“The road the righteous travel is like the sunrise,
getting brighter and brighter until daylight has come.” Proverbs 4:18
ประเทศมาเลเซียเพื่อบ้านใกล้ชิดทางใต้ของประเทศไทย
มีขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ประมาณ 312.5 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปี
ได้ตั้งเป้าหมายให้มาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
(Fully Developed Country) ภายในปี 2020 ภายใต้วิสัยทัศน์ VISION 2020 หรือที่ชาวมาเลเซียเรียกว่า
Wawasan 2020 โดยผู้นำประเทศ
นายกรัฐมนตรี Dr. Mahathir ได้ประกาศใช้วิสัยทัศน์นี้เมื่อปี
1990 มีจุดหมายมุ่งพัฒนาให้ประเทศมาเลเซียมีความมั่งคั่งและประชาชนมีความสุข
สังคมมาเลเซียมีสันติสุข ประชาชนมีรายได้ต่อหัว ประมาณปีละ 15,000 -20,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา
ความหวังของของประเทศมาเลเซียคือ
- ภายในปี
2020 ประเทศมาเลเซียสามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเป็นสังคมที่มีความเชื่อมั่นในค่านิยมทางศีลธรรมและจริยธรรมที่แข็งแรง
ดำรงอยู่ในสังคมที่มีประชาธิปไตยที่มีอิสรภาพ และมีความอดทน
เป็นสังคมที่มีความห่วงใยเกื้อกูล มีความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
และมีความเท่าเทียมกัน
- ประเทศมาเลเซียจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์
(Fully developed) ต่อเมื่อได้เอาชนะความท้าทายหลัก
9ประการ
ที่ประเทศมาเลเซียต้องเผชิญนับตั้งแต่การประกาศอิสรภาพ ซึ่งความท้าทายทั้ง 9 ประการ มีดังต่อไปนี้
- ความท้าทายประการแรกคือความท้าทายของการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศมาเลเซีย
(United Malaysian Nation) โดยประชาชนมีความรู้สึกร่วมและมีเป้าหมายร่วมกัน
เป็นประเทศที่มีความสงบสุข มีการบูรณาการทางพื้นที่และชาติพันธุ์
อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวและเป็นมิตรต่อกันอย่างยุติธรรมเต็มที่ ทำให้เป็นมาเลเซียหนึ่งเดียว
(Bangsa Malaysia) โดยมีความภักดีทางการเมือง
และอุทิศตนเพื่อประเทศ
- ความท้าทายประการที่สองคือการสร้างอิสรภาพทางจิตใจ มีความปลอดภัย และพัฒนาสังคมมาเลเซียด้วยความเชื่อและมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความภูมิใจในสถานะปัจจุบันและสิ่งที่ได้ประสบความสำเร็จ สังคมมาเลเซียต้องเป็นสังคมที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Pursuit of excellence) มีความตระหนักอย่างเต็มที่ในศักยภาพ มีความคิดไม่เป็นสองรองจากใคร (Subservient to none) และเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนประเทศอื่นๆ
- ความท้าทายประการที่สามที่ประเทศมาเลย์เซียได้เผชิญอยู่ตลอดมาคือการฟูมฟักและพัฒนาให้เป็นสังคมประชาธิปไตยที่มีวุฒิภาวะแล้ว ใช้ประชาธิปไตยด้วยการยอมรับ เป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานชุมชนของมาเลเซียที่สามารถเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ
- ความท้าทายประการที่สี่คือ
การสร้างสังคมที่มีศีลธรรมและจริยธรรมอย่างเต็มที่
ซึ่งประชาชนมีความเข้มแข็งทางคุณค่าศาสนาและจิตวิญญาณ และเต็มเปี่ยมด้วยมาตรฐานระดับสูงทางด้านจริยธรรม
- ความท้าทายประการที่ห้าที่ประเทศมาเลเซียเผชิญอยู่เสมอคือการสร้างสังคมที่มีวุฒิภาวะ
มีอิสระภาพ และมีความอดทน ที่คนมาเลเซียทุกสีผิว
ทุกชาติพันธุ์มีอิสรภาพในการปฏิบัติตามวัฒนธรรม ประเพณี
และความเชื่อทางศาสนา และยังมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนในหนึ่งประเทศ
- ความท้าทายประการที่หก คือการสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ และ มีความก้าวหน้า เป็นสังคมที่มีนวัตกรรมและมองไปข้างหน้า เป็นสังคมที่ไม่เฉพาะเสพย์ใช้เทคโนโลยี แต่เป็นผู้ให้ความศิวิไลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตด้วย
- ความท้าทายประการที่เจ็ดคือ
การสร้างสังคมที่เกื้อกูลกันและมีวัฒนธรรมที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
มีระบบสังคมที่ประชาชนเห็นประโยชน์สังคมมาก่อนประโยชน์ของตนเอง โดยมีสวัสดิการความปลอดภัยที่ไม่อยู่เฉพาะในวงภาครัฐหรือปัจเจกบุคคล
แต่จะอยู่ที่ความแข็งแร็งและยืดหยุ่นของระบบสังคม
- ความท้าทายประการที่แปด คือ การสร้างความมั่นใจว่าจะเป็นสังคมที่มีความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ เป็นสังคมที่มีการกระจายความมั่งคั่งที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกัน โดยการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจโดยไม่นำเรื่องชาติพันธุ์ไปเกี่ยวพันกับความก้าวหน้า หรือถอยหลังทางเศรษฐกิจ
·
ความท้าทายประการที่เก้าคือ
การสร้างสังคมที่มีความเจริญรุ่งเรือง
โดยมีระบบเศรษฐกิจที่สามารถแข่งขันได้อย่างสมบูรณ์ มีพลวัตร มีความแข็งแกร่ง และสามารถอยู่รอดได้
ปัจจุบันประชาชนชาวมาเลย์เซียมีรายได้ต่อหัวประมาณ 10,500 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปีแล้ว
ใกล้ถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์
มองย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณ
25 ปีที่ผ่านมา ประเทศมาเลเซีย มีสภาพใกล้เคียงกับประเทศไทย บางด้านประเทศไทยนำหน้าประเทศมาเลเซียด้วยซ้ำไป
แต่มาเลเซียสามารถนำประเทศพัฒนาห่างประเทศไทยไปเรื่อยๆ จนกำลังจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ตามประเทศสิงคโปร์ ที่ไปยืนรอเป็นประเทศพัฒนาแล้วอยู่ล่วงหน้า
Martin Luther King. Jr. กล่าวว่า “The ultimate measure of a man is not where he stands in
moments of comfort and convenience, but where he stands at times of challenge
and controversy.” สิ่งที่วัดมนุษย์ได้ดีที่สุดไม่ใช่ที่เวลาที่เขาอยู่ในความสะดวกสบาย
แต่อยู่ที่เวลาที่เขาเผชิญความท้าทายและความยุ่งยากสับสน
ที่นำเสนอเรื่องประเทศมาเลเซียในวันนี้
เพื่ออยากให้คนไทยมองประเทศไทยด้วยความรู้สึกรักและห่วงใยประเทศไทยบ้าง
สังคมไทยขณะนี้ยังก้าวไม่พ้นเรื่องการแบ่งแยกทำลายกัน
เอาชนะกันด้วยเรื่องเล็กเรื่องน้อย ยังไม่ได้มองอนาคตของประเทศร่วมกัน
ด้วยสายตาและความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน
ประเทศไทยยังมีความท้าทายอยู่เบื้องหน้าอีกมาก
ที่คนไทยต้องร่วมกันและช่วยกันเอาชนะ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และ สังคมมีสันติสุขในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น