“So you must follow the example of
good men and live a righteous life. Righteous men- men of integrity- will live
in this land of ours.”
Proverbs 2:20-21
ได้นำเสนอเรื่องรากฐานความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของประเทศไทยไปแล้ว วันนี้ขอเสนอรากฐานความสามารถในการแข่งขันที่สำคัญประการที่
3 ในหมวดความต้องการพื้นฐาน คือ เรื่องสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค
(Macroeconomic
environment) ของประเทศที่นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจ
เพราะเรื่องระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ เป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางการเงินของประเทศ
และมีผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนทาง การค้า การทำธุรกิจทุกประเภท เนื่องจากนโยบายหรือมาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้กระตุ้นหรือควบคุมเศรษฐกิจการเงินของประเทศ
มีผลต่อตลาดหุ้น อัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ค่าของเงิน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างเช่นสถานะการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจจากหลายหน่วยงาน
ทั้งของราชการและเอกชน ต่างทะยอยออกมาแถลงแล้วว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้ไม่น่าเกิน 2 เปอร์เซนต์ จากที่เคยประกาศตัวเลขตอนต้นปีว่า ปึ 2557 ประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 4 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนด้วยกันแล้ว
ประเทศเพื่อนบ้านต่างมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า 4 เปอร์เซนต์ในปีนี้ ตัวเลขอย่างนี้สะท้อนสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทยว่าน่าจะนโยบายทางเศรษฐกิจบางประการที่เป็นเหตุทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและความแข็งแรงทางเศรษฐกิจของประเทศ มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนขยายธุรกิจ
หรือ นักลงทุนในธุรกิจใหม่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนเสมอ
รากฐาน Pillar
|
|||||||||||
ปัจจัยต้องการพื้นฐาน
BASIC REQUIREMENTS
|
สถาบัน
1.Institutions
|
โครงสร้างพื้นฐาน2.Infrastructure
|
เศรษฐกิจมหภาค3.Macroeconomic
environment
|
สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น
4.Health and primary education
|
|||||||
ประเทศ/เศรษฐกิจCountry
/Economy
|
ตำแหน่ง
Rank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
ตำแหน่งRank
|
คะแนนScore
|
|
Cambodia
|
103
|
4.09
|
119
|
3.25
|
107
|
3.05
|
80
|
4.60
|
91
|
5.44
|
|
Indonesia
|
46
|
4.91
|
53
|
4.11
|
56
|
4.37
|
34
|
5.48
|
74
|
5.67
|
|
Lao
PDR
|
98
|
4.13
|
63
|
3.92
|
94
|
3.38
|
124
|
3.78
|
90
|
5.44
|
|
Malaysia
|
23
|
5.53
|
20
|
5.11
|
25
|
5.46
|
44
|
5.26
|
33
|
6.28
|
|
Myanmar
|
132
|
3.36
|
136
|
2.80
|
137
|
2.05
|
116
|
4.00
|
117
|
4.59
|
|
Philippines
|
66
|
4.63
|
67
|
3.86
|
91
|
3.49
|
26
|
5.76
|
92
|
5.41
|
|
Singapore
|
1
|
6.34
|
3
|
5.98
|
2
|
6.54
|
15
|
6.13
|
3
|
6.73
|
|
Thailand
|
40
|
5.01
|
84
|
3.66
|
48
|
4.58
|
19
|
6.01
|
66
|
5.80
|
|
Vietnam
|
79
|
4.44
|
92
|
3.51
|
81
|
3.74
|
75
|
4.66
|
61
|
5.86
|
|
สำหรับรากฐานที่ 3 ในหมวดปัจจัยต้องการพื้นฐานคือ เรื่องสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic environment) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 19 ได้คะแนน 6.01 ถือว่าอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างดี แม้จะสู้ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับที่
15 ไม่ได้ แต่ดีกว่าประเทศฟิลิปปินส์ อันดับที่ 26 ประเทศอินโดนีเซียอันดับที่ 34 ประเทศมาเลเซียอันดับที่ 44 ประเทศเวียตนามอันดับที่ 75 ประเทศกัมพูชาอันดับที่ 80 ประเทศพม่าอันดับที่
116 และประเทศลาว อันดับที่ 124
การที่ประเทศไทยได้คะแนนในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคค่อนข้างดี
เขาศึกษาวิเคราะห์เรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ 5เรื่อง ซึ่งประเทศไทย ได้คะแนนในแต่ละเรื่อง และมีอันดับดังนี้
รากฐานที่ 3 สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค
(Macroeconomic environment)
เรื่อง
|
คะแนน
Value
|
ตำแหน่งของประเทศไทย
Rank
|
งบประมาณของรัฐบาลที่สมดุล
กับอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
Government
budget balance, % GDP*
|
–0.2
|
27
|
เงินออมประชาชาติ
กับอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ
Gross
national savings, % GDP*
|
28.5
|
27
|
เงินเฟ้อ
กับอัตราการเปลี่ยนแปลงในปี
Inflation,
annual % change*
|
2.2
|
1
|
หนี้สินทั่วไปของรัฐบาลกับอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ
General
government debt, % GDP*
|
45.3
|
78
|
อันดับเครดิตของประเทศ
Country
credit rating, 0–100 (best)*
|
63.5
|
43
|
อันดับที่ดีที่สุดของประเทศไทยในหมวดสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคคือ
เรื่องเงินเฟ้อกับอัตราการเปลี่ยนแปลงซึ่งประเทศไทยได้คะแนน 2.2 และอยู่ในอันดับที่ 1 ซึ่งน่าจะเป็นผลจากในช่วงระยะเวลาปีที่ทำการศึกษาอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยไม่มากและค่อนข้างนิ่ง
จึงทำให้ได้คะแนนดีในเรื่องนี้
อันดับที่ดีถัดมาของประเทศไทยคือเรื่องงบประมาณของรัฐบาลที่ตั้งงบประมาณได้สมดุล
กับอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวม ทำให้ได้อันดับที่ 27 และเงินออมประชาชาติ กับอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ
ก็ได้อันดับที่ 27 เหมือนกัน แสดงว่านโยบายการเงินและการคลังของประเทศไทย
ยังเป็นที่น่าเชื่อถือได้ เพราะรัฐบาลสามารถบริหารงบประมาณได้ดี ยังสามารถใช้หนี้คืนได้
เหมือนบางประเทศที่มีปัญหา รัฐบาลไทยยังมีระเบียบวินัยทางการคลังที่ดี และประเทศยังมีเงินออมในประเทศเพื่อใช้ในการลงทุนได้พอสมควร
ส่วนเรื่องความน่าเชื่อถือทางการเงินของประเทศ คือเรื่องเครดิตของประเทศไทยอยู่อันดับที่
43 ถือว่ายังไม่เสียหาย
ยังไม่ขี้เหร่จนไม่มีใครกล้าให้กู้เงิน ส่วนเรื่องหนี้สินทั่วไปของรัฐบาลกับอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศอยู่ในอันดับที่
78 เป็นอันดับที่แย่ที่สุดในหมวดนี้
แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้สินมากพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับการหารายได้แล้ว
น่าจะเป็นข้อควรระวังของรัฐบาลในการใช้นโยบายประชานิยมมากจนเกินกำลัง ทำให้ประเทศมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
สำหรับรากฐานที่ 4 คือรากฐานเรื่องสุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น (Health and primary education) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 66 เป็นอันดับที่อาจจะค้านกับความรู้สึกของคนไทยพอสมควร
เพราะมีความเข้าใจว่าระบบสาธารณสุขและระบบการศึกษาของประเทศไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคนี้
แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าประเทศสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 3 เป็นที่ยอมรับอย่างไม่กังขาว่าระบบสาธารณสุขและการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ก้าวหน้าไปไกลอยู่ในอันดับต้นๆของโลกไปแล้ว
ประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 33 เป็นประเทศที่พยายามพัฒนาตามประเทศสิงคโปร์
และประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ก้าวหน้าไปไกลกว่าประเทศไทยแล้วเช่นกัน
แต่ที่น่าสนใจคือ ประเทศเวียตนาม ที่สามารถแซงหน้าประเทศไทยไปอยู่อันดับที่ 61 หลายท่านอาจจะรู้สึกค้าน แต่ต้องยอมรับว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศเวียตนามได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ส่วนประเทศที่ตามหลังประเทศไทยได้แก่ประเทศอินโดนีเซียอยู่อันดับที่
74 ประเทศลาวอันดับที่ 90 ประเทศกัมพูชาอันดับที่ 91 ประเทศฟิลิปปินส์อันดับที่
92 และประเทศพม่าอันดับที่ 117
ทำไมรากฐานที่ 4 เรื่อง สุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 66 เขาพิจารณาจากปัจจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน
และการให้บริการการศึกษาเบื้องต้นดังนี้
รากฐานที่ 4 สุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Health and primary education)
เรื่อง
|
คะแนน
Value
|
ตำแหน่งของประเทศไทย
Rank
|
จำนวนผู้ป่วยโรคมาเลเรียต่อประชากร
100,000 คน
Malaria
cases/100,000 pop.*
|
209.6
|
39
|
ผลกระทบต่อธุรกิจจากโรคมาเลเรีย
Business
impact of malaria
|
5.4
|
24
|
จำนวนผู้ป่วยโรควัณโรคต่อประชากร
100,000 คน
Tuberculosis
cases/100,000 pop.*
|
119.0
|
99
|
ผลกระทบต่อธุรกิจจากโรควัณโรค
Business
impact of tuberculosis
|
4.7
|
99
|
อุบัติการณ์ของการติดเชื้อ
HIV โรคเอดส์ อัตราในประชากรผู้ใหญ่
HIV
prevalence, % adult pop.*
|
1.1
|
110
|
ผลกระทบต่อธุรกิจจากการติดเชื้อ
HIV และโรค AIDS
Business
impact of HIV/AIDS
|
4.6
|
105
|
อัตราการตายของทารกต่อการเกิดมีชีพ
1000 ราย
Infant
mortality, deaths/1,000 live births*
|
11.4
|
61
|
อายุขัยเฉลี่ยของประชากร
Life
expectancy, years*
|
74.2
|
70
|
คุณภาพการศึกษาเบื้องต้น
Quality
of primary education
|
3.6
|
90
|
อัตราการเข้าโรงเรียนในระดับการศึกษาเบื้องต้น
Primary
education enrolment, net %*
|
95.6
|
58
|
อันดับดีที่สุดของประเทศไทยในหมวดเรื่องสุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น
คือเรื่องโรคมาเลเรียที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 24 และจำนวนผู้ป่วยโรคมาเลเรียต่อประชากร
100,000 คน
ที่อยู่ในอันดับ 39 นับว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคมาเลเรียได้ค่อนข้างดี
ไม่มีการระบาดของโรคนี้ในวงกว้าง จำนวนผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มขึ้นบ้างในระยะหลังๆน่าจะเป็นผลจากการย้ายถิ่นของประชาชนประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาขายแรงงานในประเทศไทยและเป็นพาหะนำโรคนี้เข้ามาในประเทศไทย
อันดับที่ดีถัดมาคือเรื่องอัตราการเข้าโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่อยู่อันดับที่
58 เพราะประเทศไทยมีโรงเรียนในระดับประถมศึกษากระจายครอบคลุมทั่วประเทศ
แม้แต่บนดอยสูงก็มีโรงเรียนที่ครูตำรวจชายแดนสอน
แต่พอมาดูเรื่องคุณภาพของเด็กที่เรียนในระดับประถมศึกษา ประเทศไทยหล่นไปอยู่อันดับที่
90
สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการศึกษาเบื้องต้นของไทย เป็นการยืนยันผลการสำรวจเรื่องเด็กไทยเรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้วยังอ่านหนังสือไม่ออก
เขียนไม่ได้ เรื่องการศึกษาจึงเป็นวาระของประเทศไทยที่ต้องรีบปฏิรูประบบการศึกษาเป็นการด่วน
อันดับถัดไปคือเรื่องอัตราการตายของทารกแรกคลอดต่อการเกิดมีชีพ
1,000 ราย
ซึ่งประเทศไทยมีตัวเลขการตายของทารกแรกคลอดเฉลี่ย 4.1 คนต่อการคลอด 1,000 ราย ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 61 ยังต้องพัฒนาเรื่องนี้ต่อไปกระทรวงสาธารณสุขไทยต้องรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจกับหญิงมีครรภ์และครอบครัวเพื่อลดตัวเลขการตายของทารกแรกคลอดลง
ส่วนเรื่องอายุขัยเฉลี่ยของประชากรไทยอยู่อันดับที่ 70 แม้จะเป็นอันดับไม่ค่อยดี แต่มีแนวโน้มว่าอายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงไทยจะยืนยาวถึง
78 ปี จึงจะยอมลาจากไป
ในขณะที่ผู้ชายไทยอายุเฉลี่ยประมาณ 71 ปี ก็อำลาโลกแล้ว
อันดับที่น่าห่วงใยถัดมาคือเรื่องจำนวนผู้ป่วยโรควัณโรคต่อประชากร
100,000 คน และผลกระทบต่อธุรกิจจากโรควัณโรค
ที่ประเทศไทยได้อันดับ 99 ทั้ง 2 รายการ วัณโรคซึ่งเป็นโรคที่เคยแทบจะหายไปจากประเทศไทยแล้วในอดีต
ปัจจุบันหวนกลับมาระบาดอีกครั้ง สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการอพยพข้ามถิ่นของประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านและนำเชื้อโรคมาด้วย
และจากการที่ผู้ป่วยโรคเอดส์ได้รับเชื้อวัณโรคง่ายเนื่องจากร่างกายอ่อนแอขาดภูมิคุ้มกันทำให้เกิดการระบาดได้มากขึ้น
อันดับที่ไม่ดีส่งท้ายในเรื่องสุขภาพของคนไทยคือเรื่องการติดเชื้อ
HIV และป่วยเป็นโรคเอดส์ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจซึ่งประเทศไทยอยู่อันดับที่
105 และอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ HIV โรคเอดส์ ต่ออัตราประชากรผู้ใหญ่ที่ประเทศไทยอยู่อันดับ110 สะท้อนความจริงว่า
สถานการณ์โรคเอดส์ของประเทศไทยยังน่าเป็นห่วง ยังมีปัญหาที่ต้องใส่ใจ เพราะยังมีจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ทั่วประเทศไทยอยู่ประมาณ
5-6 ล้านคน และที่ไม่สบายใจคือ
มีจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000-20,000 คน แสดงว่าคนไทยมีพฤติกรรมเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ระมัดระวัง
เป็นประเด็นที่ต้องช่วยกันรณรงค์สร้างความเข้าใจในสังคมไทยให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนไทย
Jack
Welch กล่าวว่า “An
organization's ability to learn, and translate that learning into action
rapidly, is the ultimate competitive advantage.”
ความสามารถขององค์กรในการเรียนรู้
และเปลี่ยนการเรียนรู้นั้นเป็นการปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว
คือความสามารถในการแข่งขันอย่างสูงสุด
ประเทศไทยมีความสามารถในการเรียนรู้ขนาดใหน
และมีความสามารถในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติให้เกิดผลได้รวดเร็วเพียงใด
คือความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
ขอบคุณที่แนะนำให้เพื่อนอ่านที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น