“Wisdom is the most important thing; so get wisdom. If
it cost everything you have, get understanding.” Proverbs 4:7
ในหนังสือของ
Hermann Hesse เรื่อง Journey to the East ได้เล่าเรื่องของ
Leo ซึ่งร่วมเดินทางไปกับคณะเดินทางที่กำลังมุ่งหน้าเดินทางเผชิญภัยไปทางทิศตะวันออกในฐานะผู้รับใช้ผู้ให้บริการแก่ทุกคนในกลุ่มผู้เดินทาง
การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นแม้ผู้ร่วมเดินทางแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันทางความคิด
ทัศนคติ อุปนิสัย ความรู้ ความสามารถและความต้องการ ต่างมีความสุขและความพึงพอใจในการเดินทาง
แต่แล้ววันหนึ่ง Leo ได้หายไปจากคณะเดินทางโดยไม่มีใครทราบว่าเขาหายไปใหนและจะกลับมาหรือไม่
การเดินทางที่ไม่มี Leo เป็นผู้รับใช้อยู่ในคณะเริ่มมีปัญหา เมื่อขาด Leo ผู้ที่คอยให้บริการช่วยเหลือ
ผู้ที่คอยรับฟังปัญหาความต้องการของแต่ละคนด้วยความอดทน ผู้ที่คอยประสานความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละคนในคณะ
ผู้ที่คอยเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร ผู้ที่คอยประสานความเข้าใจ
ผู้ที่คอยให้กำลังใจเมื่อเกิดความท้อแท้
ผู้ที่คอยสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเมื่อมีความตึงเครียด และผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือเรื่องอื่นๆ
ผู้เดินทางแต่ละคนเริ่มเกิดความขัดแย้งกัน
และการอยู่ร่วมกันในคณะเดินทางมีปัญหามากขึ้นทุกวัน จนในที่สุดการเดินทางของคณะนี้ต้องล้มเลิกกลางคันเพราะคนในคณะเดินทางไม่สามารถร่วมเดินทางต่อไปได้เมื่อขาด
Leo ผู้รับใช้คนนั้น ต่อมาภายหลังจึงได้รู้ความจริงว่า Leo ผู้ที่ทำตัวเป็นผู้รับใช้ในคณะผู้เดินทางแท้จริงคือผู้มีตำแหน่งสูงศักดิ์ที่อุปถัมภ์การเดินทางครั้งนี้
Robert K. Greenleaf ผู้นำความคิดเรื่องการเป็นผู้นำผู้รับใช้
(Servant leader) ให้ความเห็นว่า บทบาทของ Leo
ในคณะผู้เดินทางคือ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกมองว่าเป็นผู้รับใช้ในเบื้องต้น (the great
leader is seen as servant first)
ในพระคัมภีร์ของชาวคริสต์
ได้กล่าวถึงถึงคำสอนของพระเยซูคริสต์ที่สอนลูกศิษย์ว่า “ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นใหญ่ในพวกท่าน
ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ปรนนิบัติท่านทั้งหลาย (Whoever
desires to become great among you shall be your servant.)
คำสอนนี้ตรงกันข้ามกับความเข้าใจและการปฏิบัติของคนในสังคมเพราะมายาคติเดิมที่ฝังในความคิดของคนทั่วไปคือคิดว่าผู้นำคือผู้ได้รับการปรนนิบัติจากผู้ติดตาม
และผู้รับใช้คือผู้ปรนนิบัติ ผู้นำคือผู้ที่มีอำนาจอยู่ในสถานะเหนือกว่าและผู้รับใช้คือผู้ไร้อำนาจอยู่ในสถานะต่ำกว่า
ผู้นำคือผู้ที่ฉลาดและเก่ง และผู้รับใช้คือผู้ฉลาดน้อยและด้อยความสามารถ
คำกล่าวชวนให้คิดของ Robert K.
Greenleaf ว่า “The wise are not necessarily
scholars, and scholars are not necessarily wise” คนฉลาดไม่จำเป็นต้องเป็นปราชญ์
และปราชญ์ไม่จำเป็นต้องฉลาด คงทำนองเดียวกับ ผู้นำไม่จำเป็นต้องเก่ง และ คนเก่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำ
หรือผู้รับใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนด้อยปัญญา และ
คนด้อยปัญญาไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รับใช้ สะท้อนสัจจะความจริงที่ว่าไม่มีมนุษย์คนใดสมบูรณ์
แม้อัจฉริยะยังไม่รู้ความจริง เพราะพระเจ้าไม่ได้สร้างมนุษย์ให้มีความครบถ้วนเหมือนพระเจ้าผู้เป็นสัพพัญญู
(Omniscient)
แล้วถ้าการรับใช้ของคนที่ถูกมองว่าเป็นผู้รับใช้แบบ
Leoได้ช่วยทำให้ผู้อื่นทำงานได้สำเร็จ ทำให้งานที่สำคัญของผู้อื่นสำเร็จตามที่ต้องการของพวกเขา
ทำให้ผู้ที่เขารับใช้มีความฉลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ที่เขารับใช้มีความเป็นตัวตนมากขึ้น
มีความอิสระในการคิดและการกระทำมากขึ้น มีความสุขในชีวิตมากขึ้น ทำให้ผู้ที่เขารับใช้สามารถทำประโยชน์ให้ผู้อื่นได้มากขึ้น
ผู้ที่ถูกมองว่าเป็นผู้รับใช้แบบนี้จริงๆแล้วคือผู้นำที่นำด้วยการรับใช้ก่อน (Servant
first) นั่นเอง
ธรรมชาติของผู้ที่เป็นผู้นำผู้รับใช้คือต้องมีชีวิตจิตใจที่คิดถึงผู้อื่นก่อนเสมอซึ่งแตกต่างจากผู้นำทั่วไปทึ่ต้องการให้ผู้อื่นคิดถึงตัวผู้นำก่อน
(Leader first) การเป็นผู้นำผู้รับใช้จึงเป็นงานยาก ต้องมีความเสียสละอดทนอย่างสูง
และต้องมีจิตใจที่ถ่อมสุภาพมากๆ
Every achievement starts with a
goal ทุกความสำเร็จเริ่มจากการมีเป้าหมาย
การเป็นผู้นำผู้รับใช้เริ่มต้นที่การมีเป้าหมายต้องการรับใช้ผู้อื่น
แต่การมีเป้าหมายที่ดีโดยไม่มีการปฏิบัติความสำเร็จย่อมไม่เกิดขึ้น การรับใช้ผู้อื่นต้องเริ่มต้นจากการทำให้ผู้อื่นเกิดความไว้วางใจ (Trust) ก่อน
ทำให้ผู้ที่เราตั้งใจจะรับใช้เกิดความมั่นใจ (Confidence)
ในตัวเราว่าเป็นผู้มีคุณธรรม
มีคุณค่า (Value) ที่สามารถเชื่อถือไว้วางใจได้ และเชื่อมั่นในความสามารถ
(Competence) และการตัดสินใจ
(Judgement) ของตัวเราว่าสามารถช่วยเหลือเขาได้ เขาจึงจะวางใจและยอมให้เรารับใช้เขา
การจะเข้าถึงหัวใจแห่งการรับใช้เริ่มจากการฟัง
(Listening) คือการฟังเสียงภายในจิตใจซึ่งเป็นเสียงคุณธรรมในจิตใจที่เรียกร้องผลักดันให้ยอมถ่อมตนเสียสละและอดทนต้องการผู้รับใช้ผู้อื่น
ภาษาศาสนศาสตร์เรียกว่า การทรงเรียก (Calling) เสียงเรียกจากจิตสำนึกในระดับลึกทำให้เกิดความร้อนรนต้องการปรนนิบัติรับใช้ผู้อื่น
เกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration) ในการต้องการช่วยเหลือผู้อื่น ทำให้เกิดอนาคตภาพหรือนิมิต
(Vision) การเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น ที่นำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตจริง
เป็นพันธกิจ (Mission) ในการรับใช้ผู้อื่นในงานด้านต่างๆเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นอย่างแท้จริงเพื่อทำให้เสียงคุณธรรมที่เรียกร้องในจิตใจเกิดผลเป็นการปฏิบัติจริงตามเป้าหมายที่ต้องการ
การฟังในลำดับต่อมาคือการฟังเสียงภายนอก
คือการฟังผู้อื่น ฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจ (Listening
for understanding) ผู้อื่นว่าเขามีปัญหา มีความต้องการอะไร
เพื่อเราจะสามารถตอบสนองการรับใช้ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่เราจะเข้าใจว่าการสื่อสาร
(Communicate) คือการพูดให้คนอื่นเข้าใจความต้องการของเรา
ทำให้เราพูดมากกว่าฟัง แม้แต่ Saint Francis ยังต้องอธิษฐานขอพระเจ้าว่า
“Lord, grant that I may not seek so much to be understood as to
understand” พระเจ้าโปรดเมตตาให้ข้าพเจ้าไม่เป็นผู้แสวงหาการให้ผู้อื่นเข้าใจตัวข้าพเจ้าเท่ากับการที่ข้าพเจ้าเข้าใจผู้อื่น
ท่านสาธุคุณ Francis ต้องการเข้าใจผู้อื่นมากกว่าให้ผู้อื่นเข้าใจตัวท่าน
การจะเข้าใจผู้อื่นได้ต้องรู้จักฟังผู้อื่นก่อน การฟังอย่างตั้งใจจะทำให้เราเข้าใจความหมาย
(Meaning) ที่ผู้อื่นต้องการอย่างถูกต้อง ดังนั้นการฟังอย่างตั้งใจจึงเป็นเรื่องสำคัญในการเริ่มต้นรับใช้ผู้อื่น
การเป็นผู้รับใช้ต้องมีความอดกลั้นและอดทนต่อความรู้สึกต้องการของตัวเอง
ทั้งความต้องการที่ตนเองจะเข้าไปอยู่ร่วมในความกดดันของปัญหาของผู้ที่เรารับใช้
และความต้องการหนีจากความกดดันของปัญหาที่เราได้รับฟังจากผู้ที่เรารับใช้
เพื่อไม่ให้อารมณ์ความรู้สึกต้องการส่วนตัวของเราดึงและเบี่ยงเบนการรับใช้ของเรา
ผู้รับใช้ต้องสามารถจัดการความรู้สึกของตน มีความสุขุม มีสติ มีความนิ่งในเวลาที่สับสน
เพื่อทำให้การรับใช้ผู้อื่นไม่ไข้วเขวและเกิดผล
Larry King กล่าวว่า “I remind myself every morning: Nothing I say this day
will teach me anything. So if I'm going to learn, I must do it by listening”. ข้าพเจ้าเตือนตนเองทุกเช้าว่า
สิ่งที่ข้าพเจ้าพูดในวันนี้ไม่ได้สอนอะไรข้าพเจ้าเลย ดังนั้นถ้าข้าพเจ้าจะเรียนรู้
ข้าพเจ้าจะต้องเรียนรู้จากการฟัง
Ernest Hemingway กล่าวว่า “I
like to listen. I have learned a great deal from listening carefully. Most
people never listen.”ข้าพเจ้าชอบที่จะฟัง ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อย่างมากมายจากการฟังอย่างระมัดระวัง
คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักฟัง
ฟังเสียงคุณธรรมในจิตใจตนเอง
และฟังเสียงของผู้อื่นบ้างนะครับ
แหล่งนำความคิด: จากหนังสือ
Servant Leadership โดย Robert K. Greenleaf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น