วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (8)




“Trust in the Lord with all your heart. Never rely on what you think you know. Remember the Lord in everything you do, and he will show you the right way.”                        Proverbs 3:5-6

 

          รากฐานความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่มีความสำคัญในหมวดตัวเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency Enhancers) รากฐานต่อไปคือ รากฐานที่ 6 เรื่องประสิทธิภาพตลาดสินค้า (Goods market efficiency) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการลงทุนทำธุรกิจ เพราะการผลิตสินค้าหรือให้บริการจะต้องมีตลาดรองรับก่อน และตลาดต้องมีขนาดใหญ่พอ คนมีกำลังซื้อมากพอ และมีศักยภาพทางธุรกิจในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงจะเป็นตลาดที่นักลงทุนสนใจ

 

 
รากฐาน PILLAR
 
ตัวเพิ่มประสิทธิภาพ
EFFICIENCY ENHANCERS
การศึกษาระดับสูงและการฝึกอบรม
5. Higher education and training
ประสิทธิภาพตลาดสินค้า
6. Goods market efficiency
 
ประสิทธิภาพตลาดแรงงาน
7. Labor market efficiency
 
การพัฒนาตลาดการเงิน
8. Financial market development
ความพร้อมของเทคโนโลยี
9.Technological readiness
ขนาด
ตลาด
10. Market
size
ประเทศ/เศรษฐกิจ
Country/
Economy
 
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
Cambodia  
100
3.65
123
2.92
90
4.17
29
4.63
84
3.80
102
3.02
87
3.31
Indonesia
46
4.38
61
4.53
48
4.54
110
3.81
42
4.45
77
3.58
15
5.34
Lao PDR   
107
3.58
110
3.28
59
4.41
34
4.59
101
3.69
115
2.83
121
2.67
Malaysia    
24
4.95
46
4.80
7
5.42
19
4.80
4
5.60
60
4.18
26
4.90
Myanmar 
134
3.11
135
2.44
130
3.68
72
4.21
139
2.58
144
2.07
70
3.70
Philippines  
58
4.27
64
4.45
70
4.32
91
4.03
49
4.37
69
3.78
35
4.68
Singapore  
2
5.68
2
6.09
1
5.64
2
5.69
2
5.84
7
6.09
31
4.71
Thailand  
39
4.53
59
4.58
30
4.74
66
4.24
34
4.61
65
3.94
22
5.09
Vietnam   
74
3.99
96
3.74
78
4.24
49
4.37
90
3.77
99
3.12
34
4.69

 

ในรากฐานนี้ประเทศไทยได้คะแนน 4.74 อยู่อันดับที่ 30 ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับ 1 ตามด้วยประเทศมาเลเซียอยู่อันดับที่ 7 ประเทศไทยถูกประเทศมาเลเซียทิ้งค่อนข้างห่าง ส่วนประเทศอินโดนีเซียตามหลังประเทศไทยอยู่อันดับที่ 48 ประเทศลาวอยู่อันดับที่ 59 ดีกว่าประเทศฟิลิปปินส์ที่อยู่อันดับที่ 70 ประเทศเวียตนามอันดับที่ 78 ประเทศกัมพูชาอันดับที่ 90 และประเทศพม่า อันดับที่ 130

คงต้องดูว่าประเด็นเรื่องสำคัญในรากฐานที่ 6 เรื่องประสิทธิภาพตลาดสินค้า นี้ ประเทศไทยได้คะแนนและอันดับอะไรบ้าง

 

รากฐานที่ 6 ประสิทธิภาพตลาดสินค้า (Goods market efficiency)

เรื่อง
คะแนน
Value
อันดับของประเทศไทย
Rank
ความเข้มข้นรุนแรงของการแข่งขันในท้องถิ่น
Intensity of local competition
5.4
38
การครอบครองตลาด
Extent of market dominance
3.8
67
ประสิทธิภาพในการต่อต้านนโยบายผูกขาด
Effectiveness of anti-monopoly policy
4.1
67
ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีต่อการให้ผลประโยชน์จูงใจในการลงทุน
Effect of taxation on incentives to invest
3.9
54
อัตราภาษีโดยรวมต่อร้อยละกำไร
Total tax rate, % profits*
29.8
37
จำนวนขั้นตอนในการเริ่มก่อตั้งธุรกิจ
No. procedures to start a business*
4
22
จำนวนวันที่ต้องใช้ในการก่อตั้งธุรกิจ
No. days to start a business*
27.5
108
ต้นทุนนโยบายของสินค้าเกษตร
Agricultural policy costs
3.1
124
จำนวนกรณีการกีดกันทางการค้า
Prevalence of trade barriers
4.5
55
อัตราภาษีการค้าต่อร้อยละภาษีศุลกากร
Trade tariffs, % duty*
6.8
84
จำนวนเจ้าของธุรกิจที่เป็นชาวต่างชาติ
Prevalence of foreign ownership
4.5
70
ผลกระทบต่อธุรกิจอันเนื่องจากกฏที่เกี่ยวกับการเงินลงทุนโดยตรง
Business impact of rules on FDI
5.1
22
ภาระอันเกิดจากกระบวนการศุลกากร
Burden of customs procedures
3.9
74
การนำเข้าสินค้าเป็นร้อยละของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
Imports as a percentage of GDP*
78.9
25
ระดับการความเข้าใจเรื่องลูกค้า
Degree of customer orientation
5.4
17
ความซับซ้อนของผู้ซื้อ
Buyer sophistication
4.1
23

 

          ขอฝากในท่านผู้อ่านเป็นผู้พิจารณาข้อมูลที่นำเสนอนี้ด้วยตนเองนะครับว่าประเด็นในแต่ละเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพตลาดสินค้าของประเทศไทยและ อันดับที่ประเทศไทยได้รับนั้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมึความสามารถในการแข่งขันมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆอีก 143 ประเทศทั่วโลก

          ขอถือโอกาสนี้ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ได้กรุณาใช้เวลาในการอ่านเรื่องที่ได้นำเสนออย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และหลายท่านได้กรุณาส่งต่อให้เพื่อนๆได้อ่าน หรือนำไปเผยแพร่ต่อในวงกว้างต่อไป

          เรื่องราวที่อ่านแล้วท่านรู้สึกได้รับประโยชน์เป็นเพราะความคิดความเข้าใจของท่านเอง แต่หากมีข้อมูลใดไม่ตรงกับความคิดและความเข้าใจของท่าน หรือมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูล ผมต้องขออภัยในความบกพร่องที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยครับ

          ในเทศกาลคริสตสมภพและปีใหม่ ๒๕๕๘ ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าได้โปรดอวยพระพรให้ท่านและครอบครัวมีความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรง มีสันติสุขในชีวิต มีพลังและกำลังใจในการดำรงชีวิต เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศไทยให้ดีขึ้นต่อไป

 
Merry Christmas and Happy New Year


สมชัย ศิริสุจินต์

sirisujin@gmail.com