“Righteous
people know the kind thing to say, but the wicked are always saying things that
hurt.” Proverbs 10:32
ได้นำเสนอเรื่องความสามารถของประเทศไทยโดยภาพรวมในประชาคมโลกและเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(AEC) ด้วยกันไปแล้ว เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า ประเทศไทยในปัจจุบันนี้
อยู่ในตำแหน่งลำดับที่เท่าไหร่ในประเทศกลุ่ม AEC รวมทั้งรู้ว่าประเทศไทยมีคะแนนและตำแหน่งลำดับที่เท่าไหร่ในด้าน
ปัจจัยความต้องการพื้นฐาน ด้านประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
และด้านนวัตกรรมและความช่ำชองของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
เพื่อให้ท่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ขอนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมที่เจาะลึกลงไปในรากฐานความสามารถในการแข่งขันในแต่ะเรื่องซึ่งคณะผู้ศึกษาได้จัดตำแหน่งตามคะแนนของรากฐานความสามารถในการแข่งขันแต่ละเรื่อง
ขอนำมาเปรียบเทียบเฉพาะกลุ่มประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้น
ท่านที่สนใจจะไปลงทุน หรือทำธุรกิจกับประเทศอื่นๆนอกเหนือจากที่นำเสนอนี้ สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่รายงาน
The
Global Competitiveness Index 2014–2015 ซึ่งมีข้อมูลในรายละเอียดของประเทศต่างๆอีกมาก
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มแรกคือเรื่อง
ปัจจัยต้องการพื้นฐาน (Basic Requirements) มีรากฐานสำคัญ
4 รากฐานคือ (1) สถาบัน (2) โครงสร้างพื้นฐาน (3)
สภาพเศรษฐกิจมหภาค และ (4)
สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งแต่ละรากฐานมีความสำคัญต่อการทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน
และประเทศไทยมีคะแนนและอันดับที่แตกต่างกันในแต่ละรากฐานดังนี้
รากฐาน Pillar
|
|||||||||||
ปัจจัยต้องการพื้นฐาน
BASIC REQUIREMENTS
|
สถาบัน
1.Institutions
|
โครงสร้างพื้นฐาน2.Infrastructure
|
เศรษฐกิจมหภาค3.Macroeconomic
environment
|
สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น
4.Health and primary education
|
|||||||
ประเทศ/เศรษฐกิจCountry/Economy
|
ตำแหน่ง
Rank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
|
Cambodia
|
103
|
4.09
|
119
|
3.25
|
107
|
3.05
|
80
|
4.60
|
91
|
5.44
|
|
Indonesia
|
46
|
4.91
|
53
|
4.11
|
56
|
4.37
|
34
|
5.48
|
74
|
5.67
|
|
Lao
PDR
|
98
|
4.13
|
63
|
3.92
|
94
|
3.38
|
124
|
3.78
|
90
|
5.44
|
|
Malaysia
|
23
|
5.53
|
20
|
5.11
|
25
|
5.46
|
44
|
5.26
|
33
|
6.28
|
|
Myanmar
|
132
|
3.36
|
136
|
2.80
|
137
|
2.05
|
116
|
4.00
|
117
|
4.59
|
|
Philippines
|
66
|
4.63
|
67
|
3.86
|
91
|
3.49
|
26
|
5.76
|
92
|
5.41
|
|
Singapore
|
1
|
6.34
|
3
|
5.98
|
2
|
6.54
|
15
|
6.13
|
3
|
6.73
|
|
Thailand
|
40
|
5.01
|
84
|
3.66
|
48
|
4.58
|
19
|
6.01
|
66
|
5.80
|
|
Vietnam
|
79
|
4.44
|
92
|
3.51
|
81
|
3.74
|
75
|
4.66
|
61
|
5.86
|
|
ในด้าน
ปัจจัยที่ต้องการพื้นฐานนี้ ประเทศไทย ได้คะแนนรวมที่ 5.01 อยู่ในอันดับที่ 40 แพ้ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่อันดับที่
1 มีคะแนน 6.34
และประเทศมาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับที่ 23 มีคะแนน 5.53
ประเทศในกลุ่ม AEC ที่ได้อันดับแย่ที่สุดคือประเทศพม่าที่อยู่ในอันดับที่ 132 ได้คะแนน 3.36
สำหรับรากฐานแรกของด้านปัจจัยต้องการพื้นฐาน
คือเรื่องสถาบัน (Institutions)
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 84 ได้คะแนน 3.66 รากฐานเรื่องสถาบันนี้ประเทศไทยแพ้ ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับที่ 3 ประเทศมาเลเซียอันดับที่ 20 ประเทศอินโดนีเซียอันดับที่
53 ประเทศลาว อันดับที่ 63 และประเทศฟิลิปปินส์ อันดับที่ 67 ดีกว่าประเทศเวียตนามที่อยู่อันดับที่
92 ประเทศกัมพูชา อยู่อันดับที่ 119 และประเทศพม่า อยู่อันดับที่ 136
การที่ประเทศไทยได้คะแนนในรากฐานแรกเรื่องสถาบัน (Institutions) 3.66 คะแนน
และอยู่ในอันดับที่ 84 นั้น มาจากการศึกษาที่เจาะลึกลงไปในเรื่องต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของรากฐานเรื่องสถาบันอีก
20 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของหน่วยงานและองค์กรต่างๆของรัฐบาล
ซึ่งมีอำนาจ มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญ ในการผลักดันให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน
เนื่องจากเป็นผู้กำหนดนโยบาย ออกกฏหมาย และบังคับใช้กฏหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อการลงทุน
การประกอบธุรกิจ และการดำเนินชีวิตในสังคม
เรื่องสถาบัน
(Institutions) ที่เป็นรากฐานแรกของความสามารถในการแข่งขันนี้ ประเทศไทยได้คะแนนและมีอันดับในแต่ละเรื่องดังนี้
1. รากฐานเรื่องสถาบัน
(Institutions)
เรื่อง
|
คะแนน
Value
|
ตำแหน่งของประเทศไทย
Rank |
สิทธิทางทรัพย์สิน
Property
rights
|
4.1
|
72
|
การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
Intellectual
property protection
|
3.1
|
104
|
การกระจายงบประมาณสาธารณะ
Diversion
of public funds
|
2.6
|
108
|
ความเชื่อถือของสาธาณะต่อนักการเมือง
Public
trust in politicians
|
1.9
|
129
|
การจ่ายเงินไม่ถูกต้องและให้สินบน
Irregular
payments and bribes
|
3.7
|
84
|
ความเป็นอิสระของระบบศาล
Judicial
independence
|
3.8
|
68
|
การใช้พวกพ้องนิยมในระบบราชการ
Favoritism
in decisions of government officials
|
2.8
|
88
|
ความสูญเปล่าในการใช้เงินงบประมาณของรัฐบาล
Wastefulness
of government spending
|
2.5
|
115
|
กฏหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับของรัฐบาลที่สร้างภาระ
Burden
of government regulation
|
3.3
|
89
|
ความมีประสิทธิภาพในการยุติเรื่องขัดแย้งทางกฏหมาย
Efficiency
of legal framework in settling disputes
|
3.8
|
62
|
ความมีประสิทธิภาพในการจัดการแก้ไขกฎระเบียบ
Efficiency
of legal framework in challenging regs
|
3.3
|
72
|
ความโปร่งใสในการจัดทำนโยบายของรัฐบาล
Transparency
of government policymaking
|
3.7
|
100
|
ต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องผู้ก่อการร้าย
Business
costs of terrorism
|
4.1
|
121
|
ต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องอาชญากรรมและความรุนแรง
Business
costs of crime and violence
|
4.2
|
84
|
การก่ออาชญากรรม
Organized
crime
|
4.5
|
89
|
ความน่าเชื่อถือในทำงานของตำรวจ
Reliability
of police services
|
3.2
|
113
|
พฤติกรรมจริยธรรมของบริษัทธุรกิจ
Ethical
behavior of firms
|
3.7
|
92
|
ความเข้มแข็งของมาตรฐานการตรวจสอบบัญชีและการรายงาน
Strength
of auditing and reporting standards
|
5.1
|
47
|
ความมีประสิทธิภาพของกรรมการอำนวยการขององค์กร
Efficacy
of corporate boards
|
4.7
|
60
|
การคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกลุ่มน้อย
Protection
of minority shareholders’ interests
|
4.9
|
25
|
ความเข้มแข็งของการคุ้มครองผู้ลงทุน
Strength
of investor protection, 0–10 (best)
|
7.7
|
12
|
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้คะแนนค่อนข้างต่ำหลายเรื่องในรากฐานแรกเรื่องสถาบันที่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับรัฐบาล
หน่วยงาน องค์กรของรัฐบาล การทำงานของระบบราชการในการบริหารจัดการกฏหมายให้มีประสิทธิภาพ
และให้มีความเท่าเทียมกันในการใช้บังคับกฏหมาย โดยไม่ใช้ข้อกฏหมายในการหาประโยชน์
อันดับที่ดีที่สุดในรากฐานนี้ของประเทศไทยคือ เรื่องการคุ้มครองนักลงทุน
ที่ได้คะแนน 7.7 ใน10 คะแนน อยู่ในอันดับที่
12 เรื่องอื่นๆที่เป็นส่วนประกอบของรากฐานนี้คะแนนของประเทศไทยไม่ค่อยน่าประทับใจ
และมีหลายเรื่องที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับเกิน 100 เช่น เรื่องความโปร่งใสในการจัดทำนโยบายของรัฐบาล เรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่องการกระจายงบประมาณสาธารณะ เรื่องความน่าเชื่อถือในการทำงานของตำรวจไทย
เรื่องความสูญเปล่าในการใช้เงินงบประมาณของรัฐบาล เรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย
และเรื่องที่แย่ที่สุดในรากฐานนี้คือ เรื่องความเชื่อถือของสาธารณะต่อนักการเมือง
ซึ่งประเทศไทยได้คะแนนเพียง 1.9 อยู่ในอันดับที่ 129 ในจำนวน 144 ประเทศ
คะแนนและอันดับของประเทศไทยที่ได้นำเสนอนี้เป็นมุมมอง ความคิด และความเข้าใจของคณะผู้ศึกษาที่มาจากหลายประเทศ
และเก็บข้อมูลจากผู้คนหลายภาคส่วน ซึ่งเป็นความจริงที่ยากจะปฏิเสธได้ ถ้าไม่อคติลำเอียงเข้าข้างตนเอง
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องแสวงหาเหตุผลไปโต้แย้งรายงานนี้ แต่อยากให้คนไทยหันกลับมาสำรวจตนเองเพื่อหาโอกาสแก้ไขและพัฒนาให้สิ่งที่เป็นข้อด้อยให้ลดน้อยลง
เพื่อทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยดีขึ้น และถ้าพิจารณาให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าเรื่องที่เป็นข้อด้อยส่วนใหญ่ในรากฐานนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากความอ่อนแอทางจริยธรรมของสังคมไทย
ที่มีความคิดและทัศนคติว่าเรื่องความไม่โปร่งใส ใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์
ให้ตนเองและพวกพ้อง การโกงกินเงินงบประมาณเป็นเรื่องปกติที่สังคมไทยยอมรับได้
ซึ่งเป็นความคิดและทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง และสังคมโลกส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว
ไม่ยอมรับทัศนะคติที่ไม่เป็นธรรมนี้ และบางประเทศรังเกียจเรื่องความไม่ถูกต้องนี้อย่างรุนแรง
Dalai Lama กล่าวว่า “A lack
of transparency results in distrust and a deep sense of insecurity.” การขาดความโปร่งใสเป็นผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจและความรู้สึกอย่างลึกถึงความไม่ปลอดภัย
ถ้าสังคมโลกมีความรู้สึกว่า ประเทศไทยยังไม่มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการเรื่องต่างๆในสังคม
เขาจะเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจและไม่มั่นใจว่ามีความปลอดภัยในการเข้ามาทำธุรกิจ
หรือลงทุนในประเทศไทย
จึงเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
รากฐานจริยธรรมของสังคมเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก เพราะความสำคัญไม่ใช่อยู่ที่เรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
แต่อยู่ที่เรื่องรากฐานจริยธรรมที่ทำให้สังคมมีและดำรงความถูกต้องเป็นธรรม ซึ่งทำให้สังคมมีความสงบสุขและเป็นสุข
ในอดีต สังคมไทยมีรากฐานทางจริยธรรมที่แข็งแรงมาก คนไทยเคารพตัวเองและเคารพผู้อื่น
ไม่เอาเปรียบเบียดบังกัน และรู้จักเกรงกลัวต่อบาป สังคมไทยในอดีตจึงอยู่กันอย่างเป็นสุข
ไม่ต้องมีรั้วบ้าน วางสิ่งของไว้ได้ทุกที่ไม่ต้องกลัวหาย จริยธรรมสอนให้คนไทยเคารพศักดิ์ศรีของตนเองและรักษาศักดิ์ศรีของครอบครัววงศ์ตระกูล
ไม่กล้าทำผิดศีลธรรมเพราะรู้สึกผิดที่จะทำให้เสื่อมเสียไปถึงคนอื่นๆในครอบครัวและชุมชนที่อยู่อาศัย
เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของสังคมไทย
ที่รากฐานทางจริยธรรมอ่อนแอลงอย่างมากในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา
ที่สังคมไทยถูกชักจูงไปสู่การแสวงหาความเจริญทางวัตถุมากจนมองข้ามความสำคัญของจริยธรรม
แต่ยังไม่สายเกินไปที่สังคมไทยจะช่วยกันกอบกู้เสริมสร้างให้รากฐานจริยธรรมกลับแข็งแรงขึ้นมาใหม่
ถ้าคนไทยตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของรากฐานจริยธรรมในสังคม
Potter Stewart กล่าวว่า “Ethics
is knowing the difference between what you have a right to do and what is right
to do.” จริยธรรมคือการรู้ถึงความแตกต่างระหว่างอะไรที่คุณมีสิทธิจะทำกับอะไรที่เป็นสิ่งถูกต้องที่จะทำ
ขอบคุณที่ช่วยส่งเรื่องนี้ให้เพื่อนของท่านอ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น