วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (9)



“Never let yourself think that you are wiser than you are; simply obey the Lord and refuse to do wrong.” Proverbs 3:7

 
สวัสดีปีใหม่ครับ

          เริ่มต้นปีใหม่ด้วยอากาศแปรปรวนมีทั้งฝนปนหนาว ขอให้คิดว่าเป็นความชุ่มเย็นที่ดีต่อชีวิตในปีนี้ ที่ต้องเดินหน้าต่อไป แม้จะมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้จะยังคงไม่เติบโตมากนัก เพราะมีปัจจัยหลายตัวทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่ยังไม่สนับสนุนการลงทุนและการค้าขายทางธุรกิจมากนัก
          ปีนี้เป็นปีสุดท้ายของการเตรียมตัวเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามข้อตกลงที่ได้วางแผนร่วมกัน (ถ้าไม่มีการขอเลื่อนกันอีก) ปีหน้าเราก็จะรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการเต็มตัว แม้จะมีเรื่องที่ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน หรือ มีความไม่พร้อมในบางประเทศสมาชิก ก็ต้องให้เวลาในการทะยอยปรับแก้ไขไป เพราะแต่ละประเทศก็มีข้อกฏหมายและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีที่เรียนรู้และปรับตัวเข้ากับข้อตกลงของอาเซียน
          ได้เขียนเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างต่อเนื่องมาหลายตอนเพราะเห็นว่าข้อมูลที่นำเสนอเป็นเรื่องที่คนไทยควรต้องรับรู้และพิจารณา เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันมีผลกระทบต่อการทำมาหากินและการดำรงชีวิตของชาวไทยทั้งในปัจจุบันและของลูกหลานในอนาคต ซึ่งประเทศไทยหนีไม่พ้นการต้องต่อสู้แข่งขันกับประเทศอื่นๆในประชาคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้โดยหลักการของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะใช้หลักคิดว่า การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้ประเทศสมาชิกรวมกันเป็นฐานการผลิตใหญ่เดียวกัน เป็นตลาดใหญ่เดียวกัน จะเกิดความได้เปรียบ มีอำนาจในการต่อรอง สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกมากขึ้น สามารถร่วมมือช่วยเหลือกันในการพัฒนาให้ทุกประเทศสมาชิก มีความเจริญก้าวหน้าด้านต่างๆไปพร้อมๆกัน แต่ในสภาพความเป็นจริง ผู้ประกอบธุรกิจทำการค้าในแต่ละประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยกัน ยังคงต้องแข่งขันกันทำธุรกิจอยู่เช่นเดิม
          ถ้าคนไทยยังไม่สนใจที่จะเรียนรู้สภาพที่แท้จริงของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และไม่สนใจที่จะปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อน ข้อบกพร่องของประเทศ อนาคตของประเทศไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะจะถูกประเทศอื่นๆที่มีความสามารถมากกว่าได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันนี้เราเริ่มเห็นประเทศไทยกำลังสูญเสียตลาดในการค้าขายให้คู่แข่งขันมากขึ้นแล้ว
          เรื่องสำคัญมากที่สุดของประเทศไทยในเวลานี้คือเรื่องสมรรถนะ หรือความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ ( Human resource competency) ซึ่งประเทศไทยต้องปฏิรูปการพัฒนาคนกันใหม่ทั้งระบบ เนื่องจากนโยบายการศึกษาของชาติที่ใช้ในปัจจุบันไม่ตอบสนองต่อบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ลักษณะรูปแบบธุรกิจ การค้า การบริการ การเงิน การลงทุน และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุกปี แต่การเตรียมสร้างคนให้มีความรู้ ทักษะ ต้องใช้เวลานานหลายปี และไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน ความรู้และเทคโนโลยี ที่นักศึกษาเรียนเมื่ออยู่ชั้นปีที่ 1 พอจบการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงาน ความรู้และเทคโนโลยีที่เรียนมากลายเป็นเรื่องล้าสมัย หรือไม่มีใช้ในตลาดแล้ว
          เรื่องประสิทธิภาพตลาดแรงงาน (Labor market efficiency) เป็นรากฐานสำคัญที่ 7 ที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นรากฐานที่มีผลต่อรากฐานความสามารถในการแข่งขันในรากฐานอื่นๆด้วย


 
รากฐาน PILLAR
 
ตัวเพิ่มประสิทธิภาพ
EFFICIENCY ENHANCERS
การศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม
5. Higher education and training
ประสิทธิภาพตลาดสินค้า
6. Goods market efficiency
 
ประสิทธิภาพตลาดแรงงาน
7. Labor market efficiency
 
การพัฒนาตลาดการเงิน
8. Financial market development
ความพร้อมของเทคโนโลยี
9.Technological readiness
ขนาด
ตลาด
10. Market
size
ประเทศ/เศรษฐกิจ
Country/
Economy
 
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
Cambodia  
100
3.65
123
2.92
90
4.17
29
4.63
84
3.80
102
3.02
87
3.31
Indonesia
46
4.38
61
4.53
48
4.54
110
3.81
42
4.45
77
3.58
15
5.34
Lao PDR   
107
3.58
110
3.28
59
4.41
34
4.59
101
3.69
115
2.83
121
2.67
Malaysia    
24
4.95
46
4.80
7
5.42
19
4.80
4
5.60
60
4.18
26
4.90
Myanmar 
134
3.11
135
2.44
130
3.68
72
4.21
139
2.58
144
2.07
70
3.70
Philippines  
58
4.27
64
4.45
70
4.32
91
4.03
49
4.37
69
3.78
35
4.68
Singapore  
2
5.68
2
6.09
1
5.64
2
5.69
2
5.84
7
6.09
31
4.71
Thailand  
39
4.53
59
4.58
30
4.74
66
4.24
34
4.61
65
3.94
22
5.09
Vietnam   
74
3.99
96
3.74
78
4.24
49
4.37
90
3.77
99
3.12
34
4.69

ในรากฐานที่ 7 เรื่องประสิทธิภาพตลาดแรงงานนี้ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่น่าเป็นห่วง ได้คะแนน 4.24 อยู่อันดับที่ 66 ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับ 2 ตามด้วยประเทศมาเลเซียอยู่อันดับที่ 19 ประเทศกัมพูชาอันดับที่ 29 ประเทศลาวอันดับที่ 34 ประเทศเวียตนามอันดับที่ 49  ประเทศไทยถูก 3 ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มสมาชิกอาเซียนใหม่ที่เราเรียกว่า CLMV แซงหน้าไปเรียบร้อยแล้ว แม้ว่าเราจะรู้สึกและเข้าใจเอาเองว่าศักยภาพด้านตลาดแรงงานในประเทศกลุ่ม CLMV จะยังสู้ประเทศไทยไม่ได้ แต่ข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญเขาศึกษามันบ่งชี้ มีเพียง ประเทศเมียนม่าร์ ที่ตามหลังประเทศไทยอยู่อันดับที่ 72 ส่วนประเทศฟิลิปปินส์อยู่อันดับที่ 91 และประเทศใหญ่อย่างอินโดนีเซีย กลับรั้งท้ายอยู่อันดับที่ 110
ทีนี้ต้องมาพิจารณาว่าทำไมประเทศไทยถึงได้อันดับที่ผิดความคาดหมายในรากฐานที่ 7 เรื่องประสิทธิภาพตลาดแรงงาน (Labor market efficiency) แถมยังถูกประเทศน้องใหม่ทางเศรษฐกิจอย่าง กัมพูชา ลาว และ เวียตนาม แซงหน้าไปแล้ว ประเด็นเรื่องสำคัญในรากฐานที่  7 เรื่องประสิทธิภาพตลาดแรงงานนี้ ประเทศไทยได้คะแนนและอันดับอะไรบ้าง
 

รากฐานที่ 7 ประสิทธิภาพตลาดแรงงาน (Labor market efficiency)


เรื่อง
คะแนน
Value
อันดับของประเทศไทย
Rank
ความร่วมมือในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
Cooperation in labor-employer relations
4.9
32
ความยืดหยุ่นของการกำหนดค่าจ้าง
Flexibility of wage determination
4.3
116
วิธีปฏิบัติในเรื่องการจ้าง และการเลิกจ้าง
Hiring and firing practices
4.4
23
ต้นทุนของความซ้ำซ้อน เงินเดือนต่อสัปดาห์
Redundancy costs, weeks of salary*.
36.0
133
ผลกระทบของการเก็บภาษีรายได้จากเงินเดือนค่าจ้างต่องาน
Effect of taxation on incentives to work
3.8
60
ค้าจ้างและผลผลิต
Pay and productivity
4.2
50
ความเชื่อถือวางใจของการจัดการอย่างมืออาชีพ
Reliance on professional management
4.5
51
ความสามารถของประเทศในการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูง
Country capacity to retain talent
4.1
33
ความสามารถของประเทศในการดึงดูดทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูง
Country capacity to attract talent
3.9
36
อัตราส่วนของแรงงานผู้หญิงต่อแรงงานชาย
Women in labor force, ratio to men*
0.83
67


                        ดูจากอันดับที่ประเทศไทยได้ในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแข่งขันด้านประสิทธิภาพของตลาดแรงงานไทยแล้ว จะเห็นได้ว่า อันดับที่ดีที่สุดของประเทศไทยคือเรื่อง วิธีปฏิบัติในเรื่องการจ้าง และการเลิกจ้าง ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 23 เรื่องนี้ประเทศไทยมีกฏหมายแรงงานควบคุมการว่าจ้างและการเลิกจ้างที่คุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ให้ลูกจ้างอย่างดีอยู่แล้ว จึงได้คะแนนและอันดับที่ค่อนข้างดี อันดับที่ดีถัดมาคือเรื่องความร่วมมือในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ที่ได้อันดับที่ 32 เรื่องแรงงานสัมพันธ์แบบไทยๆที่ไม่ค่อยมีเรื่องรุนแรง ระหว่างสหภาพลูกจ้าง กับนายจ้าง ส่วนใหญ่ทั้งสองฝ่ายก็เจรจากันและตกลงกันได้ ไม่ค่อยมีเหตุการณ์ขัดแย้งกันจนเกิดความเสียหายในวงกว้าง ถือว่าลูกจ้างและนายจ้างมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อันดับถัดมาคือเรื่องความสามารถในการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มีฝีมือความเก่ง เรื่องนี้เราทำได้ดีพอสมควรในการรักษาคนมีความสามารถไว้ในประเทศ ไม่เกิดอาการสมองไหลคนเก่งย้ายไปทำงานในต่างประเทศมาก จะมีก็เฉพาะเรื่องแรงงานช่างฝีมือส่วนหนึ่งที่ไปทำงานก่อสร้างในต่างประเทศ และในเรื่องเดียวกันประเทศไทยสามารถดึงดูดทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูงให้เข้ามาทำงานในประเทศได้ โดยอยู่ในอันดับที่ 36 คนต่างชาติอยากมาอยู่ทำงานในประเทศไทยมากเพราะคนไทยใจดีโอบอ้อมอารีไม่มีการกีดกันคนต่างชาติ
          มีเพียง 4 เรื่องข้างต้นที่ประเทศไทยได้อันดับพอใช้ได้ เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแข่งขันด้านประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน เราติดอันดับตั้งแต่อันดับที่ 50 ลงไปจนถึงอันดับที่ 133 แสดงให้เห็นถึงข้อด้อยอีกหลายเรื่องที่ต่างประเทศเขามองเรา และให้คะแนนเราตามทัศนะที่เขามองเห็น ว่าเรายังไม่สามารถแข่งขันได้ในเรื่องประสิทธิภาพตลาดแรงงาน จึงเป็นเรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจและหาเหตุผลกันว่า จะทำอย่างไรถึงช่วยกันแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้นได้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น
          John Dickey กล่าวว่า The end of education is to see men made whole, both in competence and in conscience.” จุดหมายปลายทางของการศึกษาคือการได้เห็นคนบรรลุโดยสมบูรณ์ทั้งในการมีความสามารถและในการมีศีลธรรม

          เป้าหมายการศึกษาของประเทศไทยคืออะไรครับ  ?

 

ขอบคุณที่แนะนำให้เพื่อนอ่านที่


สมชัย ศิริสุจินต์

 

 

 

1 ความคิดเห็น:

  1. คุณจำเป็นต้องกู้เงินที่จะจ่ายให้การเรียกเก็บเงินหรือการเริ่มต้นธุรกิจ? ส่งอีเมล์หาเราตอนนี้ :: johnsoncole08@gmail.com



    เราได้รับการรับรองและการรับรองโดยรัฐ บริษัท เงินกู้และเงื่อนไขเงินกู้ของเราและให้กำลังใจและราคาถูกมากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คือ 1.5% ตอนนี้เราได้เริ่มต้นที่จะให้ข้อเสนอเงินกู้ปีใหม่กับผู้กู้อย่างจริงจังและเชื่อถือได้ที่สามารถชำระคืนเงินกู้ของเราเมื่อมีการกำหนดชำระคืน โปรดทราบว่าเราจะต้องกู้อย่างจริงจังที่จะใช้สำหรับการกู้ ..



    ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง ส่งอีเมล์หาเราตอนนี้ :: johnsoncole08@gmail.com



    ความนับถือ

    ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา

    ตอบลบ