วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ฟังเป็น


Don’t follow the ways of the wicked; don’t do what evil people do.
Avoid their ways, and don’t follow them. Stay away from them and keep on going.” 
Proverbs 4:14-15

William J.H.Boetcker กล่าวว่า “That you may remain your self- respect, it is better to displease the people by doing what you know is right, than to tempolarily please them by doing what you know is wrong” ถ้าท่านต้องการรักษาความเคารพตนเองไว้ การขัดใจคนด้วยการทำในสิ่งที่คุณรู้ว่าถูกต้องดีกว่าการตามใจคนอย่างชั่วคราวด้วยการทำในที่คุณรู้อยู่แล้วว่าผิด 


 การรู้จักเคารพตนเองเป็นประถมจริยธรรมที่อยู่ในจิตใจมนุษย์ที่พระเจ้าให้ไว้เพื่อให้มนุษย์มีการชั่งใจและยับยั้งความคิดที่ไม่ดี เป็นกรอบการควบคุมการคิดและการกระทำเพื่อไม่ให้มนุษย์ทำร้ายทำลายตนเองและผู้อื่นด้วยการเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ สัตว์โลก และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม 


พระเจ้าสร้างการรู้จักผิดชอบชั่วดีให้มีอยู่เฉพาะในจิตใจของมนุษย์เท่านั้นเพื่อให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ ในสัตว์มีเฉพาะสัญชาตญาณ(Instinct)การเอาตัวรอด แต่มนุษย์มีทั้งสัญชาตญาณการเอาตัวรอดและการรู้จักผิดชอบชั่วดี ดังนั้นมนุษย์จึงมีทั้งความกลัวเกรงและความกล้าหาญอยู่ด้วยกัน สัญชาตญาณทำให้มนุษย์รู้จักหลีกหนีจากสิ่งที่เป็นอันตราย การรู้จักผิดชอบชั่วดีทำให้มนุษย์รู้จักกลัวเกรงไม่กล้าทำบาปทำชั่ว รู้สึกไม่สบายใจในการทำสิ่งที่รู้อยู่ว่าเป็นสิ่งที่ผิด เป็นสิ่งที่ไม่ดี ทำแล้วจะสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นและตนเอง และทำให้มนุษย์มีความกล้าในการทำความดี ทำความถูกต้อง ทำสิ่งที่สร้างความสงบสุขให้แก่ผู้อื่นซึ่งนำความสุขใจมาให้แก่ตนเองด้วย


ถึงอย่างไรก็ตามมนุษย์ก็ยังไม่มีความสมบูรณ์(Perfect) ยังมีโอกาสที่จะทำสิ่งชั่วร้ายเสมอเมื่อระดับจริยธรรมในจิตใจพร่อง ทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจและทำสิ่งที่ไม่ควรทำ เป็นจุดอ่อนในชีวิตมนุษย์ที่จะทำให้ชีวิตไม่มีสันติสุขในใจ(Peace in mind) เพราะระดับตัณหา(Ego)ในตัวท่วมท้นความคิดและมีอำนาจควบคุมการกระทำของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ตกเป็นทาสรับใช้สิ่งชั่วที่บงการจิตใจและการกระทำ ซึ่งทำให้ชีวิตไร้ความสุขที่แท้จริง เพราะสิ่งที่ได้รับเป็นเพียงความพึงพอใจชั่วคราวที่เป็นความสุขเทียม ดังนั้นแม้ว่าเขาอาจจะมีอำนาจและทรัพย์สินเงินทองมากมายตอบสนองตัณหาแต่จิตใจของเขาไม่มีความสงบสุขเพราะตัณหายังควบคุมและบงการให้เขาทำสิ่งชั่วต่อไป เราจึงได้รับความทุกข์และความไม่สบายใจซึ่งเป็นผลจากการกระทำของตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน


การรู้จักเคารพตนเองเป็นชัยชนะแห่งการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะเป็นพื้นฐานไปสู่ความถ่อมใจและความกล้าหาญในการเสียสละ ทำให้สามารถเป็นผู้นำผู้รับใช้ที่ดีได้ การรู้จักเคารพตนเองเป็นพื้นฐานของการมีหลักการชีวิต(Principle)ในการทำงานและดำเนินชีวิต เป็นพื้นฐานของการถ่อมตน(Humility)รู้จักเคารพผู้อื่น และเป็นพื้นฐานของการเสียสละ(Sacrifice)เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น


การรู้จักเคารพตนเองนำไปสู่การรู้จักเคารพผู้อื่น การเคารพผู้อื่นคือการฟังความคิดและความต้องการของผู้อื่น ไม่ปล่อยให้ความคิดและความต้องการของตนเองอยู่เหนือความคิดและความต้องการของผู้อื่น เป็นคุณสมบัติสำคัญในการเป็นผู้นำผู้รับใช้ การรู้จักฟังทำให้ผู้นำผู้รับใช้ประสบความสำเร็จในการนำเพราะทำให้เขาเข้าถึงปัญหาและความต้องการของผู้อื่นได้อย่างถูกต้องซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการนำ เพราะทำให้ผู้นำผู้รับใช้มีโอกาสตอบสนองการรับใช้ของเขาได้อย่างถูกต้อง น่าเสียดายที่ผู้นำหลายคนแม้มีความรู้ ความคิดและความสามารถที่ดีมาก แต่ฟังผู้อื่นไม่เป็น 
ทำให้การนำของเขาล้มเหลว

การฟังที่ดี (Good listening) ทำให้ผู้นำผู้รับใช้ได้ประโยชน์จาก


  • การได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นทำให้ไม่เกิดความสับสน(Confusion)และไม่เกิดความเข้าใจผิด (Misunderstanding)ในปัญหาและความต้องการของผู้พูด ทำให้เห็นภาพปัญหาและความต้องการของผู้พูดอย่างชัดเจน
  • การประหยัดเวลา(Save time) เมื่อผู้นำผู้รับใช้ได้ฟังอย่างตั้งใจแล้วจะไม่เสียเวลาในภายหลัง เพราะไม่ต้องกลับมาถามใหม่ ทำให้ไม่เกิดความผิดพลาดไปตอบสนองในสิ่งที่ไม่ใช่ปัญหาและความต้องการที่แท้จริง ทำให้แก้ไขปัญหาถูกจุดไม่ต้องเสียเวลากลับมาแก้ไขใหม่
  • การทำให้ขวัญ(Morale)ของผู้พูดดีขึ้น เพราะการที่ผู้นำผู้รับใช้ตั้งใจฟังความคิดและความต้องการของผู้พูดทำให้เขารู้สึกดี รู้สึกมีคุณค่าที่มีผู้ให้ความสนใจรับฟังความคิด ปัญหาและความต้องการที่เขาต้องการจะบอก เป็นการให้กำลังใจ(Encouragement)แก่ผู้พูดว่ามีผู้สนใจให้ความช่วยเหลือ
  • การเข้าถึงความคิดหลัก(Main idea)ของผู้พูด ทำให้ผู้นำผู้รับใช้รู้สถานะความคิดของผู้พูดว่ามีความชัดเจนในความคิดหลักของเรื่องที่เขาพูดมากน้อยเพียงไร เป็นโอกาสให้ผู้นำผู้รับใช้กระตุ้นให้ผู้พูดได้ทบทวนความคิด ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้พูดเอง
  • การเข้าถึงวัตถุประสงค์(Objective)ของผู้พูดว่ามีจุดมุ่งหมาย มีความประสงค์อะไร ทำให้ผู้นำผู้รับใช้ รู้ชัดเจนว่าจะต้องตอบสนองความประสงค์ของผู้พูดอย่างไร
  • การเข้าถึงทัศนคติ(Attitude)ของผู้พูด ทำให้ผู้นำผู้รับใช้รู้ว่าผู้พูดมีทัศนคติในแง่ดีหรือไม่ดี เป็นโอกาสของผู้นำผู้รับใช้ในการเข้าใจถึงส่วนลึกของความคิดและความรู้สึกของผู้พูด และเป็นโอกาสที่ผู้นำผู้รับใช้จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้พูดเพื่อปรับทัศนคติให้ถูกต้อง
  • การแสดงความเห็นอกเห็นใจ(Empathy)ต่อผู้พูด การรับฟังทำให้ผู้พูดรู้สึกผ่อนคลายความอึดอัด ความกังวล หรือความทุกข์ใจที่เขามีอยู่ในขณะนั้น การมีความเห็นอกเห็นใจแตกต่างจากการยอมรับ(Acceptance) เพราะการยอมรับหมายถึงการรับในสิ่งที่ให้(Receive what is offered) แต่การเห็นอกเห็นใจคือการนำความรู้สึกของตนเองไปใส่ในความรู้สึกของผู้อื่น

การรู้จักฟังจึงเป็นพื้นฐานนำไปสู่การเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนั้นผู้นำผู้รับใช้จึงต้องตรวจสอบตนเองเสมอว่าได้ตั้งใจฟังดีแล้วหรือยังในการตอบสนองความคิดและความต้องการของผู้ที่เรารับใช้ เพราะการรับใช้ที่ดีเริ่มต้นจากการฟังที่ดี

Bryant H. McGill กล่าวว่า “One of the most sincere form of respect is actually listening to what another has to say.”รูปแบบหนึ่งของการแสดงความเคารพผู้อื่นอย่างจริงใจคือการฟังสิ่งที่ผู้อื่นต้องพูด


James Cash Penney กล่าวว่า “The art of effective listening is essential to clear communication, and clear communication is necessary to management success.” ศิลปะในการฟังอย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้การสื่อสารชัดเจน และการสื่อสารที่ชัดเจนเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดการ


ส่วนหนึ่งของปัญหาในสังคมไทยปัจจุบันเกิดจากการพูดมากว่าการฟัง คุณว่าจริงไหม?


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น