“A good person's words are a fountain of life, but a
wicked person's words hide a violent nature.” Proverbs
10:11
ประเทศไต้หวัน
เป็นประเทศที่ใช้ระบบประกันสุขภาพทั่วถึงครอบคลุมประชากรทั่วทั้งประเทศ โดยรัฐบาลไต้หวันเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการใช้ชื่อเรียกว่าระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ
National
Health Insurance (NHI) ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของไต้หวันปัจจุบันสามารถคุ้มครองประชากรได้ถึง
99% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ 23.2 ล้านคน
ระบบการประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศไต้หวัน
มีพัฒนาการมาตั้งแต่ปี
1950 ประกันสุขภาพแรงงาน
Labor Insurance
1958 ประกันสุขภาพข้าราชการ Government Employee Insurance
1985 ประกันสุขภาพเกษตรกร Farmer Insurance
1990 ประกันสุขภาพครอบครัวผู้มีรายได้น้อย Low –income Household
Insurance
1995 รวมประกันสุขภาพทุกประเภทเข้าเป็นระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ National
Health Insurance
ภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ประชาชนชาวไต้หวัน
รวมทั้งชาวต่างชาติที่ไปทำงานในประเทศไต้หวันสามารถเลือกใช้บริการทางการแพทย์ได้ทุกโรงพยาบาล
โดยระบบประกันสุขภาพแห่งชาติจะคุ้มครองการรักษาพยาบาลเกือบทั้งหมดรวมทั้ง การบริการส่งเสริมสุขภาพ
(Preventive
medical services) การบริการทันตกรรม (Dental service) การเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home nurse visit) และ
การบริการแพทย์แผนจีน (Chinese medicine) โดยประชาชนสามารถซื้อประกันเพิ่มเพื่อจ่ายค่าบริการ
(Co-payment) บางส่วนได้
ประชาชนชาวไต้หวันทุกคนมีบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นบัตรอัจฉริยะ
(Smart
card) เมื่อไปใช้บริการที่โรงพยาบาลแห่งใดก็เพียงใช้บัตรประกันสุขภาพอัจฉริยะนี้เสียบเข้าไปในเครื่องเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาลที่ผ่านมาของเจ้าของบัตรจะปรากฏขึ้นมาบนจอคอมพิวเตอร์ทำให้แพทย์มีข้อมูลการรักษาครบถ้วนและสามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว
และผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลเพราะสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติของรัฐบาลจะจ่ายเงินค่ารักษาเป็นจำนวนเงินที่ตายตัว
(Premium) ให้แก่โรงพยาบาลแทน
สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติจะทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการรักษาของโรงพยาบาล
สำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลทุกแห่ง
ผลการใช้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ทำให้ประชาชนชาวไต้หวันเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว
สะดวกสบายและอย่างทั่วถึง เป็นผลทำให้ชาวไต้หวันมีอายุยืนยาวมากขึ้นโดย
อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy)ของผู้ชาย 76 ปี และผู้หญิง 83 ปี และมีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากกว่า
10% แล้ว
ปัญหาที่ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของไต้หวันกำลังประสบอยู่ในเวลานี้คือ
ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปีเนื่องจากโรงพยาบาลต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้ในระบบการรักษาพยาบาลมากขึ้น
รวมทั้งการใช้ยาใหม่ๆที่มีราคาแพง ในขณะที่เงินค่าประกันสุขภาพที่เก็บจากประชาชนก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากนักเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศไต้หวันในช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันไม่ค่อยจะดีนักมีอัตราการเติบโตมวลรวมประชาชาติ
GDP
ในปี 2011 เพียง 4.03 % ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติที่คุ้มครองการรักษาพยาบาลอย่างกว้างขวางและประชาชนสามารถไปใช้บริการได้ทุกโรงพยาบาลในทุกพื้นที่ทำให้ประชาชนไปใช้บริการที่โรงพยาบาลกันเป็นจำนวนมาก
เป็นผลทำให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรต้องทำงานหนักมากและโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ในขณะที่โรงพยาบาลไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนให้แพทย์และบุคลากรได้อย่างเต็มที่เพราะถูกควบคุมด้วยระบบการจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายตายตัวในระบบประกัน
ถ้าโรงพยาบาลสามารถบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ดีโรงพยาบาลก็จะมีกำไรแต่ถ้าการบริหารต้นทุนในการรักษาพยาบาลไม่มีประสิทธิภาพโรงพยาบาลก็จะขาดทุน
จึงเป็นเหตุให้โรงพยาบาลต้องบีบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตลอดเวลา
ซึ่งแพทย์และบุคลากรไม่ค่อยจะพอใจเท่าไหร่นัก
ที่นำเรื่องการประกันสุขภาพมาเสนอ
เนื่องจากเห็นว่าระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบประกันสุขภาพเช่นกัน
โดยที่ขณะนี้ประเทศไทยมีกองทุนค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาพยาบาลอยู่ 3 กองทุนคือ กองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) และกองทุนรักษาพยาบาลของข้าราชการ
และมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิตด้วยตนเองเพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของตน
แนวโน้มในอนาคตรัฐบาลไทยคงหนีไม่พ้นการรวมกองทุนทั้งหมดให้เป็นกองทุนเดียวและจัดการระบบให้บริการสุขภาพประชาชนเป็นระบบเดียว
เหมือนอย่างประเทศไต้หวันและอีกหลายๆประเทศทำกัน
การบริหารจัดการเรื่องสุขภาพประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในแต่ละปีสูงมากและมีแนวโน้มจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี
ในปี 2555
รัฐบาลไทยตั้งงบประมาณรายจ่ายด้านสาธารณสุข 220,411.3 ล้านบาท เท่ากับ 9.3% ของรายจ่ายงบประมาณทั้งหมด 2,380,000
ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2556 งบประมาณด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้นเป็น
254,947.3 ล้านบาท เท่ากับ 10.6% ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด
2,400,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 15.7%
โดยภาพรวมประเทศไทยมีระบบให้บริการสุขภาพที่ดีพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทั่วโลกซึ่ง
World
Health Organization ได้จัดอันดับการให้บริการสุขภาพของประเทศต่างๆทั่วโลกไว้
ในที่นี้ขอนำมาแสดงเพียงบางตำแหน่งเพื่อให้เห็นภาพรวมของการให้บริการสุขภาพของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ
ดังนี้
Rank
|
Country
|
Expenditure per capita
|
1
|
France
|
4
|
2
|
Italy
|
11
|
3
|
San
Marino
|
21
|
4
|
Andorra
|
23
|
5
|
Malta
|
37
|
6
|
Singapore
|
37
|
7
|
Spain
|
24
|
8
|
Oman
|
62
|
9
|
Austria
|
6
|
10
|
Japan
|
13
|
17
|
Netherland
|
9
|
18
|
United
Kingdom
|
26
|
20
|
Switzerland
|
2
|
25
|
Germany
|
3
|
30
|
Canada
|
10
|
32
|
Australia
|
17
|
37
|
United
States
|
1
|
จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า
สหรัฐอเมริกา แม้จะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์เป็นอย่างมาก
และเป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายเงินในการรักษาพยาบาลต่อประชากรสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ระบบการให้บริการการแพทย์ของอเมริกัน กลับอยู่ในอันดับที่ 37
โดยประเทศฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีระบบให้บริการการแพทย์แก่ประชาชนดีเป็นอันดับที่
1 ของโลกและมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลต่อประชากรเป็นอันดับ
4 ติดตามด้วย ประเทศอิตาลี และประเทศเล็กๆอีกหลายประเทศที่มีการบริการทางการแพทย์ที่ดีติดอันดับต้นๆของโลก
ในเอเชียประเทศเพื่อนอาเซียนสิงคโปร์ อยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก
และประเทศญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่10
สำหรับอันดับการให้บริการทางการแพทย์ของประเทศในกลุ่ม
ASEAN
มีดังนี้
Rank
|
Country
|
Expenditure per capita
|
6
|
Singapore
|
37
|
40
|
Brunei
|
32
|
47
|
Thailand
|
64
|
49
|
Malaysia
|
93
|
60
|
Philippines
|
124
|
92
|
Indonesia
|
154
|
160
|
Vietnam
|
NA
|
165
|
Laos
|
NA
|
174
|
Cambodia
|
NA
|
190
|
Burma
|
NA
|
การให้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยอยู่ตามหลัง
ประเทศสิงคโปร์ ที่อยู่ในอันดับ 6 มีค่าใช้จ่ายต่อหัวของประชากรในด้านสุขภาพอยู่ในอันดับที่
37 และประเทศบรูไนอยู่ในอันดับที่ 40 มีค่าใช้จ่ายทางด้านการแพทย์ต่อประชากรอยู่ในอันดับที่
32 แสดงว่าประเทศสิงคโปร์มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้ดีกว่าเพราะมีการให้บริการทางการแพทย์อยู่ในอันดับสูงกว่าประเทศบรูไนมาก
แต่ค่าใช้จ่ายในด้านการแพทย์ต่อประชากรกลับอยู่ในอันดับต่ำกว่าประเทศบรูไน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่
47 ของโลกในการให้บริการการแพทย์แก่ประชาชน
โดยมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อหัวของประชากรอยู่ในอันดับที่ 64 โดยมีประเทศมาเลเซีย ตามมาติดๆอยู่หลังประเทศไทยเพียงสองอันดับคืออันดับที่
49 แต่เรื่องค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อประชากรของประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่
93 แสดงว่าค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของประชากรมาเลเซียต่ำกว่าประเทศไทยมาก
ซึ่งหมายความว่าประเทศมาเลเซียมีระบบการบริหารจัดการเรื่องการบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีกว่าประเทศไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
AEC
ด้วยกันแล้วประเทศไทยมีระบบการให้บริการการแพทย์ที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศจึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์
(Medical Hub) ในภูมิภาคนี้ได้ถ้ามีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
Hippocrates กล่าวว่า “Healing is a matter of
time, but it is sometimes also a matter of opportunity.” การรักษาให้หายเป็นเรื่องของระยะเวลา
แต่ในบางครั้งก็เป็นเรื่องของโอกาสเหมือนกันJ