วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

New Normal


“There are seven things that the Lord hates and cannot tolerate: A proud look, a lying tongue, hands that kill innocent people, a mind that thinks up wicked plans, feet that hurry off to do evil, a witness who tells one lie after another, and a man who stirs up trouble among friends.”

เราเชื่อกันว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะมันไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
เวลา ความที่มันตัวใหญ่ น้ำหนักมาก เคลื่อนไหวช้า ไม่มีความคล่องแคล่วในการหากินและต้องกินในปริมาณ มากมหาศาลจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของมัน ทำให้ไดโนเสาร์ต้องตายและสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ ใน ขณะที่สัตว์ขนาดเล็กจำนวนมากที่มีชีวิตอยู่ในยุคไดโนเสาร์กลับสามารถมีชีวิตอยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบันนี้

แนวคิดเรื่องการอยู่รอดขององค์กรในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจเอกชน หน่วยงานราชการ หรือ องค์กรมูลนิธิ การกุศล ซึ่งต้องดำรงอยู่ในสภาวะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ การเงิน สังคม และเทคโนโลยี ผู้นำองค์กรทุกองค์กรมีหน้าที่ต้องคิดว่า จะทำอย่างไรให้องค์กร ที่ตนรับผิดชอบบริหาร สามารถอยู่รอด (Survive) ได้ และ ถีบตัวให้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ทำให้องค์กร สามารถมีชีวิตต่อไปอย่างยั่งยืน ไม่ปล่อยให้องค์กรมีชีวิตเหมือนไดโนเสาร์ในอดีต

ในระยะหลังๆนี้มีการพูดถึงคำว่า New Normal กันบ่อย ซึ่งผมไม่รู้จะใช้คำใดแปลให้กระชับและได้ ความหมายตรงๆ จึงขอสรุปเพื่อความเข้าใจง่ายๆว่า วงจรการเปลี่ยนแปลงขององค์กรจะเริ่มจากสภาวะปัจจุบัน ที่เป็นปกติ Normal ขององค์กรในเวลานี้ ที่ต้องเผชิญกับความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพการเมือง เศรษฐกิจ การเงิน สังคม และเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตลอดเวลา องค์กรจึงจำเป็นต้องทำการ ปรับตัวให้ สามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรค และสามารถแข่งขันได้  องค์กรต้องทำการปรับตัวใหม่เพื่อทำให้ องค์กรสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตต่อไปได้ จึงต้องดิ้นรนเปลี่ยนแปลง จากสภาวะปกติในปัจจุบันไปสู่ สภาวะใหม่ที่ดีกว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว องค์กรจะเข้าสู่สภาวะใหม่ที่องค์กรปรับตัว กลายเป็น สภาวะใหม่ New Normal ขององค์กรที่ผู้นำองค์กรต้องนำองค์กรให้สามารถอยู่รอดได้ และเติบโตอย่างยั่งยืน ต่อไป สภาวะใหม่ New Normal ขององค์กรจะอยู่ไปอีกสักพักหนึ่งก็จะเคยชินกลายเป็นของปกติธรรมดา เป็นสภาวะปกติ Normal ขององค์กรอีกครั้ง องค์กรจึงจำเป็นต้องมีการการเปลี่ยนแปลงปรับตัวไปสู่ New Normal รอบใหม่ขององค์กรอีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรวงจรการเปลี่ยนแปลงขององค์กรไปเรื่อยๆ เพียงแต่ว่า ในอดีต วงจรการเปลี่ยนแปลงขององค์กรรอบหนึ่งอาจจะใช้เวลา 7-10 ปี แต่ปัจจุบันนี้วงจรการเปลี่ยนแปลง สั้นลงมาก คงต้องเปลี่ยนแปลงกันทุกปีหรือสองปีตามแต่สถานการณ์แล้วครับ

สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่ผู้นำองค์กรธุรกิจในปัจจุบันพูดถึงกันบ่อยๆคือ

Volatility การเปลี่ยนสภาพ
ในสภาวะปัจจุบัน สภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง (Unexpected) เกิดขึ้นได้เสมอ มีทั้งระดับความรุนแรง และมีพลวัตรขับเคลื่อน สิ่งที่เราเห็น ข้อมูลที่เราได้รับ ไม่มีความเสถียร (Unstable) มีข้อมูลใหม่เข้ามาทำให้ปรับเปลี่ยนได้เสมอ คือทุกอย่างที่เราคิด เราเข้าใจ จะเป็นความจริงอยู่นานอีกเท่าไหร่ไม่รู้ (Unknown duration) เพราะสภาพการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา

Uncertainty ความไม่แน่นอน
เป็นสัจจธรรมที่ต้องยอมรับอยู่แล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน เพราะมีตัวแปร (Variables) มากมายที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ทั้งหมด แม้เราจะมีข้อมูล ความรู้วิชาการ และเทคโนโลยี แต่เราก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถรับรู้และจัดการมันได้ทั้งหมดได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่เราไม่รู้ยังมีอีกมากมาย ในโลกนี้ จึงทำให้เราควบคุมสิ่งต่างๆได้อย่างจำกัด สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้อีกมากมายนี่แหละที่มีผลกระทบ ต่อองค์กรของเรา ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้เสมอ เพราะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก

Complexity ความซับซ้อน
เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่จริงๆแล้วแต่ละเรื่อง มีความซับซ้อนในตัวของมันอย่างมาก เพราะสภาพสังคมในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากกว่าสังคมในอดีต  ความรวดเร็วของเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงการติดต่อของคนจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกันได้ อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ในเวลาเดียวกันมีความยากต่อการควบคุม ความสับสนวุ่นวายเกิดขึ้นได้เสมอ

Ambiguity ความคลุมเครือ กำกวม
ในยุคการสื่อสาร 4 G ที่มีข้อมูลวิ่งไปมาหากันทั้งโลกอย่างรวดเร็วและมากมายมหาศาล ยิ่งทำให้มีสิ่ง ที่เรายังไม่ได้รับรู้รับทราบที่เกิดขึ้นทุกเสี้ยววินาทีอีกมากมาย การที่เรายังมีสิ่งที่เราไม่รู้ไม่รู้ (Unknown unknown) อีกมากมายนั้น ทำให้เราเกิดความไม่ชัดเจน (Unclear) เกิดความคลุมเครือ กำกวม ในความหมาย จนทำให้เราเกิดความไม่แน่ใจ และยากที่จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ทุกนาทีมีเรื่องใหม่ๆที่เราไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน ผ่านเข้ามาให้เราได้รับทราบทุกวัน และเราไม่แน่ใจว่าทุกเรื่องเป็นเรื่องจริงทั้งหมดที่เราเชื่อถือได้

ทั้งสี่สภาวะนี้คือสภาพของสังคมในโลกปัจจุบัน ที่ผู้นำองค์กรทุกองค์กรต้องเผชิญและต้องบริหารให้ได้ ภายใต้สภาวะการณ์เช่นนี้

อันที่จริงเรื่อง VUCA ที่กล่าวมานี้ เริ่มต้นมาจากในค่ายทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกา ที่สอนการประเมิน สถานะการณ์ เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์การรบ เพราะการทำสงครามในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นสงครามเย็น ที่สภาพการต่อสู้กับศัตรูไม่ได้ตั้งกองทหารเป็นแบบแนวรบต่อสู้กันเหมือนในอดีต แต่เป็นการต่อสู้ในหลาก หลายรูปแบบ ผู้นำกองทัพจึงต้องประเมินสถานการณ์ การต่อสู้อยู่ตลอดเวลา บนฐานข้อมูลที่ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ผู้นำองค์กรธุรกิจได้นำความคิดของทหารสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้ เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจในเวลานี้มีลักษณะคล้ายกับการทำสงคราม เหมือนกัน เพราะการแข่งขันรุนแรงและต้องใช้หลากหลายรูปแบบวิธีการในการแข่งขันเหมือนทำสงครามกัน

เมื่อสถานการณ์อยู่ในสภาวะ VUCA แล้วองค์กรของเราจะอยู่รอดได้อย่างไร?
มีข้อเสนอแนะจากผู้รู้ดังต่อไปนี้

Business Agility
เป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวทางธุรกิจ หมายถึงองค์กรมีความพร้อมในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว องค์กรสามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันเวลา เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน รูปแบบการดำเนินธุรกิจ ก็ต้องเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ การที่องค์กรจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างคล่องตัวรวดเร็วได้นั้น องค์กร ต้องมีผู้นำที่มีความรู้ความสามารถ (Talent leader) ที่มีเครือข่ายข้อมูลที่กว้างขวาง ทำให้ได้รับทราบ ข้อมูลจากหลายแหล่ง จึงสามารถนำข้อมูลมาตรวจสอบวิเคราะห์ได้รวดเร็ว และสามารถปรับตัวได้ทันเวลา

Strategic workforce planning
เป็นองค์กรที่มีการวางแผนยุทธศาสตร์เรื่องการใช้บุคลากร องค์กรต้องรู้ว่ามีขุมกำลังที่มีศักยภาพขนาดใด ก่อนจะทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อจะได้รู้จุดแข็งจุดอ่อนขององค์กรในการใช้ทรัพยากรบุคคล ถ้าองค์กรยังขาดคน ที่มีความรู้ความสามารถ องค์กรก็ไม่สามารถแข่งขันได้ จึงต้องสำรวจว่าองค์กรยังขาดบุคลากรที่มีความเก่ง ด้านใด อีกเท่าไร (Talent gap) เพื่อแสวงหาคนเก่งมาเพิ่มเติม และพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพภายใน องค์กรให้มีความสามารถสูงขึ้น

Pursuit of readiness
เป็นองค์กรที่มีการเตรียมความพร้อมขององค์กรตลอดเวลา และถือว่าเรื่องความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ในการแข่งขัน เพราะโลกธุรกิจปัจจุบันไม่มีเกมส์ง่ายให้แข่งขันแล้ว มีแต่เกมส์หนักและแรง ถ้าองค์กรของ คุณไม่พร้อมแข่งขันก็ถูกขจัดออกจากเวทีการแข่งขันไป องค์กรจึงต้องเตรียมความพร้อมที่จะแข่งขัน อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมเรื่องคนที่มีความสามารถในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก

Gathering and using data
เป็นองค์กรที่มีการประมวลข้อมูลและใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด โลกยุค 4 G จำเป็นต้องใช้ข้อมูลประกอบ การวางแผนและตัดสินใจ  สมัยนี้ยากที่ผู้บริหารจะตัดสินใจโดยใช้กื๋นความรู้สึกแต่เพียงอย่างเดียว ผู้บริหาร ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผน ซึ่งแน่นอนว่าองค์กรต้องมีความพร้อมในระบบ การรวบรวบรวมจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ผู้บริหารวิเคราะห์ ตัดสินใจ และวางแผน องค์กรที่ไม่มี ระบบสารสนเทศที่แข็งแรงย่อมเสียเปรียบองค์กรที่มีความพร้อมมากกว่า

Learning organization
เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่คนในองค์กรแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนาศักยภาพขององค์กร อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา นี่เป็นปัญหาหลักขององค์กรในประเทศไทยเลยครับ เพราะคนไทยนิยมเรียนเอาใบ ปริญญาอย่างเดียว ไม่ได้เรียนเพื่อเอาความรู้ และหยุดการเรียนรู้พัฒนาตนเองเมื่อมีงานมีเงินเดือนที่พอใจแล้ว งานวิชาการ งานวิจัย งานนวัตกรรม งานพัฒนาคุณภาพ งานพัฒนาศักยภาพบุคลากรทิ้งหมดไม่สนใจ แค่ภาษาอังกฤษยังไม่ยอมเรียนให้เขียนอ่านพูดเป็น แล้วจะไปแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างไร

Talent management sustainability
เป็นองค์กรที่มีทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าอย่างยั่งยืน คือมีคนเก่ง มีความสามารถ มีทักษะที่หลากหลาย อยู่ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีทรัพยากรบุคคลที่มีความสัตย์ซื่อจงรักภักดีต่อองค์กร และร่วมมือทำงานตาม ยุทธศาสตร์ขององค์กร (Aligned with organization’s strategy) อย่างแข็งขัน เรื่องนี้กำลังเป็นปัญหาของ องค์กรในประเทศไทย เพราะคนรุ่นใหม่เขาไม่สนใจที่จะอยู่ทำงานในองค์กรอย่างยาวนาน พอเรียนรู้งานจาก องค์กรได้แล้ว ที่ไหนให้เงินและผลประโยชน์มากกว่าเขาก็พร้อมที่จะจากไปอยู่ทันที ความรักองค์กรมีน้อย มีความเป็นตัวของตนเองสูงมาก ยุคนี้คนเก่งแล้วอยู่สู้งานมีน้อย แต่คนเก่งแล้วไปสู้เงินมีมาก

ขอสรุปด้วยคำพูดของผู้นำระดับโลกให้ขบคิด

Winston Churchill กล่าวว่า “To improve is to change; to be perfect is to change often.” การปรับปรุงให้ดีขึ้นคือการเปลี่ยนแปลง จะทำให้ถูกต้องสมบูรณ์ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ

John F. Kennedy กล่าวว่า “Change is the law of life. And those who look only to the past or present are certain to miss the future.” การเปลี่ยนแปลงเป็นกฏของชีวิต และบรรดาผู้ที่มองเฉพาะ อดีตหรือปัจจุบันแน่นอนว่าเขาจะพลาดอนาคต

Barack Obama กล่าวว่า “Change will not come if we want for some other person or some other time. We are the ones we’ve been waiting for. We are the change that we seek.” การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นถ้าเราต้องการเพื่อให้ผู้อื่นเป็นคนทำ หรือรอที่จะทำในเวลาอื่น เรานั่นแหละคือคนที่เรารอให้เป็นคนทำ เรานั่นแหละคือการเปลี่ยนแปลงที่เราแสวงหา

ถึงเวลาที่ท่านต้องตัดสินใจแล้วครับว่า ท่านจะเป็นคนทำการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองตามที่ท่านต้องการ หรือท่านจะปล่อยให้คนอื่นมาบังคับให้ท่านต้องเปลี่ยนแปลงตามที่เขาต้องการ


แหล่งที่มา: 6 Talent Strategy Levers for A VUCA World : Development Dimensions International