วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (7)




“Never let go of loyalty and faithfulness. Tie them around your neck; write them on your heart. If you do this, both God and man will be pleased with you.”                                                     Proverbs 3:3-4
 

ได้นำเสนอรากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4 รากฐานแรกของประเทศไทยซึ่งได้แก่รากฐานที่ 1.สถาบัน (Institutions) รากฐานที่ 2.โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) รากฐานที่ 3.เศรษฐกิจมหภาค Macroeconomic environment และรากฐานที่ 4. สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น (Health and primary education) ซึ่งทั้งหมดเป็นรากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่อยู่ในหมวดแรกคือ หมวดปัจจัยต้องการพื้นฐาน (Basic Requirements)ไปเรียบร้อยแล้ว

ที่จะขอนำเสนอต่อไปได้แก่รากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศในหมวดต่อมาคือ หมวดตัวเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency enhancers) ซึ่งในหมวดนี้จะประกอบด้วย 6 รากฐานความสามารถในการแข่งขันคือ รากฐานที่ 5. การศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม (Higher education and training) รากฐานที่ 6. ประสิทธิภาพตลาดสินค้า (Goods market efficiency) รากฐานที่ 7. ประสิทธิภาพตลาดแรงงาน (Labor market efficiency) รากฐานที่ 8. การพัฒนาตลาดการเงิน (Financial market development) รากฐานที่ 9. ความพร้อมของเทคโนโลยี (Technological readiness) และ รากฐานที่10. ขนาดตลาด (Market size) ดังได้แสดงให้เห็นว่าแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนมีอันดับและคะแนนความสามารถในการแข่งขัน ในแต่ละรากฐานแตกต่างกันอย่างไร ในตารางต่อไปนี้


 
รากฐาน PILLAR
 
ตัวเพิ่มประสิทธิภาพ
EFFICIENCY ENHANCERS
การศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม
5. Higher education and training
ประสิทธิภาพตลาดสินค้า
6. Goods market efficiency
 
ประสิทธิภาพตลาดแรงงาน
7. Labor market efficiency
 
การพัฒนาตลาดการเงิน
8. Financial market development
ความพร้อมของเทคโนโลยี
9.Technological readiness
ขนาด
ตลาด
10. Market
size
ประเทศ/เศรษฐกิจ
Country/
Economy
 
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
Cambodia  
100
3.65
123
2.92
90
4.17
29
4.63
84
3.80
102
3.02
87
3.31
Indonesia
46
4.38
61
4.53
48
4.54
110
3.81
42
4.45
77
3.58
15
5.34
Lao PDR   
107
3.58
110
3.28
59
4.41
34
4.59
101
3.69
115
2.83
121
2.67
Malaysia    
24
4.95
46
4.80
7
5.42
19
4.80
4
5.60
60
4.18
26
4.90
Myanmar 
134
3.11
135
2.44
130
3.68
72
4.21
139
2.58
144
2.07
70
3.70
Philippines  
58
4.27
64
4.45
70
4.32
91
4.03
49
4.37
69
3.78
35
4.68
Singapore  
2
5.68
2
6.09
1
5.64
2
5.69
2
5.84
7
6.09
31
4.71
Thailand  
39
4.53
59
4.58
30
4.74
66
4.24
34
4.61
65
3.94
22
5.09
Vietnam   
74
3.99
96
3.74
78
4.24
49
4.37
90
3.77
99
3.12
34
4.69

ภาพรวมของรากฐานความสามารถในการแข่งขันหมวดที่สองคือ หมวดที่ว่าด้วยเรื่อง ตัวเพิ่มประสิทธิภาพ ( EFFICIENCY ENHANCERS) นี้ ประเทศไทย ได้คะแนนรวมที่ 4.53 อยู่ในอันดับที่ 39 ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 2 มีคะแนน 5.68 และประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 24 มีคะแนน 4.95 ประเทศอินโดนิเซีย ตามหลังประเทศไทยอยู่อันดับที่ 46 ตามด้วย ประเทศฟิลิปปินส์อันดับที่ 58 ประเทศเวียตนามอันดับที่ 74 ประเทศกัมพูชาอันดับที่ 100 ประเทศ ลาว อันดับที่ 107 และประเทศพม่าที่อยู่ในอันดับที่ 134

มาดูว่าความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในหมวดตัวเพิ่มประสิทธิภาพ ( EFFICIENCY ENHANCERS) นี้ว่าอยู่ในระดับใด เริ่มจากรากฐานที่ 5 คือเรื่องการศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม (Higher education and training) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 59 ได้คะแนน 4.58 แพ้ห่าง ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับที่ 2 (อีกแล้ว) และตามหลังประเทศมาเลเซียที่อยู่อันดับที่ 46 แต่ดีกว่าประเทศอินโดนีเซียที่อยู่อันดับที่ 61 ส่วนประเทศฟิลิปปินส์อยู่อันดับที่ 64 ประเทศเวียตนามอยู่อันดับที่ 96 ประเทศลาวอันดับที่ 110 ประเทศกัมพูชาอันดับที่ 123 และประเทศพม่ารั้งท้ายอยู่อันดับที่ 135

การที่จะรู้ว่าทำไมประเทศไทยได้คะแนนในรากฐานที่ 5 เรื่องการศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม (Higher education and training) อยู่ในอันดับที่ 59 ต้องเข้าไปดูในรายละเอียดของรากฐานนี้ว่าประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันได้คะแนนและมีอันดับในแต่ละเรื่องอย่างไรบ้าง

รากฐานที่ 5 : เรื่องการศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม (Higher education and training)

เรื่อง
คะแนน
Value
ตำแหน่งของประเทศไทย
Rank
การเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา
Secondary education enrollment, gross %*
87.0
79
การเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา
Tertiary education enrollment, gross %*
51.2
54
คุณภาพของระบบการศึกษา
Quality of the education system
3.4
87
คุณภาพการศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
Quality of math and science education
3.9
81
คุณภาพของการจัดการโรงเรียน
Quality of management schools
4.1
81
การเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน
Internet access in schools
4.6
61
การมีบริการวิจัยและการฝึกอบรม
Availability of research and training services
4.2
69
การฝึกอบรมของบุคลากร
Extent of staff training
4.4
37


ในรากฐานที่5 เรื่องการศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม นี้ อันดับที่ดีที่สุดของประเทศไทยคือ เรื่องการฝึกอบรมของบุคลากร ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 37 แสดงว่าโรงเรียนและมหาวิทยาลัยของไทยให้โอกาสแก่บุคลากรในการฝึกอบรมมากพอสมควร เรามีการอบรมสัมนากันเยอะมากทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ๆ แต่จะได้คุณภาพมากน้อยเพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อันดับที่ดีถัดมาคือเรื่องการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 54 เพราะมีมหาวิทยาลัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและของเอกชน รวมทั้งมหาวิทยาลัยระบบเปิดที่ให้โอกาสผู้ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้เรียนต่อ อันดับที่ดีถัดมาคือการมีระบบ Internet ให้นักเรียนนักศึกษาครูอาจารย์ได้ใช้ทั้งในโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 61 ส่วนจะใช้เพื่อประโยชน์การศึกษามากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องคุณภาพการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี สำหรับเรื่องการมีบริการวิจัยและการฝึกอบรมในมหาวิทยาลัย ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 69 แต่พอมาถึงเรื่องการเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาของเด็กไทย เราหล่นลงมาอันดับที่ 79 แสดงว่ามีเด็กเรียนจบประถมศึกษาแล้วไม่เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษามากพอสมควร ส่วนเรื่องคุณภาพของการจัดการบริหารโรงเรียน ประเทศไทยถอยไปอยู่อันดับที่ 81 เช่นเดียวกับเรื่องคุณภาพการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประเทศไทยขออยู่อันดับที่ 81 เหมือนกัน ท้ายสุดเมื่อสรุปโดยรวมเรื่องคุณภาพของระบบการศึกษาของประเทศไทย เราถูกจัดให้ไปอยู่อันดับที่ 87 ครับ

คงตัองยอมรับความจริงกันแล้วครับว่า คุณภาพระบบการศึกษาของไทยในเวลานี้ยังต้องพัฒนากันอีกมาก ที่มีประเด็นเรื่องจะเก็บภาษีรายได้โรงเรียนกวดวิชาในเวลานี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งให้เห็นว่า การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาของไทยมีคุณภาพไม่เท่าเทียมกัน นักเรียนจึงต้องดิ้นรนเสียเงินและเวลาไปเรียนพิเศษเพิ่มเติมกับครูอาจารย์ในวิชาต่างๆ เพื่อเตรียมแข่งสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นอาการป่วยของระบบการศึกษาไทย สาเหตุของอาการน่าจะมาจากการจัดการบริหารการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ยังไม่สามารถประกันคุณภาพให้นักเรียนมีความรู้ทางวิชาการในระดับเท่าเทียมกัน นักเรียนไม่มีความมั่นใจว่าความรู้ที่เรียนในโรงเรียนจะสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะสาขาวิชาที่ต้องการได้ จึงจำเป็นต้องไปเรียนกวดวิชาเพิ่มเติม

การที่ประเทศไทยจะก้าวพ้นจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนา ไปเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างประเทศสิงคโปร์ การศึกษาคือพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้คนในประเทศมีความสามารถในการช่วยตนเองให้พ้นจากความยากจนได้ เหมือนอย่างที่ Dr. Muhammad Yunus ศาสตราจารย์ชาวบังกลาเทศผู้ได้รับรางวัล Noble Peace Prize ในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้ง Grameen Bank ธนาคารของคนจน (Banker to the poor) ในประเทศบังกลาเทศ โดยเริ่มต้นจากการให้สินเชื่อขนาดเล็ก (Microcredit) แก่คนจนไปประกอบอาชีพ กล่าวว่า Access to quality education has enabled me to reach far beyond the Bangladeshi village I grew up in.” การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทำให้ข้าพเจ้าเอื้อมไปไกลกว่าอยู่ในหมู่บ้านในบังกลาเทศที่ข้าพเจ้าเติบโต

ประธานาธิบดี John F. Kennedy กล่าวว่า The goal of education is the advancement of knowledge and the dissemination of truth.” เป้าหมายของการศึกษาคือ ความก้าวหน้าของความรู้และการเผยแพร่ความจริง

เป้าหมายการศึกษาของประเทศไทยคืออะไรครับ??

 

 

ขอบคุณที่แนะนำให้เพื่อนอ่านที่


สมชัย ศิริสุจินต์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น