วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความสามารถในการแข่งขันของไทย (4)



“Righteous people know the kind thing to say, but the wicked are always saying things that hurt.”                                                                  Proverbs 10:32
 
ได้นำเสนอเรื่องความสามารถของประเทศไทยโดยภาพรวมในประชาคมโลกและเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ด้วยกันไปแล้ว เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ อยู่ในตำแหน่งลำดับที่เท่าไหร่ในประเทศกลุ่ม AEC รวมทั้งรู้ว่าประเทศไทยมีคะแนนและตำแหน่งลำดับที่เท่าไหร่ในด้าน ปัจจัยความต้องการพื้นฐาน  ด้านประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และด้านนวัตกรรมและความช่ำชองของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
เพื่อให้ท่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น ขอนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมที่เจาะลึกลงไปในรากฐานความสามารถในการแข่งขันในแต่ะเรื่องซึ่งคณะผู้ศึกษาได้จัดตำแหน่งตามคะแนนของรากฐานความสามารถในการแข่งขันแต่ละเรื่อง ขอนำมาเปรียบเทียบเฉพาะกลุ่มประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้น ท่านที่สนใจจะไปลงทุน หรือทำธุรกิจกับประเทศอื่นๆนอกเหนือจากที่นำเสนอนี้ สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่รายงาน The Global Competitiveness Index 2014–2015 ซึ่งมีข้อมูลในรายละเอียดของประเทศต่างๆอีกมาก
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกลุ่มแรกคือเรื่อง ปัจจัยต้องการพื้นฐาน (Basic Requirements) มีรากฐานสำคัญ 4 รากฐานคือ (1) สถาบัน (2) โครงสร้างพื้นฐาน (3) สภาพเศรษฐกิจมหภาค และ (4) สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งแต่ละรากฐานมีความสำคัญต่อการทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน และประเทศไทยมีคะแนนและอันดับที่แตกต่างกันในแต่ละรากฐานดังนี้
 
 
รากฐาน Pillar
 
ปัจจัยต้องการพื้นฐาน
BASIC REQUIREMENTS
สถาบัน
1.Institutions
โครงสร้างพื้นฐาน2.Infrastructure
เศรษฐกิจมหภาค3.Macroeconomic environment
สุขภาพและการศึกษาเบื้องต้น
4.Health and primary education
ประเทศ/เศรษฐกิจCountry/Economy
  ตำแหน่ง
Rank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
ตำแหน่งRank
คะแนนScore
 
Cambodia  
103
4.09
119
3.25
107
3.05
80
4.60
91
5.44
Indonesia  
46
4.91
53
4.11
56
4.37
34
5.48
74
5.67
Lao PDR    
98
4.13
63
3.92
94
3.38
124
3.78
90
5.44
Malaysia     
23
5.53
20
5.11
25
5.46
44
5.26
33
6.28
Myanmar   
132
3.36
136
2.80
137
2.05
116
4.00
117
4.59
Philippines   
66
4.63
67
3.86
91
3.49
26
5.76
92
5.41
Singapore   
1
6.34
3
5.98
2
6.54
15
6.13
3
6.73
Thailand  
40
5.01
84
3.66
48
4.58
19
6.01
66
5.80
Vietnam    
79
4.44
92
3.51
81
3.74
75
4.66
61
5.86
 
ในด้าน ปัจจัยที่ต้องการพื้นฐานนี้ ประเทศไทย ได้คะแนนรวมที่ 5.01 อยู่ในอันดับที่ 40 แพ้ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่อันดับที่ 1 มีคะแนน 6.34 และประเทศมาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับที่ 23  มีคะแนน 5.53 ประเทศในกลุ่ม AEC ที่ได้อันดับแย่ที่สุดคือประเทศพม่าที่อยู่ในอันดับที่ 132 ได้คะแนน 3.36
สำหรับรากฐานแรกของด้านปัจจัยต้องการพื้นฐาน คือเรื่องสถาบัน (Institutions) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 84 ได้คะแนน 3.66 รากฐานเรื่องสถาบันนี้ประเทศไทยแพ้ ประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับที่ 3 ประเทศมาเลเซียอันดับที่ 20 ประเทศอินโดนีเซียอันดับที่ 53 ประเทศลาว อันดับที่ 63 และประเทศฟิลิปปินส์ อันดับที่ 67 ดีกว่าประเทศเวียตนามที่อยู่อันดับที่ 92 ประเทศกัมพูชา อยู่อันดับที่ 119 และประเทศพม่า อยู่อันดับที่ 136
การที่ประเทศไทยได้คะแนนในรากฐานแรกเรื่องสถาบัน (Institutions) 3.66 คะแนน และอยู่ในอันดับที่ 84 นั้น มาจากการศึกษาที่เจาะลึกลงไปในเรื่องต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของรากฐานเรื่องสถาบันอีก 20 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของหน่วยงานและองค์กรต่างๆของรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจ มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญ ในการผลักดันให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากเป็นผู้กำหนดนโยบาย ออกกฏหมาย และบังคับใช้กฏหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อการลงทุน การประกอบธุรกิจ และการดำเนินชีวิตในสังคม  
เรื่องสถาบัน (Institutions) ที่เป็นรากฐานแรกของความสามารถในการแข่งขันนี้ ประเทศไทยได้คะแนนและมีอันดับในแต่ละเรื่องดังนี้
1.   รากฐานเรื่องสถาบัน (Institutions)
 
เรื่อง
คะแนน
Value
ตำแหน่งของประเทศไทย
Rank
สิทธิทางทรัพย์สิน
Property rights
4.1
72
การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
Intellectual property protection
3.1
104
การกระจายงบประมาณสาธารณะ
Diversion of public funds
2.6
108
ความเชื่อถือของสาธาณะต่อนักการเมือง
Public trust in politicians
1.9
129
การจ่ายเงินไม่ถูกต้องและให้สินบน
Irregular payments and bribes
3.7
84
ความเป็นอิสระของระบบศาล
Judicial independence
3.8
68
การใช้พวกพ้องนิยมในระบบราชการ
Favoritism in decisions of government officials
2.8
88
ความสูญเปล่าในการใช้เงินงบประมาณของรัฐบาล
Wastefulness of government spending
2.5
115
กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของรัฐบาลที่สร้างภาระ
Burden of government regulation
3.3
89
ความมีประสิทธิภาพในการยุติเรื่องขัดแย้งทางกฏหมาย
Efficiency of legal framework in settling disputes
3.8
62
ความมีประสิทธิภาพในการจัดการแก้ไขกฎระเบียบ
Efficiency of legal framework in challenging regs
3.3
72
ความโปร่งใสในการจัดทำนโยบายของรัฐบาล
Transparency of government policymaking
3.7
100
ต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องผู้ก่อการร้าย
Business costs of terrorism
4.1
121
ต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องอาชญากรรมและความรุนแรง
Business costs of crime and violence
4.2
84
การก่ออาชญากรรม
Organized crime
4.5
89
ความน่าเชื่อถือในทำงานของตำรวจ
Reliability of police services
3.2
113
พฤติกรรมจริยธรรมของบริษัทธุรกิจ
Ethical behavior of firms
3.7
92
ความเข้มแข็งของมาตรฐานการตรวจสอบบัญชีและการรายงาน
Strength of auditing and reporting standards
5.1
47
ความมีประสิทธิภาพของกรรมการอำนวยการขององค์กร
Efficacy of corporate boards
4.7
60
การคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกลุ่มน้อย
Protection of minority shareholders’ interests
4.9
25
ความเข้มแข็งของการคุ้มครองผู้ลงทุน
Strength of investor protection, 0–10 (best)
7.7
12
 
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้คะแนนค่อนข้างต่ำหลายเรื่องในรากฐานแรกเรื่องสถาบันที่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับรัฐบาล หน่วยงาน องค์กรของรัฐบาล การทำงานของระบบราชการในการบริหารจัดการกฏหมายให้มีประสิทธิภาพ และให้มีความเท่าเทียมกันในการใช้บังคับกฏหมาย โดยไม่ใช้ข้อกฏหมายในการหาประโยชน์ อันดับที่ดีที่สุดในรากฐานนี้ของประเทศไทยคือ เรื่องการคุ้มครองนักลงทุน ที่ได้คะแนน 7.7 ใน10 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 12 เรื่องอื่นๆที่เป็นส่วนประกอบของรากฐานนี้คะแนนของประเทศไทยไม่ค่อยน่าประทับใจ และมีหลายเรื่องที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับเกิน 100 เช่น เรื่องความโปร่งใสในการจัดทำนโยบายของรัฐบาล เรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการกระจายงบประมาณสาธารณะ เรื่องความน่าเชื่อถือในการทำงานของตำรวจไทย เรื่องความสูญเปล่าในการใช้เงินงบประมาณของรัฐบาล เรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย และเรื่องที่แย่ที่สุดในรากฐานนี้คือ เรื่องความเชื่อถือของสาธารณะต่อนักการเมือง ซึ่งประเทศไทยได้คะแนนเพียง 1.9 อยู่ในอันดับที่ 129 ในจำนวน 144 ประเทศ
คะแนนและอันดับของประเทศไทยที่ได้นำเสนอนี้เป็นมุมมอง ความคิด และความเข้าใจของคณะผู้ศึกษาที่มาจากหลายประเทศ และเก็บข้อมูลจากผู้คนหลายภาคส่วน ซึ่งเป็นความจริงที่ยากจะปฏิเสธได้ ถ้าไม่อคติลำเอียงเข้าข้างตนเอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องแสวงหาเหตุผลไปโต้แย้งรายงานนี้ แต่อยากให้คนไทยหันกลับมาสำรวจตนเองเพื่อหาโอกาสแก้ไขและพัฒนาให้สิ่งที่เป็นข้อด้อยให้ลดน้อยลง เพื่อทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยดีขึ้น และถ้าพิจารณาให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าเรื่องที่เป็นข้อด้อยส่วนใหญ่ในรากฐานนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากความอ่อนแอทางจริยธรรมของสังคมไทย ที่มีความคิดและทัศนคติว่าเรื่องความไม่โปร่งใส ใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์ ให้ตนเองและพวกพ้อง การโกงกินเงินงบประมาณเป็นเรื่องปกติที่สังคมไทยยอมรับได้ ซึ่งเป็นความคิดและทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง และสังคมโลกส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ยอมรับทัศนะคติที่ไม่เป็นธรรมนี้ และบางประเทศรังเกียจเรื่องความไม่ถูกต้องนี้อย่างรุนแรง
Dalai Lama กล่าวว่า A lack of transparency results in distrust and a deep sense of insecurity.” การขาดความโปร่งใสเป็นผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจและความรู้สึกอย่างลึกถึงความไม่ปลอดภัย
ถ้าสังคมโลกมีความรู้สึกว่า ประเทศไทยยังไม่มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการเรื่องต่างๆในสังคม เขาจะเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจและไม่มั่นใจว่ามีความปลอดภัยในการเข้ามาทำธุรกิจ หรือลงทุนในประเทศไทย จึงเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
รากฐานจริยธรรมของสังคมเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก เพราะความสำคัญไม่ใช่อยู่ที่เรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่อยู่ที่เรื่องรากฐานจริยธรรมที่ทำให้สังคมมีและดำรงความถูกต้องเป็นธรรม ซึ่งทำให้สังคมมีความสงบสุขและเป็นสุข ในอดีต สังคมไทยมีรากฐานทางจริยธรรมที่แข็งแรงมาก คนไทยเคารพตัวเองและเคารพผู้อื่น ไม่เอาเปรียบเบียดบังกัน และรู้จักเกรงกลัวต่อบาป สังคมไทยในอดีตจึงอยู่กันอย่างเป็นสุข ไม่ต้องมีรั้วบ้าน วางสิ่งของไว้ได้ทุกที่ไม่ต้องกลัวหาย จริยธรรมสอนให้คนไทยเคารพศักดิ์ศรีของตนเองและรักษาศักดิ์ศรีของครอบครัววงศ์ตระกูล ไม่กล้าทำผิดศีลธรรมเพราะรู้สึกผิดที่จะทำให้เสื่อมเสียไปถึงคนอื่นๆในครอบครัวและชุมชนที่อยู่อาศัย
เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของสังคมไทย ที่รากฐานทางจริยธรรมอ่อนแอลงอย่างมากในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ที่สังคมไทยถูกชักจูงไปสู่การแสวงหาความเจริญทางวัตถุมากจนมองข้ามความสำคัญของจริยธรรม แต่ยังไม่สายเกินไปที่สังคมไทยจะช่วยกันกอบกู้เสริมสร้างให้รากฐานจริยธรรมกลับแข็งแรงขึ้นมาใหม่ ถ้าคนไทยตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของรากฐานจริยธรรมในสังคม
Potter Stewart กล่าวว่า Ethics is knowing the difference between what you have a right to do and what is right to do.” จริยธรรมคือการรู้ถึงความแตกต่างระหว่างอะไรที่คุณมีสิทธิจะทำกับอะไรที่เป็นสิ่งถูกต้องที่จะทำ
 
ขอบคุณที่ช่วยส่งเรื่องนี้ให้เพื่อนของท่านอ่าน
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น