“The mount
of the righteous bring forth wisdom; but the perverse tongue shall be cut off.”
Proverbs
10:31
ได้เขียนเรื่องความสามารถในการแข่งขันของไทยไปแล้ว
2 ตอน ต้องขอบอกก่อนว่าข้อมูลที่นำมาเขียนได้มาจากรายงานชื่อ
Insight Report; The
Global Competitiveness Report 2014-2015 โดย Klaus
Schwab, World Economic Forum ซึ่งมีความหนา 565 หน้า เป็นรายงานการศึกษาประเด็นเศรษฐกิจ
สังคมและการเมืองของประเทศต่างๆทั่วโลก 144 ประเทศ
เสียดายที่ข้อมูลประเทศ Brunei Darussalam
ที่อยู่ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังไม่ครบถ้วนจึงยังไม่ได้รวมอยู่ในรายงานนี้
ข้อมูลที่เขานำมาศึกษามาจากหน่วยงานสถาบันนานาชาติที่คนยอมรับทั่วโลก เช่น UNESCO, IMF และ WHO รายงานนี้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์และนำไปวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
ตั้งใจนำเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาเขียนต่อเนื่องเพราะอยากจะให้คนไทยสนใจเรื่องข้อมูลของประเทศตนเองและประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
ประเทศไทยอยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงต้องรู้ว่าในเวลานี้ประเทศไทยเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
และนานาชาติ เท่าที่ติดตามเรื่องอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
จะมีข่าวว่าประเทศไทยมีอันดับที่ดีขึ้นหรือลดลงกี่อันดับเมื่อมีการเผยแพร่ Review
of the Global Competitiveness Index อยู่ไม่กี่วันแล้วก็เงียบหายไป
ไม่ค่อยได้เห็นความสนใจอย่างจริงจัง หรือมีการพูดถึงรายละเอียดเพิ่มเติมกันมากนัก
ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนต้องสนใจ
และศึกษาเพื่อช่วยกันพัฒนาแก้ไขจุดอ่อน
และส่งเสริมสนับสนุนจุดแข็งความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
วันนี้จึงขอนำเสนออันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศประจำปี 2014-2015 (The Global
Competitiveness Index 2014–2015) โดยขอนำเสนอเฉพาะอันดับที่ 1 ถึง 30 และอันดับของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน (AEC) มาให้ท่านพิจารณา ถ้าท่านต้องการทราบอันดับความสามารถในการแข่งขันของทั้ง
144 ประเทศ ท่านสามารถเข้าไปศึกษาได้ในรายงานที่แนะนำไว้ข้างต้นครับ
ตารางแสดงอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศปี
2014-2015
Country/Economy
ประเทศ/เศรษฐกิจ
|
Rank
(out of 144)
อันดับ
(จาก 144)
|
Score
(1–7)
คะแนน
(1-7)
|
GCI 2013–
2014
อันดับเมื่อปี
2013-2014
|
Switzerland
|
1
|
5.70
|
1
|
Singapore
|
2
|
5.65
|
2
|
United
States
|
3
|
5.54
|
5
|
Finland
|
4
|
5.50
|
3
|
Germany
|
5
|
5.49
|
4
|
Japan
|
6
|
5.47
|
9
|
Hong
Kong SAR
|
7
|
5.46
|
7
|
Netherlands
|
8
|
5.45
|
8
|
United
Kingdom
|
9
|
5.41
|
10
|
Sweden
|
10
|
5.41
|
6
|
Norway
|
11
|
5.35
|
11
|
United
Arab Emirates
|
12
|
5.33
|
19
|
Denmark
|
13
|
5.29
|
15
|
Taiwan,
China
|
14
|
5.25
|
12
|
Canada
|
15
|
5.24
|
14
|
Qatar
|
16
|
5.24
|
13
|
New
Zealand
|
17
|
5.20
|
18
|
Belgium
|
18
|
5.18
|
17
|
Luxembourg
|
19
|
5.17
|
22
|
Malaysia
|
20
|
5.16
|
24
|
Austria
|
21
|
5.16
|
16
|
Australia
|
22
|
5.08
|
21
|
France
|
23
|
5.08
|
23
|
Saudi
Arabia
|
24
|
5.06
|
20
|
Ireland
|
25
|
4.98
|
28
|
Korea,
Rep.
|
26
|
4.96
|
25
|
Israel
|
27
|
4.95
|
27
|
China
|
28
|
4.89
|
29
|
Estonia
|
29
|
4.71
|
32
|
Iceland
|
30
|
4.71
|
31
|
Thailand
|
31
|
4.66
|
37
|
Indonesia
|
34
|
4.57
|
38
|
Philippines
|
52
|
4.40
|
59
|
Vietnam
|
68
|
4.23
|
70
|
Lao PDR
|
93
|
3.91
|
81
|
Cambodia
|
95
|
3.89
|
88
|
Myanmar
|
134
|
3.24
|
139
|
เมื่อดูอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ด้วยกันแล้ว ประเทศสิงคโปร์
ยังคงรักษาอันดับความสามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับที่ 2 ได้เหมือนเดิม
เช่นเดียวกับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่ยังครองแชมป์ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับที่
1 ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ประเทศมาเลเซียไต่ขึ้นไปอยู่ที่อันดับที่
20 ดีกว่าเดิมที่อยู่อันดับ 24 โดยมีประเทศไทยไล่หลังมาอยู่อันดับที่
31 ดีกว่าเดิมที่อยู่ในอันดับที่ 37 ประเทศอินโดนีเซียจี้ตามประเทศไทยมาติดๆอยู่ในอันดับที่
34 ดีกว่าเดิมที่อยู่ในอันดับที่ 38
ประเทศฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 52 ดีกว่าเดิมที่อยู่อันดับที่ 59 ประเทศเวียตนามอยู่ที่อันดับ 68 ดีกว่าเดิมที่อยู่ที่อันดับ
70 ส่วนประเทศลาวอยู่อันดับที่ 93 แย่กว่าเดิมที่อยู่ที่อันดับ
81 เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาที่เดิมอยู่ที่อันดับ 88
ปีนี้หล่นลงมาอยู่ที่อันดับ 95 สำหรับประเทศพม่าดีขึ้นจากที่เคยอยู่ในอันดับที่
139 พัฒนาขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 134
โดยภาพรวมประเทศในกลุ่ม AEC มีการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น
ยกเว้นเพียงประเทศลาวและกัมพูชา ที่อันดับลดลง
การที่ประเทศต่างๆถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้นหรือแย่ลง
เขาดูจากคะแนนของรากฐานความแข็งแรงของความสามารถในการแข่งขัน 12
ด้าน และการมีปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น
ซึ่งได้เขียนอธิบายไปใน 2 ตอนที่แล้ว แต่ละรากฐาน (Pillar)
มีความสำคัญและส่งเสริมต่อกันในการพัฒนาความสามารถในการแข่งของประเทศในปัจจุบันไปสู่อนาคต
ตารางแสดงอันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวม
กับอันดับความสามารถในการแข่งขัน
ในด้าน ปัจจัยความต้องการพื้นฐาน ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
นวัตกรรมและความช่ำชอง
ดรรชนีโดยรวม
Overall Index
|
ปัจจัยต้องการพื้นฐานBasic
requirements
|
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
Efficiency enhancers
|
นวัตกรรมและความช่ำชอง
Innovation and sophistication
|
||||||
ประเทศ/เศรษฐกิจCountry/Economy
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนน
Score
|
|
Singapore
|
2
|
5.65
|
1
|
6.34
|
2
|
5.68
|
11
|
5.13
|
|
Malaysia
|
20
|
5.16
|
23
|
5.53
|
24
|
4.95
|
17
|
4.95
|
|
Thailand
|
31
|
4.66
|
40
|
5.01
|
39
|
4.53
|
54
|
3.84
|
|
Indonesia
|
34
|
4.57
|
46
|
4.91
|
46
|
4.38
|
30
|
4.20
|
|
Philippines
|
52
|
4.40
|
66
|
4.63
|
58
|
4.27
|
48
|
3.90
|
|
Vietnam
|
68
|
4.23
|
79
|
4.44
|
74
|
3.99
|
98
|
3.35
|
|
Lao
PDR
|
93
|
3.91
|
98
|
4.13
|
107
|
3.58
|
80
|
3.51
|
|
Cambodia
|
95
|
3.89
|
103
|
4.09
|
100
|
3.65
|
116
|
3.15
|
|
Myanmar
|
134
|
3.24
|
132
|
3.36
|
134
|
3.11
|
139
|
2.62
|
|
ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันโดยรวมอยู่อันดับที่
31
ในจำนวน 144 ประเทศ
และมีความสามารถในการแข่งขันเรื่องปัจจัยพื้นฐาน อยู่ในอันดับที่ 40 แพ้ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับ 1 และประเทศมาเลเซียที่อยู่ในอันดับ
24 ส่วนเรื่องความสามารถในการแข่งขันด้านปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพ
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 39 ประเทศมาเลเซียอยู่อันดับที่ 24
ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับ 2 และความสามารถในการแข่งขันเรื่องนวัตกรรมและความช่ำชอง
ประเทศไทยหล่นลงไปอยู่อันดับ 54 ในขณะที่ ประเทศมาเลเซีย
อยู่ลำดับที่ 17 ประเทศสิงคโปร์อยู่ลำดับที่ 11 ความสามารถในการแข่งขันด้านนี้ประเทศไทยน่าเป็นห่วงเพราะยังแพ้ประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ในอันดับที่ 30 และ ประเทศฟิลิปปินส์ที่อยู่ในอำดับที่
48 ประเทศไทยจะต้องรีบทำการแก้ไขความสามารถในการแข่งขันในเรื่องการมีนวัตกรรมและสร้างความช่ำชองเชี่ยวชาญให้ดีขึ้น
เพื่อสามารถก้าวขึ้นไปผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน
สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และทำรายได้ให้มากขึ้น
ที่นำเรื่องอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยมานำเสนอเพราะเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับอนาคตของประเทศ
ถ้าความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ยังพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่นๆ
ลูกหลานของเราในอนาคตจะอยู่อย่างลำบาก เมื่อไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้
เมื่อ 30
ปีก่อน ประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย มีระดับการศึกษา ระดับเศรษฐกิจ ระดับความสามารถในการผลิตอยู่ในระดับเดียวกัน
การผลิตบางด้านประเทศไทยนำหน้าประเทศมาเลเซียด้วยซ้ำไป แต่ปัจจุบันนี้
ประเทศมาเลเซียนำหน้าประเทศไทยไปมากพอสมควรแล้ว และมีประเทศที่ตามหลังประเทศไทยอย่างห่างไกลในอดีต
กำลังขยับเข้ามาใกล้ประเทศไทยมากขึ้น ถ้าเราไม่เร่งการพัฒนาความสามารถของประเทศในเวลานี้
เราจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ
Jack Welch ผู้นำและนักบริหารที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคนหนึ่งซึ่งนักบริหารทั่วโลกโลกชื่นชมกล่าวว่า
“If you don't have a competitive advantage, don't compete.” ถ้าคุณไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน อย่าแข่ง
คำพูดนี้แรงและจริง
แต่ประเทศไทยไม่สามารถอยู่โดยไม่แข่งขันกับประเทศอื่นได้นะครับ
ขอบคุณที่อ่านและช่วยเผยแพร่
แนะนำให้เพื่อนอ่าน
สมชัย ศิริสุจินต์