วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (3)



“The mount of the righteous bring forth wisdom; but the perverse tongue shall be cut off.”             Proverbs 10:31

ได้เขียนเรื่องความสามารถในการแข่งขันของไทยไปแล้ว 2 ตอน ต้องขอบอกก่อนว่าข้อมูลที่นำมาเขียนได้มาจากรายงานชื่อ Insight Report; The Global Competitiveness Report 2014-2015 โดย Klaus Schwab, World Economic Forum ซึ่งมีความหนา 565 หน้า เป็นรายงานการศึกษาประเด็นเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศต่างๆทั่วโลก 144 ประเทศ เสียดายที่ข้อมูลประเทศ Brunei Darussalam ที่อยู่ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังไม่ครบถ้วนจึงยังไม่ได้รวมอยู่ในรายงานนี้ ข้อมูลที่เขานำมาศึกษามาจากหน่วยงานสถาบันนานาชาติที่คนยอมรับทั่วโลก เช่น UNESCO, IMF และ WHO  รายงานนี้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์และนำไปวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
ตั้งใจนำเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาเขียนต่อเนื่องเพราะอยากจะให้คนไทยสนใจเรื่องข้อมูลของประเทศตนเองและประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ประเทศไทยอยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงต้องรู้ว่าในเวลานี้ประเทศไทยเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และนานาชาติ เท่าที่ติดตามเรื่องอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย จะมีข่าวว่าประเทศไทยมีอันดับที่ดีขึ้นหรือลดลงกี่อันดับเมื่อมีการเผยแพร่ Review of the Global Competitiveness Index อยู่ไม่กี่วันแล้วก็เงียบหายไป ไม่ค่อยได้เห็นความสนใจอย่างจริงจัง หรือมีการพูดถึงรายละเอียดเพิ่มเติมกันมากนัก ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนต้องสนใจ และศึกษาเพื่อช่วยกันพัฒนาแก้ไขจุดอ่อน และส่งเสริมสนับสนุนจุดแข็งความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
วันนี้จึงขอนำเสนออันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศประจำปี 2014-2015 (The Global Competitiveness Index 2014–2015) โดยขอนำเสนอเฉพาะอันดับที่ 1 ถึง 30 และอันดับของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน (AEC) มาให้ท่านพิจารณา ถ้าท่านต้องการทราบอันดับความสามารถในการแข่งขันของทั้ง 144 ประเทศ ท่านสามารถเข้าไปศึกษาได้ในรายงานที่แนะนำไว้ข้างต้นครับ
ตารางแสดงอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศปี 2014-2015

Country/Economy
ประเทศ/เศรษฐกิจ
Rank
(out of 144)
อันดับ
(จาก 144)
Score
(1–7)
คะแนน
(1-7)
GCI 2013– 2014
อันดับเมื่อปี
2013-2014
Switzerland
1
5.70
1
Singapore
2
5.65
2
United States
3
5.54
5
Finland
4
5.50
3
Germany
5
5.49
4
Japan
6
5.47
9
Hong Kong SAR
7
5.46
7
Netherlands
8
5.45
8
United Kingdom
9
5.41
10
Sweden
10
5.41
6
Norway
11
5.35
11
United Arab Emirates
12
5.33
19
Denmark
13
5.29
15
Taiwan, China
14
5.25
12
Canada
15
5.24
14
Qatar
16
5.24
13
New Zealand
17
5.20
18
Belgium
18
5.18
17
Luxembourg
19
5.17
22
Malaysia
20
5.16
24
Austria
21
5.16
16
Australia
22
5.08
21
France
23
5.08
23
Saudi Arabia
24
5.06
20
Ireland
25
4.98
28
Korea, Rep.
26
4.96
25
Israel
27
4.95
27
China
28
4.89
29
Estonia
29
4.71
32
Iceland
30
4.71
31
Thailand
31
4.66
37
Indonesia
34
4.57
38
Philippines 
52
4.40
59
Vietnam  
68
4.23
70
Lao PDR
93
3.91
81
Cambodia  
95
3.89
88
Myanmar
134
3.24
139
 

เมื่อดูอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยกันแล้ว ประเทศสิงคโปร์ ยังคงรักษาอันดับความสามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับที่ 2 ได้เหมือนเดิม เช่นเดียวกับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่ยังครองแชมป์ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับที่ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ประเทศมาเลเซียไต่ขึ้นไปอยู่ที่อันดับที่ 20 ดีกว่าเดิมที่อยู่อันดับ 24 โดยมีประเทศไทยไล่หลังมาอยู่อันดับที่ 31 ดีกว่าเดิมที่อยู่ในอันดับที่ 37 ประเทศอินโดนีเซียจี้ตามประเทศไทยมาติดๆอยู่ในอันดับที่ 34 ดีกว่าเดิมที่อยู่ในอันดับที่ 38 ประเทศฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 52 ดีกว่าเดิมที่อยู่อันดับที่ 59 ประเทศเวียตนามอยู่ที่อันดับ 68 ดีกว่าเดิมที่อยู่ที่อันดับ 70 ส่วนประเทศลาวอยู่อันดับที่ 93 แย่กว่าเดิมที่อยู่ที่อันดับ 81 เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาที่เดิมอยู่ที่อันดับ 88 ปีนี้หล่นลงมาอยู่ที่อันดับ 95 สำหรับประเทศพม่าดีขึ้นจากที่เคยอยู่ในอันดับที่ 139 พัฒนาขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 134 โดยภาพรวมประเทศในกลุ่ม AEC มีการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น ยกเว้นเพียงประเทศลาวและกัมพูชา ที่อันดับลดลง
การที่ประเทศต่างๆถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้นหรือแย่ลง เขาดูจากคะแนนของรากฐานความแข็งแรงของความสามารถในการแข่งขัน 12 ด้าน และการมีปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งได้เขียนอธิบายไปใน 2 ตอนที่แล้ว แต่ละรากฐาน (Pillar) มีความสำคัญและส่งเสริมต่อกันในการพัฒนาความสามารถในการแข่งของประเทศในปัจจุบันไปสู่อนาคต

ตารางแสดงอันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวม
กับอันดับความสามารถในการแข่งขัน ในด้าน ปัจจัยความต้องการพื้นฐาน  ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  นวัตกรรมและความช่ำชอง

 
ดรรชนีโดยรวม
Overall Index
ปัจจัยต้องการพื้นฐานBasic requirements
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
Efficiency enhancers
นวัตกรรมและความช่ำชอง
Innovation and sophistication
ประเทศ/เศรษฐกิจCountry/Economy
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนน
Score
Singapore
2
5.65
1
6.34
2
5.68
11
5.13
Malaysia
20
5.16
23
5.53
24
4.95
17
4.95
Thailand
31
4.66
40
5.01
39
4.53
54
3.84
Indonesia
34
4.57
46
4.91
46
4.38
30
4.20
Philippines  
52
4.40
66
4.63
58
4.27
48
3.90
Vietnam 
68
4.23
79
4.44
74
3.99
98
3.35
Lao PDR 
93
3.91
98
4.13
107
3.58
80
3.51
Cambodia  
95
3.89
103
4.09
100
3.65
116
3.15
Myanmar
134
3.24
132
3.36
134
3.11
139
2.62

ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันโดยรวมอยู่อันดับที่ 31 ในจำนวน 144 ประเทศ และมีความสามารถในการแข่งขันเรื่องปัจจัยพื้นฐาน อยู่ในอันดับที่ 40 แพ้ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับ 1 และประเทศมาเลเซียที่อยู่ในอันดับ 24 ส่วนเรื่องความสามารถในการแข่งขันด้านปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 39 ประเทศมาเลเซียอยู่อันดับที่ 24 ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับ 2 และความสามารถในการแข่งขันเรื่องนวัตกรรมและความช่ำชอง ประเทศไทยหล่นลงไปอยู่อันดับ 54 ในขณะที่ ประเทศมาเลเซีย อยู่ลำดับที่ 17 ประเทศสิงคโปร์อยู่ลำดับที่ 11 ความสามารถในการแข่งขันด้านนี้ประเทศไทยน่าเป็นห่วงเพราะยังแพ้ประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ในอันดับที่  30 และ ประเทศฟิลิปปินส์ที่อยู่ในอำดับที่ 48 ประเทศไทยจะต้องรีบทำการแก้ไขความสามารถในการแข่งขันในเรื่องการมีนวัตกรรมและสร้างความช่ำชองเชี่ยวชาญให้ดีขึ้น เพื่อสามารถก้าวขึ้นไปผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และทำรายได้ให้มากขึ้น
            ที่นำเรื่องอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยมานำเสนอเพราะเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับอนาคตของประเทศ ถ้าความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ยังพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่นๆ ลูกหลานของเราในอนาคตจะอยู่อย่างลำบาก เมื่อไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้
เมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย มีระดับการศึกษา ระดับเศรษฐกิจ ระดับความสามารถในการผลิตอยู่ในระดับเดียวกัน การผลิตบางด้านประเทศไทยนำหน้าประเทศมาเลเซียด้วยซ้ำไป แต่ปัจจุบันนี้ ประเทศมาเลเซียนำหน้าประเทศไทยไปมากพอสมควรแล้ว และมีประเทศที่ตามหลังประเทศไทยอย่างห่างไกลในอดีต กำลังขยับเข้ามาใกล้ประเทศไทยมากขึ้น ถ้าเราไม่เร่งการพัฒนาความสามารถของประเทศในเวลานี้ เราจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ
Jack Welch ผู้นำและนักบริหารที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคนหนึ่งซึ่งนักบริหารทั่วโลกโลกชื่นชมกล่าวว่า “If you don't have a competitive advantage, don't compete.” ถ้าคุณไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน อย่าแข่ง

คำพูดนี้แรงและจริง แต่ประเทศไทยไม่สามารถอยู่โดยไม่แข่งขันกับประเทศอื่นได้นะครับ


ขอบคุณที่อ่านและช่วยเผยแพร่ แนะนำให้เพื่อนอ่าน

สมชัย ศิริสุจินต์


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น