปใช้ในบริษัท
Firm-level technology absorption
4.9
55
การลงทุนทางการเงินโดยตรงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
FDI and technology transfer
5.2
15
ร้อยละจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตส่วนบุคคล
Individuals using Internet, %*
28.9
96
จำนวนสมาชิกผู้ลงทะเบียนใช้ประจำอินเตอร์เนตความเร็วสูงต่อประชากร 100 คน
Fixed broadband Internet subscriptions/100 pop.*
7.4
72
ความกว้างของช่องรับส่งอินเตอร์เนตกับต่างประเทศ
Intl Internet bandwidth, kb/s per user*
37.4
65
จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเตอร์เนตความเร็วสูงทางโทรศัพท์มือถือต่อประชากร 100 คน
Mobile broadband subscriptions/100 pop.
52.3
38


          อันดับที่ดีที่สุดของประเทศไทยในเรื่องความพร้อมทางเทคโนโลยี คือ เรื่องการลงทุนโดยตรงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งได้อันดับที่ 15 แสดงว่าประเทศไทยมีการใช้เงินลงทุนทางเทคโนโลยีมากพอสมควร และเปิดรับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่าอยู่ในขั้นเห่อเทคโนโลยีมาก และเกาะกระแสแฟชั่นทางเทคโนโลยีอย่างไม่ยอมล้าหลังใคร ส่วนเรื่องคุณภาพกับสาระการใช้เทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุดให้คุ้มค่าการลงทุนนั้นไม่ค่อยแน่ใจ เพราะเห็นคนรอบๆตัวซื้อเทคโนโลยีล่าสุดราคาเป็นหมื่นมาเล่น line ส่ง sticker ถ่ายรูปหน้าตนเอง และทำพิธีกรรมถ่ายรูปอาหารก่อนกิน เป็นหลัก
          อันดับที่ดีถัดมาเรื่องเทคโนโลยีของไทยหล่นไปอยู่อันดับที่ 38 เรื่องจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเตอร์เนตความเร็วสูงทางโทรศัพท์มือถือต่อประชากร 100 คน เข้าใจว่าตัวเลขที่ผู้ศึกษาใช้คือเมื่อ 3-4 ปีก่อน ปัจจุบันอันดับของไทยน่าจะดีขึ้นมากเพราะเครือข่ายอินเตอร์เนตความเร็วสูงของประเทศไทยพัฒนาดีขึ้นทุกปี
สำหรับเรื่องระดับการนำเทคโนโลยีไปใช้ในบริษัท ประเทศไทยอยู่อันดับที่55 เรื่องนี้คงต้องยอมรับว่าการลงทุนทางเทคโนโลยีในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต้องใช้เงินมากพอสมควร มีแต่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีความสามารถทางการเงินสามารถลงทุนทางเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเป็นกอบเป็นกำ ส่วนธุรกิจระดับ SME ซึ่งเป็นจำนวนใหญ่ของประเทศยังมีข้อจำกัดในการลงทุนทางเทคโนโลยี เนื่องจากเทคโนโลยีเกือบทั้งหมดเราต้องซื้อจากต่างประเทศในราคาค่อนข้างแพงเพราะประเทศไทยยังไม่เข้มแข็งในเรื่องการวิจัยพัฒนาดีพอ ทำให้ไม่มีนวัตกรรมใหม่ทางเทคโนโลยีของตนเอง จึงต้องซื้อหาราคาแพงจากต่างประเทศ
เรื่องสำคัญประการต่อมาคือเรื่องความกว้างของช่องรับส่งอินเตอร์เนตกับต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยอยู่อันดับที่ 65 เรื่องนี้ได้ยินนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทยบ่นอยู่บ้างว่าช้า กว่าจะรับส่งรูป ส่ง File ได้เสียเวลาเป็นนาที เมื่อคนใช้สัญญานสื่อสารมากขึ้นถ้าเส้นทางให้สัญญานวิ่งยังกว้างเท่าเดิม สัญญานก็ต้องวิ่งช้าลงเหมือนรถติดตามถนนนั่นแหละ เรื่องนี้ผู้ลงทุนขยายงานไม่ทันผู้ใช้  
สำหรับเรื่องจำนวนสมาชิกผู้ลงทะเบียนใช้ประจำอินเตอร์เนต ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 72 คิดว่าตัวเลขปัจจุบันน่าจะมีผู้ลงทะเบียนใช้ประจำอินเตอร์เนตมากขึ้น ตามด้วยเรื่องการมีให้บริการของเทคโนโลยีล่าสุด ที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 74 เรื่องนี้ก็เช่นกัน คิดว่าตัวเลขปัจจุบันจะดีมากขึ้นเพราะราคาเทคโนโลยีต่ำลงการมีให้บริการย่อมมีมากขึ้น
สุดท้ายเรื่องร้อยละจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตส่วนบุคคล ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 96 ตัวเลขจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตของประเทศไทยน่าจะดีมากขึ้นในปัจจุบันเพราะคนไทยใช้กันมากขึ้น เพียงแต่หวังว่าการใช้อินเตอร์เนตส่วนบุคคลของคนไทยจะมีคุณภาพมากกว่าปริมาณ คือรู้จักใช้ไปในเชิงที่มีสาระประโยชน์ทางความรู้มากยิ่งขึ้น และใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมากขึ้น
Bill Gates ผู้ทรงอิทธิพลทางเทคโนโลยีคนหนึ่งกล่าวว่า The first rule of any technology used in a business is that automation applied to an efficient operation will magnify the efficiency. The second is that automation applied to an inefficient operation will magnify the inefficiency.” กฏข้อที่หนึ่งของการใช้เทคโนโลยีใดๆในธุรกิจคือการนำระบบอัตโนมัติไปประยุกต์ใช้ในระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ กฏข้อที่สองคือ ถ้านำระบบอัตโนมัติไปประยุกต์ใช้ในระบบการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพจะยิ่งทำให้ความไม่มีประสิทธิภาพขยายผลมากขึ้น
หน่วยงานหลายแห่งลงทุนซื้อเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นระบบอัตโนมัติมาใช้ หวังที่จะลดคน ลดขั้นตอน ลดเวลา ลดความผิดพลาด ลดกระดาษ ลดค่าใช้จ่าย แต่ระบบการบริหารจัดการไม่แข็งแรง และวัฒนธรรมองค์กรไม่ตอบสนองการใช้เทคโนโลยี ผลสุดท้ายก็คือได้ภาพพจน์ความทันสมัยในการใช้เทคโนโลยี แต่ประสิทธิภาพการทำงานของคนยังไม่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม
Pope Paul VI กล่าวว่า Technological society has succeeded in multiplying the opportunities for pleasure, but it has great difficulty in generating joy.” สังคมเทคโนโลยีได้ประสบความสำเร็จในการทวีโอกาสสำหรับความเพลิดเพลินใจ แต่มีความยากลำบากยิ่งในการให้ความสุขใจ

ใช้เทคโนโลยีด้วยความเข้าใจและระมัดระวังหน่อยนะครับ

 

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเป็นเพื่อนทางความคิด และ

ขอบคุณที่ช่วยแนะนำให้เพื่อนอ่านต่อที่


สมชัย ศิริสุจินต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น