“จงให้คำสั่งสอน แก่คนมีปัญญาและเขาจะมีปัญญายิ่งขึ้น จงสอนคนชอบธรรมและเขาจะเพิ่มพูนการเรียนรู้ ความยำเกรงพระยาห์เวห์เป็นที่เริ่มต้นของปัญญา และการรู้จักองค์บริสุทธิ์เป็นความรอบรู้” สุภาษิต 9:9-10
พันธมิตรเพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21(The Partnership for 21st Century Skills) หรือ P21 เป็นองค์กรระดับชาติของสหรัฐอเมริกาที่มีจุดประสงค์ในการเตรียมความพร้อมของนักเรียนสหรัฐอเมริกาสำหรับศตวรรษที่ 21 สหรัฐอเมริกาตระหนักดีถึงความจำเป็นในการเตรียมคนรุ่นใหม่ของประเทศให้มีความสามารถแข่งขันได้ในเวทีเศรษฐกิจโลกซึ่งได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก
P21 และสมาชิก ได้พัฒนาโครงสร้างการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Framework for 21st Century Learning) เพื่อสนับสนุนให้ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกามีความเป็นเอกภาพในการเรียนการสอนเด็กอเมริกันให้มีการเรียนรู้ มีทักษะที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยการสนับสนุนเครื่องมือและทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือผู้สอนในการบูรณาการและผสมผสานเนื้อหาความรู้ ทักษะและความชำนาญการเฉพาะเข้ากับเนื้อหาความรู้วิชาการในการสอนวิชาหลัก เชื่อว่าโดยการใช้แนวทางนี้จะช่วยให้ นักศึกษาอเมริกันประสบความสำเร็จในชีวิตและการงาน
การใช้ทุกทักษะของศตวรรษที่21 ตามโครงสร้างนี้ นักศึกษาจะต้องมีการพัฒนาความรู้และความเข้าใจในวิชาการหลักเพื่อทำให้นักศึกษาเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ (Think Critically) สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Communicate effectively) สามารถแก้ไขปัญหา (Problem solving) และรู้จักสร้างความร่วมมือ (Collaboration) เป็น ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จในโลกปัจจุบัน
โรงเรียน หรือ เขตการศึกษาสร้างความรู้และทักษะที่ต้องการบนพื้นฐานของระบบนี้โดยการรวมโครงสร้างทั้งหมดกับระบบสนับสนุนที่จำเป็นได้แก่ มาตรฐาน การประเมิน หลักสูตร วิธีการสอน การพัฒนาวิชาชีพ และสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการเรียนรู้ และจบการศึกษาด้วยความพร้อมที่ดีกว่าในการดำรงชีวิตในเศรษฐกิจโลกยุคใหม่
วิชาหลัก(Core subjects) และเรื่องหลัก (Theme) ในศตวรรษที่ 21ที่นักศึกษาต้องเรียน มีดังนี้
ภาษาอังกฤษ(English) การอ่าน หรือศิลปะภาษา (Reading or language arts) ภาษาอื่นๆในโลก (World languages) ศิลปะ (Arts) คณิตศาสตร์ (Mathematics) เศรษฐศาสตร์ (Economics) วิทยาศาสตร์ (Science) ภูมิศาสตร์ (Geography) ประวัติศาสตร์ (History) รัฐบาลและพลเมือง (Government and civics)
นอกจากนี้โรงเรียนจะต้องส่งเสริมให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการในระดับที่สูงมากขึ้นมากโดยการสานวิชาหลักกับ เรื่องหลักนานาสาขาของศตวรรษที่21 ดังนี้
• ความตระหนักรู้เรื่องโลก (Global Awareness)
• ความรู้เรื่องพลเมือง (Civic Literacy)
• ความรู้เรื่องการเงิน (Financial) เศรษฐกิจ (Economic)
• ธุรกิจและการประกอบธุรกิจ (Business and Entrepreneurial Literacy)
• ความรู้เรื่องสุขภาพ (Health Literacy)
• ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
•ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills)
• ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
• การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
• การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication and Collaboration)
• ความรู้เรื่องข้อมูลข่าวสาร (Information Literacy) • ความรู้เรื่องสื่อ (Media Literacy)
•ความรู้เรื่อง ICT (Information, Communications and Technology) Literacy
•ความรู้เรื่องชีวิตและทักษะอาชีพ (Life and Career Skills)
• ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adaptability)
•ความคิดริเริ่มและการวางแผนชีวิต (Initiative and Self-Direction)
• ทักษะทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills)
• การมีประสิทธิผลและความเชื่อถือได้ (Productivity and Accountability)
• ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)
จะเห็นได้ว่านักการศึกษาของสหรัฐอเมริกามีความตระหนักมากขึ้นเรื่องทักษะที่จำเป็นของนักศึกษาอเมริกันในการดำรงชีวิตในสังคมโลก เพราะโลกในศตวรรษที่21 ไม่ได้เป็นโลกเดิมที่สหรัฐอเมริกันจะอยู่ด้วยทัศนคติเดิมว่าสหรัฐอเมริกันเป็นชาติมหาอำนาจของโลกที่ต้องดูแลประเทศอื่นๆ
Martin Luther King, Jr. กล่าวว่า “The function of education is to teach one to think intensively and to think critically. Intelligence plus character - that is the goal of true education. “
“หน้าที่ของการศึกษาคือการสอนให้คนคิดอย่างละเอียดและคิดอย่างวิเคราะห์ ความเฉลียวฉลาดบวกกับคุณลักษณะ นั่นคือเป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา”
ผมขอฝากข้อมูลนี้ให้นักการศึกษาไทยช่วยคิดวิเคราะห์ด้วยเรื่องทักษะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 เมื่อชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ยังต้องเตรียมความสามารถในการแข่งขันให้นักศึกษาของเขาสามารถเอาตัวรอดได้ในเศรษฐกิจโลก เราต้องทำอะไรบางอย่างแล้วครับ
คุณคิดอย่างไรครับ?L
แหล่งข้อมูล: www.p12.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น