วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (2)



“Righteous people will always have security, but the wicked will not survive in the land.”                                Proverbs 10:30

ในตอนที่แล้วได้เขียนรากฐานสำคัญของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปแล้ว 6 ประการ และได้เรียนไว้ว่ารากฐานสำคัญอีก 6 ประการจะเขียนต่อในฉบับต่อไป จึงขอนำเสนอต่อดังนี้

7. Labor market efficiency
ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน เพราะประเทศที่มีแรงงานความรู้และทักษะสูง มีระบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ผลผลิตจากการทำงานย่อมออกมาดี มีคุณภาพ ทำให้สินค้าและบริการสามารถขายได้ดีในตลาด สร้างรายได้ให้กับประเทศได้อย่างต่อเนื่อง และถ้าสามารถควบคุมให้มีต้นทุนแรงงานไม่สูงจนเกินไป จะสามารถดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ในยุคที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แรงงานจะต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวสูงด้วย เพราะถ้าแรงงานปรับตัวตามระบบเศรษฐกิจไม่ทัน จะเกิดปัญหาคนตกงานเพราะไม่สามารถทำงานที่ตลาดต้องการได้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งกลับขาดแคลนแรงงานเพราะไม่มีจำนวนแรงงานเพียงพอกับความต้องการ อย่างที่ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานช่างฝีมือในเวลานี้ นอกจากเรื่องการผลิตแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดแล้ว ยังต้องดูแลเรื่องความเท่าเทียมของแรงงานชายหญิง เรื่องแรงงานเด็ก เรื่องสิทธิและสิ่งแวดล้อมการทำงานของแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่นานาชาติสนใจอีกด้วย

8. Financial market development
การพัฒนาตลาดการเงิน เป็นอีกรากฐานที่สำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพราะการเคลื่อนไหวของทุนและการทำธุรกิจต้องอาศัยเครื่องมือในตลาดเงินและตลาดทุนในการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การลงทุนต้องอาศัยระบบการเงินที่มีประสิทธิภาพ คือ มีแหล่งเงินทุนที่มาจากเงินออมภายในประเทศ กับ เงินทุนจากนอกประเทศที่ไหลเข้าและไหลออกประเทศ ทำให้ประเทศสามารถนำแหล่งเงินที่มีนี้มาสร้างประโยชน์ให้เกิดผลในระบบเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพของตลาดเงินในเรื่อง การเข้าถึงแหล่งเงินทุน อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม กลไกควบคุมตลาดหุ้น กฏหมายที่เอื้อต่อการร่วมทุน ความแข็งแกร่งของระบบการธนาคาร และเครื่องมือทางการเงินอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องมีระบบที่โปร่งใส เชื่อถือได้ มีธรรมาภิบาล คุ้มครองผลประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ลงทุนด้วย

9. Technological readiness
ความมีพร้อมของเทคโนโลยีในประเทศ เป็นรากฐานที่สำคัญในปัจจุบันที่เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพราะเทคโนโลยีช่วยทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น ทำให้ประเทศสามารถแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว โครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศจึงต้องมีพร้อมใช้ และมีครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมและการบริการของบริษัทที่ลงทุนทำธุรกิจทั่วประเทศ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการคือ การให้บริการด้านเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงเทคโนโลยีไม่ยุ่งยาก หรือมีขั้นตอนมาก และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเทคโนโลยีต้องไม่แพงเกินไปเพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และทำให้ต้นทุนในการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆสูงตามไปด้วย

10. Market size
ขนาดของตลาด มีผลต่อผลผลิตเพราะการผลิตในจำนวนมากคุ้มค่ากว่า (Economy of scale) ตลาดที่ใหญ่จูงใจต่อการลงทุน มีอำนาจการต่อรองสูง เพราะการผลิตโดยทั่วไปต้องอาศัยความต้องการของตลาดภายในประเทศ (Domestic markets) เป็นเบื้องต้น ก่อนจะขยายไปยังตลาดนานาชาติ (International markets) และจากการที่จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ ขนาดตลาดของประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะมีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งจะเป็นข้อดีต่อการพัฒนาความสามารถของแต่ละประเทศ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ประเทศใดสามารถใช้ประโยชน์จากขนาดของตลาดที่โตขึ้นให้เป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศตนเพื่อพัฒนาความสามารถของประเทศให้สูงขึ้น

11. Business sophistication
ความช่ำชองหรือความชำนาญการในการทำธุรกิจและวิธีการทำธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศมีผลต่อความมีประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ ซึ่งส่งผลไปสู่การพัฒนาความสามารถของประเทศ เรื่องความช่ำชองในการทำธุรกิจนี้มีปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องคือ คุณภาพในการวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategies) และการดำเนินการ (Operations) ของเครือข่ายธุรกิจ (Business networks) และคุณภาพของบริษัทธุรกิจ (Business firms)ในประเทศ ประเทศที่มีเครือข่ายธุรกิจอุตสาหกรรมที่เรียกว่า Cluster ที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณของห่วงโซ่ธุรกิจ (Supply chain) ซึ่งมีตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการสนับสนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกันใน Cluster จะสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อกัน เช่นเดียวกับทางด้านบริษัทธุรกิจ ถ้าบริษัทธุรกิจมียุทธศาสตร์และการดำเนินการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ จะสามารถพัฒนา Brand สินค้า พัฒนาการตลาด พัฒนากระบวนการผลิตให้มีความก้าวหน้าขึ้น สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงขี้น ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศดีขึ้น

12. Innovation
นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการมีฐานความรู้เทคโนโลยีใหม่ หรือ จากการไม่มีฐานความรู้ทางเทคโนโลยี (Non-technological knowledge) ก็ได้ ซึ่งอาจเป็นเรื่องความรู้ทักษะ วิธีทำงาน (Know how) ที่ถ่ายทอดฝังอยู่ในองค์กรและพัฒนาเป็นนวัตกรรมเฉพาะขององค์กร แต่การที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันได้จะต้องเน้นไปในด้านนวัตกรรมที่มาจากฐานความรู้เทคโนโลยี (Technological innovation) เพราะการพัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน หรือ ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในแง่เศรษฐศาสตร์จะให้ผลตอบแทนลดลงเรื่อยๆ (Diminishing returns) ในระยะยาว ดังนั้นการสร้างผลผลิตของประเทศจำเป็นต้องมีนวัตกรรมจากเทคโนโลยี่เข้ามาช่วยเสริม เพื่อช่วยให้ประเทศสามารถดำรงความสามารถในการแข่งขันได้ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น (Higher value added) ซึ่งหมายความว่าประเทศจะต้องมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งภาครัฐบาลและภาคบริษัทเอกชนเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี่ใหม่ ประเด็นเรื่องการวิจัยและพัฒนานี้ เกี่ยวข้องกับความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนและทำงานร่วมกัน และให้การพิทักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา (Protection of intellectual property) การวัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เขาพิจารณาอัตราส่วนเงินลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยเพราะเป็นรากฐานที่สำคัญประการหนึ่งของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
รากฐานสำคัญที่เป็นปัจจัยในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ได้กล่าวมาทั้ง 12 ประการนี้ ทุกรากฐานมีความสัมพันธ์เกี่ยวพันทั้งหมด (Interrelated) และส่งผลต่อกัน การมีรากฐานที่อ่อนแอรากฐานหนึ่งจะส่งผลลบต่อรากฐานอื่นๆด้วย เช่น ความแข็งแกร่งของรากฐานด้านนวัตกรรมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ารากฐานการศึกษาและการพัฒนาแรงงานอ่อนแอ รากฐานการพัฒนาด้านเทคโนโลยีจะไม่แข็งแกร่งถ้ารากฐานด้านการเงิน และรากฐานด้านการตลาดไม่เข้มแข็งเป็นต้น ดังนั้นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศจึงต้องพัฒนารากฐานทั้ง 12 เรื่องไปพร้อมๆกัน แต่การวัดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศเขาได้คำนึงถึงระดับของการพัฒนา (Stages of development) ที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศด้วย ดังนั้นจึงได้แบ่งกลุ่มประเทศเป็น 3 ระดับพัฒนา และประเทศที่อยู่ในช่วงระหว่างการพัฒนาจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งอีก  2 กลุ่ม โดยมีน้ำหนักตัวชี้วัดที่แตกต่างกันดังนี้


 
ระดับ 1
Stage 1
 
กำลังเปลี่ยนจากระดับ 1 ไประดับ 2
Transition from Stage 1 to stage 2
ระดับ 2  ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ Stage 2  Efficiency-driven
กำลังเปลี่ยน
จากระดับ 2 ไประดับ 3
Transition from Stage
2 to stage 3
ระดับ3 ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
Stage 3 Innovation-driven
รายได้ประชาชาติต่อหัว
(เหรียญสหรัฐ)
GDP per capita (US$) thresholds*
<2,000
 
2,000–2,999
3,000–8,999
9,000–17,000  
>17,000
น้ำหนักของความต้องการพื้นฐาน
Weight for basic requirements
60%
40–60%
40%
20–40%
20%
น้ำหนักของประสิทธิภาพของสิ่งที่ส่งเสริม
Weight for efficiency enhancers
35%
35–50%
50%
50%
50%
น้ำหนักของนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญของปัจจัย
Weight for innovation and sophistication factors
5%
5–10%
10%
10–30%
30%
 


เมื่อได้ใช้เกณฑ์และให้น้ำหนักตามตารางข้างบนนี้แล้ว จะสามารถแบ่งกลุ่มระดับประเทศได้ดังนี้

ระดับ 1:ใช้ปัจจัยขับเคลื่อน
Stage 1: Factor-driven
(37 economies)
 
กำลังเปลี่ยนจากระดับ 1 ไประดับ 2
Transition from stage 1 to stage 2
 (16 economies)
 
ระดับ 2:ใช้ประสิทธิภาพขับเคลื่อน
Stage 2: Efficiency-driven
(30 economies)
 
กำลังเปลี่ยนจากระดับ 2 ไประดับ 3
Transition from stage 2 to stage 3 (24 economies)
 
ระดับ3:ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อน
Stage 3: Innovation-driven
(37 economies)
Bangladesh
Algeria
Albania
Argentina
Australia
Burkina Faso
Angola
Armenia
Bahrain
Austria
Burundi
Azerbaijan
Bulgaria
Barbados
Belgium
Cambodia
Bhutan
Cape Verde
Brazil
Canada
Cameroon
Bolivia
China
Chile
Cyprus
Chad
Botswana
Colombia
Costa Rica
Czech
Republic Côte d'Ivoire
Gabon
Dominican Republic
Croatia
Denmark
Ethiopia
Honduras
Egypt
Hungary
Estonia
Gambia
Iran Islamic Rep.
El Salvador
Kazakhstan
Finland
Ghana
Kuwait
Georgia
Latvia
France
Guinea
Libya
Guatemala
Lebanon
Germany
Haiti
Moldova
Guyana
Lithuania
Greece
India
Mongolia
Indonesia
Malaysia
Hong Kong SAR
Kenya
Philippines
Jamaica
Mauritius
Iceland
Kyrgyz Republic
Saudi Arabia
Jordan
Mexico
Ireland
Lao PDR
Venezuela
Macedonia
FYR Oman
Israel
Lesotho
 
Montenegro
Panama
Italy
Madagascar
 
Morocco
Poland
Japan
Malawi
 
Namibia
Russian
Federation Korea
Rep. Mali
 
Paraguay
Seychelles
Luxembourg
Mauritania
 
Peru
Suriname
Malta
Mozambique
 
Romania
Turkey
Netherlands
Myanmar
 
Serbia
United Arab Emirates
New Zealand
Nepal
 
South Africa
Uruguay
Norway
Nicaragua
 
Sri Lanka
 
Portugal
Nigeria
 
Swaziland
 
Puerto Rico
Pakistan
 
Thailand
 
Qatar
Rwanda
 
Timor-Leste
 
Singapore
Senegal
 
Tunisia
 
Slovak Republic
Sierra Leone
 
Ukraine
 
Slovenia
Tajikistan
 
 
 
Spain
Tanzania
 
 
 
Sweden
Uganda
 
 
 
Switzerland
Vietnam
 
 
 
Taiwan China
Yemen
 
 
 
Trinidad and Tobago
Zambia
 
 
 
United Kingdom
Zimbabwe
 
 
 
 
United States

เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มระดับ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้ความมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในกลุ่มนี้มีประเทศอินโดนีเซีย อยู่ด้วย ส่วนประเทศมาเลเซีย หนีประเทศไทยขึ้นไปอยู่ในกลุ่มที่กำลังพัฒนาขึ้นไปอยู่ในระดับ 3 ซึ่งใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันมีเพียงประเทศสิงคโปร์ที่ขึ้นไปนอนรออยู่แล้ว ส่วนประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาจากระดับ 1 ขึ้นไปอยู่ระดับ 2  ประเทศอื่นๆในกลุ่มได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ยังอยู่ในกลุ่มระดับที่ 1 ที่ใช้ปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่วนประเทศบูรไน ไม่ปรากฏรายชื่อในการศึกษานี้

David Cameron นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “More of the same will just produce more of the same: less competitiveness, less growth, fewer jobs.” การทำอะไรแบบเดิมๆเพิ่มขึ้นจะเพียงสร้างสิ่งเดิมๆมากขึ้นเท่านั้น ความสามารถในการแข่งขันที่น้อยลง ทำให้เติบโตน้อยลง และการจ้างงานน้อยลง
ประเทศไทยจะพัฒนาความสามารถในการแข่งขันได้ดีหรือไม่ อยู่ที่คนไทยทุกคนจะช่วยกันหรือไม่ครับ

ขอบคุณที่อ่านและส่งต่อให้เพื่อนอ่านครับ

http:somchaiblessings.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น