วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

การคอร์รัปชั่นในASEAN

“The road the righteous travel is like the sunrise, getting brighter and brighter until daylight has come. The road of the wicked, however, is dark as night. They fall, but cannot see what they have stumbled over.”     Proverbs 4:18-19
ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่น (The Corruption Perceptions Index) ของประเทศ เป็นหน่วยวัดความน่าเชื่อถือของหน่วยงานภาครัฐ (Public sector) ว่ามีความโปร่งใสในการบริหารราชการอยู่ในระดับไหน โดยให้คะแนนความน่าเชื่อถือในเรื่องความโปร่งใสของหน่วยงานราชการในประเทศนั้น ตั้งแต่ 0 คะแนนไปจนถึง 10 คะแนน ประเทศที่ได้คะแนน 10 แสดงว่าประเทศนั้นมีความใสสะอาดมาก ไม่มีการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการ ประเทศที่ได้คะแนน 0 แสดงว่าประเทศนั้นมีการคอร์รัปชั่นมากในหน่วยงานราชการ ประเทศที่ได้คะแนนตั้งแต่ 5 คะแนน ขึ้นไปจนถึง 10 คะแนนเป็นประเทศที่มีความโปร่งใสในการบริหารราชการ ไม่ค่อยมีการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการ ส่วนประเทศที่ได้คะแนนต่ำกว่า 5 คะแนน แสดงว่ายังเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นค่อนข้างมากในหน่วยงานราชการ
การจัดอันดับตำแหน่งความโปร่งใสของประเทศในเรื่องการคอร์รัปชั่นของหน่วยงานราชการ โดยใช้คะแนน 0 ถึง 10 คะแนนนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของผู้บริหารประเทศนั้นๆที่นำรัฐบาลที่เขาเป็นผู้นำให้มีความเข้มแข็งในการบริหารประเทศด้วยความโปร่งใสมากน้อยเพียงใด ในการขจัดการคอร์รัปชั่นโกงกินในหน่วยงานราชการ และสะท้อนให้เห็นถึงกลไกทางสังคมของประเทศนั้นๆด้วยเช่นกันในเรื่องความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการต่อต้านการคอร์รัปชั่นโกงกินของหน่วยงานราชการในประเทศนั้น
การให้คะแนนเพื่อทำดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นของประเทศต่างๆทั่วโลกนี้ นำมาจากการทำสำรวจของหน่วยงานอิสระที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยทำการสำรวจความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นของหน่วยงานรัฐบาลเช่น การเรียกเงินใต้โต๊ะในการขออนุญาตดำเนินการต่างๆในหน่วยงานราชการ การขอเงินเปอร์เซ็นต์ในการจัดซื้อจัดจ้าง และความฉ้อฉลต่างๆในการใช้จ่ายเงินในโครงการต่างๆของรัฐบาลในประเทศที่ทำการสำรวจวิจัย
ปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่ประชาชนในหลายประเทศในหลายภูมิภาคกำลังลุกขึ้นมาต่อต้าน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนจากการคอร์รัปชั่นของหน่วยงานราชการ เนื่องจากเงินคอร์รัปชั่น คือเงินของประชาชนชนผู้เสียภาษีซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ แต่กลับถูกคนกลุ่มน้อยที่เป็นนักการเมือง ข้าราชการและนักธุรกิจบางคน เบียดบังฉ้อฉลปล้นเงียบเอาไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ทำให้การพัฒนาประเทศล่าช้าเพราะเงินงบประมาณในการพัฒนาประเทศถูกคอร์รัปชั่นโกงกินไป จึงทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง และประเทศมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศด้อยพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
การแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชั่นต้องมาจากความเข้มแข็งของประชาชนในการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับให้มีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่นการจ่ายค่าปรับจากการทำผิดกฎการจราจรให้ตำรวจ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆระดับชาติเช่นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ในหน่วยงานราชการทุกระดับ ตั้งแต่องค์การบริหารส่วนตำบล จนถึงกรม กอง ในกระทรวงต่างๆ ประชาชนต้องร่วมมือกันผลักดันการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการ ให้มีกลไกการบริหารราชการที่โปร่งใส (Transparency)  สามารถเชื่อถือไว้ใจได้ (Accountability) ให้มีการบังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement) ที่มีประสิทธิภาพ และให้มีความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรม (Judiciary independence)
ต่อไปนี้คืออันดับและคะแนนความโปร่งใสจากการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการของประเทศต่างๆที่องค์กร The Transparency International สำรวจจาก 183 ประเทศ ในปี 2011 ขอเลือกเพียงบางประเทศมานำเสนอ เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบ

Rank
Country
Score
1
New Zealand
9.5
2
Denmark
9.4
2
Finland
9.4
4
Sweden
9.3
5
Singapore
9.2
6
Norway
9.0
7
Netherlands
8.9
8
Australia
8.8
8
Switzerland
8.8
10
Canada
8.7
12
Hong Kong
8.4
14
Japan
8.0
32
Taiwan
6.1
43
Korea
5.4
44
Brunei
5.2
60
Malaysia
4.3
75
China
3.6
80
Thailand
3.4
86
Sri Lanka
3.3
90
India
3.1
100
Indonesia
3.0
112
Vietnam
2.9
129
Philippines
2.6
154
Laos
2.2
164
Cambodia
2.1
180
Myanmar
1.5
 

จากตารางข้างต้น เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศนิวซีแลนด์ มีคะแนนเป็นอันดับ 1 ติดตามด้วยประเทศ เดนมาร์ค ฟินแลนด์ สวีเดน สิงคโปร์ นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ และ แคนนาดา เป็น 10 อันดับแรกของประเทศที่มีความโปร่งใสมากๆไม่มีการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการ และประเทศสิงคโปร์ (อีกแล้ว) เป็นเพียงประเทศเดียวของกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่ติดอันดับประเทศที่มีความโปร่งใส ไร้การคอร์รัปชั่น ใน 10 อันดับแรกของโลก
ประเทศอื่นๆในเอเชีย มี ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และ บรูไน ที่มีคะแนนเกิน  5 คะแนน ส่วนประเทศอื่นๆในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ล้วนอยู่ในกลุ่มคะแนนต่ำ 5 ทั้งสิ้น โดยมี ประเทศมาเลเซีย ได้คะแนน 4.3 อยู่ในอันดับที่ 44 ประเทศไทย ได้คะแนน 3.4 อยู่ในอันดับ 80  อินโดนีเซีย ได้คะแนน 3.0 อยู่อันดับ 100 เวียดนาม ได้ 2.9 คะแนน อยู่อันดับที่ 112  ฟิลิปปินส์ ได้คะแนน 2.6 อยู่อันดับที่ 129 ลาว ได้คะแนน 2.2 อยู่อันดับที่ 154  กัมพูชา ได้คะแนน 2.1 อยู่อันดับที่ 164 และ พม่า ได้1.5 คะแนน รั้งท้ายอยู่อันดับที่ 180
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตั้งความหวังไว้ค่อนข้างสูงในการรวมกันเข้าเป็นตลาดเดียวกันและเป็นฐานผลิตเดียวกัน (Single market and single production base) เพื่อดึงดูดการลงทุนจากภูมิภาคอื่นให้เข้ามาลงทุนในประเทศกลุ่ม AEC เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก แต่เมื่อมาดูข้อเท็จจริงในเรื่องความโปร่งใสของหน่วยงานราชการในประเทศของกลุ่ม AEC แล้ว มีเพียงประเทศสิงคโปร์ ประเทศเดียวที่ทิ้งห่างประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ไปยืนโดดเดี่ยวอยู่อันดับที่ 5 มีคะแนนถึง 9.2 คะแนน ประเทศบรูไนเป็นประเทศที่สองของกลุ่ม AEC ที่มีคะแนนเกิน 5 คะแนน ประเทศที่เหลือของกลุ่ม AEC อีก 8 ประเทศ ล้วนมีคะแนนความโปร่งใสในการบริหารราชการ ต่ำกว่า 5 คะแนนทั้งสิ้น แล้วอย่างนี้ นักลงทุนฝรั่งจะกล้าขนเงินเข้ามาลงทุนมากมายมหาศาลอย่างที่ฝันไว้หรือ เมื่อเห็นอันดับและคะแนนอันโดดเด่นในการคอร์รัปชั่นของประเทศกลุ่ม AEC
ต้องยอมรับความจริงว่าในกลุ่มประเทศ AEC ด้วยกัน ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศมาเลเซีย แซงหน้าประเทศไทย ไปแล้วเกือบทุกด้าน แม้แต่ในเรื่องความโปร่งใสในการบริหารราชการ ผู้นำประเทศสิงคโปร์ มีความสามารถขจัดการคอร์รัปชั่นในระบบราชการได้ดีเยี่ยมมาหลายสิบปีแล้ว ผู้นำประเทศมาเลเซียกำลังพยายามทำตามหลังประเทศสิงคโปร์ และสามารถนำห่างประเทศไทยไปพอสมควร
ที่จริงแล้วความสามารถของนักธุรกิจไทย และความสามารถของคนไทย ไม่ได้ด้อยกว่าคนสิงคโปร์ และคนมาเลเซีย แต่ที่ประเทศไทยต้องกลายเป็นประเทศที่ตามหลังประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศมาเลเซีย เป็นเพราะความไม่โปร่งใสในการบริหารราชการของประเทศไทย ที่ผู้นำประเทศหลายคนใช้ภาษาโกหกสีขาว (White lies) ในการบริหารประเทศ จนการคอร์รัปชั่นแพร่ระบาดไปทุกระดับทั่วประเทศ
Jonathan Swift กล่าวว่า “Politics, as the word is commonly understood, are nothing but corruptions” การเมือง (คำที่เข้าใจกันโดยทั่วไปแล้ว) คือไม่ใช่สิ่งอื่นใดเลย นอกจากการคอร์รัปชั่น
ขอปิดท้ายด้วยความหมายของการคอร์รัปชั่นจาก Transparency International
 “Corruption is the abuse of entrusted power for private gain. It hurts everyone who depends on the integrity of people in a position of authority.”
การคอร์รัปชั่น  คือการล่วงละเมิดอำนาจความไว้วางใจที่ได้รับเพื่อประโยชน์ส่วนตน มันทำร้ายทุกคนที่ต้องพึ่งอาศัยคุณธรรมความสัตย์ซื่อของคนที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ
คุณธรรมความสัตย์ซื่อ (Integrity) คือความถูกต้องทางศีลธรรม (Moral uprightness) ที่นำให้คนมีความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty) ในการปฏิบัติต่อตนเองและปฏิบัติต่อผู้อื่น เมื่อเรามีคุณธรรมความสัตย์ซื่อห่อหุ้มจิตใจของเราแล้ว เราจะมีความมั่นคงปลอดภัยในจิตใจ ทำให้ชีวิตมีสันติสุข
Proverbs 10:9 กล่าวว่า “Honest people are safe and secure, but the dishonest will be caught.” คนที่มีความซื่อสัตย์อยู่อย่างปลอดภัยและมั่นคง แต่คนที่ไม่ซื่อสัตย์ จะถูกจับได้ ในที่สุด
อยากบอกผู้นำทั้งหลายให้รู้จักคุณธรรมความสัตย์ซื่อกันบ้างL

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ความสามารถในการแข่งขันของ ASEAN

“Trust in the LORD with all your heart. Never rely on what you think you know.
  Remember the LORD in everything you do, and He will show you the right way.
  Never let yourself think that you are wiser than you are; simply obey the LORD and refuse to do wrong.”                                           Proverbs 3:5-7
นาง Hillary Clinton รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) ของสหรัฐอเมริกา ได้ไปเยี่ยมสำนักงานเลขาธิการสมาคมอาเซียน (Association of South East Asian Nations) ที่นครJakarta ประเทศอินโดนีเซีย และได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคุณสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมอาเซียน โดยนาง Clinton ได้แสดงทัศนะว่าสหรัฐอเมริกามีความสนใจเรื่องการเพิ่มความแข็งแกร่งในความสามารถของอาเซียนในการนำเสนอความท้าทายของภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ (“We [the United States] have an interest in strengthening ASEAN’s ability to address regional challenges in an effective, comprehensive way.”)

            นาง Clinton ให้ความคิดเห็นว่า สมาคมอาเซียนยังมีความสามารถขั้นต่ำในการวิจัยวิเคราะห์ด้วยตนเองเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและผู้นำขององค์กรในขณะนี้แม้มีความสามารถแต่ได้รับอำนาจเพียงเล็กน้อยไม่สามารถแข่งขันการนำกับผู้นำประเทศคนอื่นๆในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันในเวทีโลก (“headed by a figure who, although sometimes capable (as in the current case), is given minimal powers and cannot compete on the global stage with leaders from the Southeast Asian nations themselves.”)
            ขอบคุณคำวิพากษ์อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาของนาง Clinton ซึ่งเราควรรับฟังด้วยใจเปิดกว้างและหันกลับมาสำรวจตนเองอย่างไม่ลำเอียงว่าศักยภาพที่แท้จริงของ ASEAN ในขณะนี้เป็นอย่างไรก่อนที่จะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ที่กำลังรู้จักกันในชื่อ AEC อย่างแพร่หลายในเวลานี้
             The Global Benchmarking Network ได้นำเสนอรายงานความสามารถในการแข่งขันประจำปี (Annual Competitiveness Reports) ของประเทศทั่วโลกจำนวน 139 ประเทศ ขอนำมาเสนอเฉพาะอันดับความสามารถในการแข่งขันของบางประเทศเพื่อให้เรามองเห็นภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในเวทีโลก
            Global Competitiveness Ranking
Rank
Country
Score(1-7)
1
Switzerland
5.7
2
Germany
5.5
3
France
5.4
4
Austria
5.4
5
Sweden
5.3
6
United States
5.3
7
United Kingdom
5.3
8
Spain
5.3
9
Canada
5.3
10
Singapore
5.2
12
Hong Kong
5.2
13
Australia
5.2
19
New Zealand
5.0
22
Japan
4.9
32
Korea
4.6
35
Malaysia
4.6
37
Taiwan
4.6
39
China
4.5
41
Thailand
4.5
62
Brunei
4.1
74
Indonesia
4.0
80
Vietnam
3.9
94
Philippines
3.7
109
Cambodia
3.4


จากตารางข้างต้น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ครองตำแหน่งประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในจำนวน 139 ประเทศทั่วโลก มีคะแนน 5.7 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 7 ติดตามด้วยประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส ออสเตรีย สวีเดน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สเปน แคนาดา และ สิงคโปร์ เป็น 10 อันดับแรก
ในกลุ่มประเทศอาเซียน สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดของกลุ่มอยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก ติดตามด้วยประเทศมาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับที่ 35 ประเทศไทยอันดับที่ 41 ประเทศบรูไน อันดับที่ 62 ประเทศอินโดนีเซียอันดับที่ 74 ประเทศเวียตนามอันดับที่ 80 ประเทศฟิลิปปินส์ อันดับที่ 94 ประเทศกัมพูชา อันดับที่ 109 ส่วนประเทศลาว และพม่า ยังไม่มีอันดับความสามารถในการแข่งขัน
สิงคโปร์ มีคะแนน 5.2 นำห่าง มาเลเซียที่มีคะแนน 4.6 ซึ่งมากกว่า ไทยที่ได้คะแนน 4.5 เพียง .1 คะแนน ประเทศอาเซียนที่เหลือมีคะแนนที่ยังอยู่ห่างจากไทยอีกมาก ไทยอยู่ในตำแหน่งกลุ่มนำของประเทศเทศอาเซียน แต่ทั้งมาเลเซียและไทย ยังต้องพัฒนาตนเองอีกมากกว่าจะตามไปใกล้สิงคโปร์
ประเทศอาเซียนมีความสำคัญขึ้นมาเมื่อรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจเนื่องจากมีจำนวนพลเมืองรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน มีรายได้รวมกันประมาณเท่ากับ 5% ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) โลก
อุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศในกลุ่ม AEC นับว่ามีความสำคัญพอสมควรในเวลานี้เพราะ ASEAN กำลังเป็นภูมิภาคที่ทั่วโลกให้ความสนใจมาก อุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว (Travel and Tourism) ของประเทศในกลุ่ม AEC มีมูลค่าเท่ากับ 4.6% ของมูลค่า GDP รวมของประเทศใน AEC และเมื่อนับรวมมูลค่าทางอ้อม (Indirect) ที่เกิดจากธุรกิจอื่นๆที่ได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว มีมูลค่าเท่ากับ 10.9% ของ GDP รวมของประเทศใน AEC สำหรับตัวเลขการจ้างงานโดยตรงในอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศใน AEC มีจ้างงานจำนวน 9.3 ล้านคน หรือเท่ากับ 3.2 % ของการจ้างงานโดยรวมในกลุ่มประเทศ AEC แต่เมื่อรวมธุรกิจต่อเนื่องทางอ้อมของอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวจะมีการจ้างงานรวมทั้งหมดถึง 20 ล้านคน

ตัวเลขน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของประเทศในกลุ่ม AEC
Country
Rank
(139)
Inter
national
Tourist Arrivals
In million
Receipts
Million
US$
% of
GDP
US$
Per
Capita
GDP
Per
Capita
US$
Singapore
10
10,390
17,990
7.9
3,470.3
43,865
Malaysia
35
24,714
18,259
7.7
646.3
8,418
Thailand
41
19,098
26,256
8.2
411.0
4,992
Brunei
67
214
254
1.8
613
29,852
Indonesia
74
7,650
7,952
1.1
33.5
2,981
Vietnam
80
6,014
5,620
5.4
63.7
1,174
Philippines
94
3,917
2,783
1.7
29.6
2,123
Cambodia
109
2,882
1,683
15.0
112
753
Lao PDR
-
1,670
382
6.8
59.3
1,004
Myanmar
-
391
73
0.2
1.2
742


ประเทศมาเลเซียแซงหน้าประเทศไทยไปแล้วในเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไปประเทศมาเลเซีย โดยมาเลเซียในปี 2011 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 24 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทย มีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 19 ล้านคน แต่ประเทศไทยทำรายรับประมาณ 26,246 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเท่ากับ 8.2%ของ GDP ประเทศไทย มากกว่าประเทศมาเลเซียที่ทำรายรับที่ประมาณ 18,259 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเท่ากับ 7.7% ของ GDP ประเทศมาเลเซีย
ประเทศไทยและประเทศอื่นๆในกลุ่ม AEC ยังมีงานอีกมากในการแก้ไขและพัฒนาอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันในด้านอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน AEC ยังห่างชั้นจากกลุ่มประเทศในยุโรป และอเมริกาเหนืออยู่มาก
การวัดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว วัดจากปัจจัยหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 3 ด้านคือ
1. ปัจจัยด้านกฎหมาย (Regulatory Framework)
2.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ (Business Environment and Infrastructure)
3.ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรม และธรรมชาติ (Human, Culture and Natural resources)
ภายใต้ปัจจัยหลักที่สำคัญทั้ง 3 ด้านนี้ยังมีงานด้านต่างๆที่สำคัญเป็นเสาเข็ม (Pillar) ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวอีก 14 เรื่อง ดังนี้
·      นโยบาย กฎ และระเบียบ (Policies, rules and regulations)
·      ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (Environmental sustainability)
·      ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย (Safety and security)
·      สุขอนามัยและสุขภาพ (Health and hygiene)
·      ลำดับความสำคัญของการเดินทางและการท่องเที่ยว (Prioritization of travel and tourism)
·      โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางอากาศ (Air transport infrastructure)
·      โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งภาคพื้นดิน (Ground transport infrastructure)
·      โครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว (Tourism infrastructure)
·      โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT infrastructure)
·      ความสามารถในการแข่งขันเรื่องราคา (Price competitiveness)
·      ทรัพยากรมนุษย์ (Human resources)
·      สิ่งดึงดูดการเดินทางและการท่องเที่ยว (Affinity for travel and tourism)
·      ทรัพยากรทางธรรมชาติ (Natural resources)
·      ทรัพยากรทางวัฒนธรรม (Cultural resources)
            จะเห็นได้ว่า การที่อุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวของประเทศไทยจะสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆได้นั้น มีเรื่องที่ต้องแก้ไขและพัฒนาถึง 14 หัวข้อซึ่งภายใต้แต่ละหัวข้อยังมีปัจจัยย่อยอีกมากมายหลายเรื่อง ที่ต้องแก้ไขและพัฒนาให้ได้มาตรฐานเพื่อสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้
            ถ้าประเทศไทยจะแข่งขันในเรื่องอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวกับนานาชาติ จะต้องให้ความสนใจเรื่องปัจจัยต่างๆที่เป็นมาตรฐานซึ่งใช้เป็นปัจจัยชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะว่าไปแล้วทั้ง 14 ปัจจัยที่เป็นเสาเข็มหลักของอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวข้างต้นของประเทศไทย ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขและพัฒนาในทุกปัจจัยและยังไม่ได้นำปัจจัยทั้งหมดนี้ขึ้นมาเป็นวาระของชาติในการแก้ไขและพัฒนาปัจจัยสำคัญเหล่านี้ให้ได้มาตรฐาน เพื่อประเทศไทยจะสามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวทั้งในเวทีภูมิภาคและในเวทีโลก
            หลี่ปุ๊เหว่ย ปราชญ์ชาวจีนกล่าวว่า ก่อนที่จะเอาชนะคนอื่น...จักต้องเอาชนะตัวเองให้ได้เสียก่อน ก่อนที่จะว่าคนอื่น...ควรพิจารณาดูตัวเองเสียก่อน ก่อนที่จะรู้จักคนอื่น...ควรจะรู้จักตัวเองเสียก่อน
            ดูตัวเอง เพื่อรู้จักตัวเองให้ดีก่อนเป็น AEC นะครับJ